Home > Cover Story (Page 99)

ไทยแลนด์แดนขยะ 4.0 การจัดการที่พร่องสำนึก?!

เหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนรักสัตว์ รักทะเล ไม่น้อย เมื่อวาฬนำร่องคลีบสั้นที่เกยตื้นบริเวณคลองนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา เสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าสลดก่อนวันทะเลโลก (8 มิ.ย.) เพียงไม่กี่วัน การชันสูตรจากสัตวแพทย์ทำให้สังคมทั้งในไทยและต่างชาติประจักษ์ชัดถึงหลักฐานสำคัญที่ฉายภาพพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่า “มนุษย์” ได้ละเลย เพิกเฉย และขาดการตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำอันปราศจากจิตสำนึกที่ดี ที่ควรต้องมีต่อสังคมส่วนรวมมากแค่ไหน ถุงพลาสติกที่อยู่ในกระเพาะของวาฬตัวดังกล่าวที่มีมากถึง 80 ใบ และมีน้ำหนักรวม 8 กิโลกรัม คือคำตอบต่อเรื่องการจัดการปัญหาขยะของสังคมไทย ที่นับวันจะทวีความรุนแรงของปัญหานี้มากขึ้น แม้ว่าสาเหตุหนึ่งจะมาจากการที่ขยะพลาสติกไม่ได้ถูกกำจัดและได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และเหนืออื่นใดคือ “ความมักง่าย” ของผู้คนในสังคม ผู้ล่าที่อยู่ในอันดับสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร แน่นอนว่าวาฬนำร่องตัวนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตในทะเลตัวแรกที่ได้รับผลกระทบจากขยะทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เคยเปิดเผยรายงานว่า มีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 คือ 1. กลุ่มเต่าทะเล 669 ตัว แบ่งเป็น เกยตื้น (มีชีวิต) 334 ตัว ซากเกยตื้น 335 ตัว

Read More

VGI พลิก “ออฟไลน์-ออนไลน์” บิ๊กมีเดีย 5 หมื่นล้านสยายปีก

นับจากวันแรกเมื่อ 20 ปีก่อน คีรี กาญจนพาสน์ ควักเงิน 5 ล้านบาท เปิดบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จนถึงวันนี้หลังผ่านวิกฤตหลายครั้ง มูลค่าของวีจีไอจาก 5 ล้านบาท พุ่งพรวดเป็น 5 หมื่นล้าน ซึ่งกวิน กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ย้ำกับสื่อว่า “เติบโตหมื่นเท่า” ทั้งหมดมาจากวิสัยทัศน์การ Synergy ระหว่างธุรกิจมีเดียกับธุรกิจระบบรางของบีทีเอสกรุ๊ป ล่าสุด ปี 2561 วีจีไอแปลงโมเดลธุรกิจอีกครั้งจากธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านเข้าสู่โลกธุรกิจใหม่ เชื่อมออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน จะไม่ใช่แค่ผู้นำสื่อนอกบ้านในกรุงเทพฯ ที่มีมูลค่าสื่ออยู่ในมือ 6,800 ล้านบาท แต่จะเป็นบิ๊กมีเดียเจ้าแรกที่รวบรวมตลาดมีเดียทั้งหมด ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “Pioneering Solutions for Tomorrow” กับโมเดลธุรกิจใหม่ Offline-to-Online: O2O Solutions

Read More

คีรี กาญจนพาสน์ “BTS มั่นใจทำได้ ไม่ต้องรอต่างชาติ”

“ผมไม่รู้ว่ามีบริษัทต่างประเทศมาแข่งหรือไม่อย่างไร อย่างน้อยที่สุดงานนี้เราทำได้สบายๆ แต่ถ้าต่างประเทศมาลงทุนด้วย ถือว่าดี ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติดูดี ต่างประเทศสนใจจะเอาก้อนเงินมหาศาลมาลงทุนที่เมืองไทยบ้านเรา เพราะอินฟราสตรักเจอร์พวกนี้ 50 ปี 100 ปีเอาไปไหนไม่ได้ อยู่ที่บ้านเรา เรามั่นใจบริษัทในไทยว่าเราทำได้ ไม่จำเป็นต้องรอต่างชาติเข้ามาลงเงิน 2 แสนกว่าล้านนี้ ไม่มั่นใจว่าต่างชาติจะรักบ้านเราเหมือนคนไทยรักกันเองหรือเปล่า” คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ยืนยันกับสื่อทันทีถึงความพร้อมในการชิงโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการรวมมากกว่า 220,000 ล้านบาท ซึ่งบิ๊กโปรเจ็กต์ตัวนี้มีคู่แข่งระดับยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กลุ่ม ปตท. กลุ่ม ช.การช่าง และกลุ่มทุนต่างชาติที่จ้องเข้ามาฮุบโครงการอีกหลายราย ล่าสุด รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศเชิญชวนบริษัทเอกชนร่วมลงทุนโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3

