Home > Cover Story

อสังหาฯ EEC โตไม่หยุด แกรนด์แอสเสท ผุดเมกะโปรเจกต์

ทำเลในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ถือเป็นทำเลอสังหาฯ ที่ฆ่าไม่ตาย เพราะผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉพาะรายใหญ่มักจะเลือกไปปักหมุดและสร้างอาณาจักรเมื่อมองเห็นทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งแตกต่างจากทำเลอสังหาฯ ที่ขายไม่ดี และมีโอกาสที่จะไปต่อได้ยาก เช่น สายไหม, ติวานนท์-นวลฉวี, บางนา-ตราด กม.10-30, แบริ่ง วัดด่าน, รัตนาธิเบศร์-ท่าอิฐ และพหลโยธิน-วังน้อย เป็นต้น โดยเหตุผลส่วนใหญ่ของทำเลที่ขายไม่ดี มีทั้งเป็นโครงการที่เก่าแล้ว ไม่ใช่พื้นที่ในยุคสมัย และโอกาสกู้เงินจากสถาบันการเงินมีจำกัด ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อพื้นที่ EEC คือการเป็นหมุดหมายสำคัญของภาครัฐในการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมา คือโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า หากผู้ประกอบการอสังหาฯ ศึกษาเรื่องราวโครงการในพื้นที่ EEC เป็นอย่างดี จะมองเห็นโอกาสในการลงทุนอสังหาฯ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า การลงทุนซื้อบ้านหรือสร้างบ้านเพื่อขายทำกำไร การลงทุน ออฟฟิศ สำนักงานสำหรับขายหรือให้เช่า

Read More

NIA เผยงานวิจัยเพื่อสุขภาพและสุขภาวะ โอกาสสตาร์ทอัปสร้างนวัตกรรมรับมือ

เศรษฐกิจและสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างไม่อาจเลี่ยง จากข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมามักจะสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และระบบบริการสุขภาพของประเทศ และอย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคนของประชากรไทยทั้งประเทศ 66,057,967 คน อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ เศรษฐกิจด้านสุขภาวะ GenZ ตอบสนองต่อสินค้าและบริการดิจิทัลด้านสุขภาพสูงกว่าคนกลุ่มอื่นถึง 2 เท่า และยินดีแลกเปลี่ยน เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพเชิงลึกของตนเองกับส่วนลดบริการด้านสุขภาพมากขึ้น “ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลากหลายประการ โดยข้อมูลจากคลังข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานถึงความเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช ซึ่งพบว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 จากจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช 1.3 ล้านคนในปี 2565 เพิ่มขึ้นถึง 2.4 ล้านคน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่พบได้ในทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชนมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวล อีกทั้งยังป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำร้ายตัวเอง”

Read More

7 ปี เดอะ ฟอเรสเทียส์ เปิดนิยามความสุขของ MQDC

7 ปีก่อน บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ภายใต้กลุ่มดีที (DT Group) ของ “ทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ (เจียรวนนท์)” นำเสนอแนวคิดโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นพื้นฐานของความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง ให้ชื่อว่า เดอะ ฟอเรสเทียส์ (THE FORESTIAS) มาจากคีย์เวิร์ด 2 คำ คือ Forest ผืนป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และ Fantasia ความมหัศจรรย์แห่งการสร้างสรรค์ที่ไม่รู้จบ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ทุกสรรพสิ่ง หรือ For All Well-Being MQDC ย้ำว่า บิ๊กโปรเจกต์และบิ๊กไอเดียนี้มีการระดมทีมงาน ทั้ง Foster and Partners ที่ปรึกษาการออกแบบวางผังและงานสถาปัตยกรรม, EEC Engineering Network วิจัยและพัฒนางานระบบอาคารตามแนวทาง sustainnovation, Atelier

Read More

เคานต์ดาวน์ One Bangkok ปิดจ็อบปลุกทำเลทองพระราม 4

วัน แบงค็อก (One Bangkok) ซูเปอร์บิ๊กโปรเจกต์ในเครือทีซีซีของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี พื้นที่รวม 108 ไร่ บริเวณหัวมุมถนนวิทยุตัดถนนพระราม 4 มูลค่าลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท จะประเดิมเปิดตัวเฟสแรกในไตรมาส 4 ปีนี้ และตั้งเป้าเผยโฉมเต็มรูปแบบไม่เกินปี 2570 แน่นอนว่า วัน แบงค็อก ซึ่งพัฒนาภายใต้บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายและสำคัญที่สุดตามยุทธศาสตร์ยึดและเชื่อมโยงย่านธุรกิจหลักตลอดเส้นถนนพระราม 4 แผนเริ่มตั้งแต่ปี 2559 เปิดให้บริการโครงการเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ บริเวณหัวมุมแยกรัชดา-พระราม 4 พัฒนาโดยบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือโกลเด้นแลนด์ คอนเซ็ปต์  For Your Inspiration

Read More

ปณต สิริวัฒนภักดี จาก Day 1 ถึง “วัน แบงค็อก” ล่าสุด

วันแรกของการเป็นหัวเรือใหญ่รับผิดชอบโปรเจกต์แสนล้าน One Bangkok (วัน แบงค็อก) ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ย้ำกับสื่อในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเมื่อ 7 ปีก่อนว่า “ผมประเมินอย่างเดียว คือ คุณเจริญมีความเชื่อมั่นผมหรือเปล่า!!” เพราะ One Bangkok ไม่ใช่แค่อภิมหาโครงการแรกที่เครือทีซีซีกรุ๊ปผนึกกำลังกับกลุ่มเฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ในเครือเอฟแอนด์เอ็น หลังเจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มเม็ดเงินกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 แสนล้านบาท ซื้อกิจการ “เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ” หรือ เอฟแอนด์เอ็น บริษัทอาหารเครื่องดื่ม และอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 130 ปี ในประเทศสิงคโปร์เมื่อต้นปี 2556 แต่ยังเป็นแผนสร้าง “เมือง” แลนด์มาร์กระดับโลกที่เจริญไฟเขียวให้ ปณต เปิดตัวลุยเดี่ยวบริหารโครงการทั้งหมด ชนิดที่ยกครอบครัวในตระกูลทุกคน

Read More

Plantable Bangkok ภารกิจค้นหาสุดยอด “นักปลูกผัก”

ทั้งปัญหาสารเคมีปนเปื้อนบวกกับกรุงเทพมหานครมีขนาดพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ เฉลี่ยเพียง 7.7 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าคำแนะนำขององค์อนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการสร้างพื้นที่สีเขียวกินได้ Plantable Bangkok ปลุกระดมสร้าง “นักปลูกผัก” ทั่วเมือง ทั้งนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) เจ้าของโปรเจกต์ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า แนวทางการพัฒนาเมืองในอดีต เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองใหญ่ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ตลอดจนการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมทำให้เมืองสูญเสียความสามารถในการผลิตอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะทั้งทางกายและจิตใจของคนเมือง สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ ช่วงเกิดสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด คนกรุงเทพฯ เจอปัญหาขาดแคลนอาหาร ทั้งที่การปลูกผักสวนครัวในรั้วบ้านเป็นเรื่องที่ทำได้เองไม่ยากนัก เวลาเดียวกัน แม้มีผู้ประกอบการร้านอาหารมากมาย แต่ใช่ว่าทุกคนสามารถจับจ่ายได้ทุกวันและส่วนใหญ่มีราคาสูงมากกว่าผักผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป ที่สำคัญ การเลือกซื้อผักปลอดสาร 100% ยังเป็นเรื่องยากในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ร้านอาหารกลุ่มเกษตรอินทรีย์หลายแบรนด์สามารถเจาะตลาดกลุ่มคนกำลังซื้อสูง มีการออกเมนูหลากหลายรูปแบบ และทำยอดขายได้มากมาย อย่าง OHKAJHU (โอ้กะจู๋)  Salad Factory (สลัด แฟคตอรี่) Jones’

Read More

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อีกก้าวของการสนับสนุนวงการศิลปะ

เราอาจจะคุ้นเคยกับชื่อของ “กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” ในบทบาทของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาและผู้บริหารในองค์กรใหญ่ๆ ทั้งประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง กอบกาญจน์ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการสนับสนุนวงการศิลปะของเมืองไทย ทั้งโดยความชื่นชอบส่วนตัวและการสนับสนุนผ่านโครงการศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของโตชิบา ไทยแลนด์ ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2532 สำหรับบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2512 โดย ดร. กร และท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ โดยเป็นการร่วมทุนกับบริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ 20 ในไทย โตชิบา ไทยแลนด์ จึงได้ริเริ่มจัดการประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคม โดยใช้

Read More

สตาร์บัคส์เปิดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน พร้อมแต่งตั้งผู้ขับเคลื่อนคนใหม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ความยั่งยืน” หรือ Sustainability เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งและกำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ นั่นทำให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างบรรจุกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนไว้ในแผนปฏิบัติการ เพื่อสร้างการเติบโตให้กับองค์กรควบคู่ไปกับสร้างความยั่งยืนให้กับโลก เช่นเดียวกับ “สตาร์บัคส์ ประเทศไทย” เชนร้านกาแฟยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ที่ล่าสุดออกมาตอกย้ำกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนอีกครั้งกับแคมเปญ LITTLE CHOICES. BIG CHANGES. พร้อมแต่งตั้งผู้ที่จะมาขับเคลื่อนสตาร์บัคส์สู่เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมคนใหม่ ด้วยกลยุทธ์ที่ออกแบบสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ “เดือนกรกฎาคมปีนี้ สตาร์บัคส์จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 26 ในการเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย นอกจากประสบการณ์ผ่านแก้วกาแฟที่เราส่งมอบให้กับผู้บริโภคแล้ว พันธกิจด้านความยั่งยืนคือสิ่งที่สตาร์บัคส์ทำมาตลอดนับตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย” เนตรนภา ศรีสมัย กรรมการผู้จัดการ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย เกริ่นนำถึงการขับเคลื่อนพันธกิจด้านความยั่งยืนที่ดำเนินมาตลอด 25 ปี เนตรนภาฉายภาพต่อว่า นับตั้งแต่ปี 2541 ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย สตาร์บัคส์ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้พันธกิจสร้างสัมพันธภาพที่ยั่งยืนระหว่าง “กาแฟ ผู้คน และโลก” (Coffee People Planet) รวมถึงดูแลสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำผ่านการเดินทางของเมล็ดกาแฟหรือที่เรียกว่า “From Bean to Cup Journey” มาโดยตลอด เพราะฉะนั้นเรื่องความยั่งยืนจึงไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับสตาร์บัคส์เท่าใดนัก ทั้งนี้สตาร์บัคส์ทั่วโลกได้กำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนไว้ว่า ภายในปี 2573

Read More

นงชนก สถานานนท์ ฉายภาพความสำเร็จ เดอะ คอฟฟี่คลับ ชูกลยุทธ์ Neighborhood Café

ในแต่ละปีคนไทยมีการบริโภคกาแฟมากถึงปีละ 7 หมื่นตัน จากข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พฤติกรรมนี้เป็นตัวเร่งให้ตลาดกาแฟในไทยสูงถึง 60,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นมูลค่าของธุรกิจร้านกาแฟนอกบ้านประมาณ 27,000 ล้านบาท และกาแฟในบ้านประมาณ 33,000 ล้านบาท ความหอมของกาแฟที่ปลุกให้เราตื่นตัวทุกครั้ง ส่งผลให้ธุรกิจร้านกาแฟมีการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการที่เป็นเชนจากต่างประเทศ เดอะ คอฟฟี่ คลับ คือหนึ่งในนั้น ที่ไมเนอร์ กรุ๊ป เข้ามาท้าทายสมรภูมินี้จากการที่เป็นผู้บริหาร เดอะ คอฟฟี่ คลับ ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2553 เดอะ คอฟฟี่ คลับ (The Coffee Club) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2532 ที่ Eagle Street Pier ในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 400 สาขาใน 10 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ในไทยมี 41 สาขา

Read More

โอกาสของอุตสาหกรรมยา ในมุมมองผู้ประกอบการไทย

มูลค่าของอุตสาหกรรมยาในไทยที่สูงถึง 2 แสนล้านบาท ทว่ายาที่อยู่ในตลาดกลับเป็นยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 60% อีก 40% เป็นยาจากผู้ประกอบการไทย หรือประมาณ 50,000 ล้านบาทของมูลค่าตลาด ด้วยสัดส่วนนี้ทำให้เห็นว่าตลาดยาในไทยมีผู้เล่นจากต่างชาติถือครองสัดส่วนมากกว่า แม้ว่าผู้ประกอบการยาไทยจะมีศักยภาพไม่แตกต่างกันก็ตาม จากตัวเลขดังกล่าวทำให้มีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะเพิ่มสัดส่วนยาจากผู้ประกอบการไทยในตลาดมากขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบและสารตั้งต้นในการผลิตยาที่ไทยจำเป็นต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการยาไทยสามารถผลิตเองได้มีเพียง 20 รายการ ด้วยปัจจัยข้างต้นทำให้ราคายาในไทยมีราคาแพง เมื่อเทียบกับค่าแรง ค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ผลิตยาไทยอย่าง ภก. ประพล ฐานะโชติพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีแมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ที แมน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยากว่า 50 ปี “สถานการณ์ตลาดยาไทย ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ได้ถือครองสัดส่วนตลาดยาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่สามารถผลิตวัตถุดิบและสารตั้งต้นในประเทศไทยได้ หากจะเทียบกับจีนและอินเดีย ซึ่งมีความพร้อม รวมถึงศักยภาพมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่เรานำเข้าวัตถุดิบจากสองประเทศนี้ ยาแผนปัจจุบันถ้าเราจะรุกตลาดต่างประเทศ ยังคงเป็นเรื่องยาก

Read More