Read More

ไปรษณีย์ไทยสู้ศึกรอบด้าน เร่งผลงานสนองกลยุทธ์ 4.0

กลายเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมาเมื่อมีรายงานว่า สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท) ไม่ผ่านการประเมินผลงานประจำปี 2560 จนเกิดกระแสรวมตัวชุมนุมประท้วงของกลุ่มพนักงานพร้อมติดริบบิ้นดำเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา แม้ล่าสุด บอร์ดไปรษณีย์ไทยรีบออกมติสยบความเคลื่อนไหวยืนยันการประเมินผลงานยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา แต่ดูเหมือน “ไปรษณีย์ไทย” กำลังเจอศึกรอบด้าน ทั้งการแข่งขันในสมรภูมิธุรกิจโลจิสติกส์ที่เคยผูกขาดมาอย่างยาวนาน เพราะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามารุกตลาดดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นเคอรี่เอ็กซ์เพรส เอสซีจีเอ็กซ์เพรส และไลน์แมน แถมบิ๊ก ปณท ยังถูกเกาะติดผลงานชนิดมีสิทธิ์หลุดจากตำแหน่งได้ ทั้งหมดทำให้ไปรษณีย์ไทยในฐานะองค์กรรัฐวิสาหกิจต้องเร่งปรับกลยุทธ์ทุกวิธี โดยเฉพาะการสนองนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งผลงานรูปธรรมชิ้นสำคัญก่อนการเลือกตั้งในปี 2562 แผนสำคัญ คือการให้ไปรษณีย์ไทยเป็นตัวกลางต่อยอดเครือข่ายเน็ตประชารัฐที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 24,700 หมู่บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายรายได้ด้วย “อีคอมเมิร์ซ” โจทย์สำคัญ คือ ชาวบ้านขายสินค้า ปณท เป็นตัวกลางติดต่อผู้ซื้อด้วยระบบออนไลน์ เงินมาถึงชาวบ้านทั่วประเทศ ลูกหลานไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองใหญ่ ชาวบ้านในชุมชนลืมตาอ้าปากได้ ถ้าสำเร็จย่อมหมายถึงผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล คสช. ซึ่งบิ๊กไปรษณีย์อย่างสมร เทิดธรรมพิบูล รับรู้ความต้องการและเป้าหมายของรัฐบาลอย่างดีตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งช่วงเดือนมกราคม 2559 แน่นอนว่า

Read More

ไตรมาสแรกส่งออกไทยพุ่ง หวังทั้งปีโตต่อเนื่องไร้ผันผวน

แม้ว่ากรมอุตุฯ จะประกาศว่าไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา หากแต่สถานการณ์เหตุบ้านการเมือง และเศรษฐกิจโดยรวมยังคงร้อนระอุคุกรุ่น และนับวันดูจะยิ่งทวีความร้อนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับราคาก๊าซหุงต้ม การปรับอัตราค่าไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกของตลาดโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนส่งออกมาเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าโดยสาร และทั้งหมดทั้งมวลย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมสู่ประชาชนรากหญ้าตาดำๆ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คนหาเช้ากินค่ำต้องพยายามอยู่ให้รอดในสภาวการณ์เช่นนี้ แม้ภาครัฐจะพยายามออกมาแจกแจงแถลงไขต่อประเด็นการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคว่า “กระทบน้อย” ความกังวลต่อเรื่องเศรษฐกิจและปากท้อง ทั้งจากแง่มุมของประชาชนและภาครัฐดูจะสวนทางกันไม่น้อย เมื่อล่าสุด หัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่าง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เปิดเผยตัวเลข GDP ในไตรมาสแรกว่าสูงถึง 4.8% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวน่าจะดึงดูดและเร่งนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจว่าจะลงทุนในไทยดีหรือไม่ ขณะที่แง่มุมจากผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือประชาชนทั่วไปกลับเห็นต่าง และมองว่าเศรษฐกิจไทยดีจริงแต่แค่ในระดับบนเท่านั้น คล้ายกับว่าเม็ดเงินที่วิ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจจริงๆ ไม่อาจหยั่งรากถึงในระดับล่างได้เลย ขณะที่ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจของไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความผันผวน หากแต่ฟันเฟืองที่ยังคงขับเคลื่อนได้ดี ยังคงเป็นฟันเฟืองตัวเดิมอย่างการท่องเที่ยว และการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี กระทั่งกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยรายงานตัวเลขการส่งออกไทยในเดือนเมษายน 2561 ว่ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสูงถึง 12.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ซึ่งมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 18,945.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การค้าระหว่างประเทศในเดือนเมษายนนี้กลับเป็นการค้าที่ขาดดุล ซึ่งเป็นการขาดดุลในรอบ 43 เดือน เมื่อตัวเลขการนำเข้าในเดือนเมษายนอยู่ที่ 20,229 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวถึง 20.4

Read More

โลจิสติกส์ไทยสุดคึก รับกระแสอี-คอมเมิร์ซบูม

การมาถึงของอาลีบาบากรุ๊ป พร้อมกับบันทึกข้อตกลงที่จะลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ดูจะเป็นแรงกระตุ้นเร้าภาคธุรกิจและจุดประเด็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะนำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซไทยให้ก้าวหน้าไปตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่มุ่งหมายไม่น้อยเลย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวได้ส่งผลให้ภาคธุรกิจว่าด้วยการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ที่กำลังรุกเร้าและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนในสังคมด้วยอัตราเร่ง อย่างก้าวกระโดด และดำเนินไปท่ามกลางสีสันที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และกำลังส่งผลให้ภูมิทัศน์ของธุรกิจปรับเปลี่ยนและเกิดภาพใหม่ที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม แผนการก่อสร้างโครงการ Smart Digital Hubในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าลงทุนกว่า 11,000 ล้านบาท ของ “อาลีบาบา” ที่จะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2561-2562 ซึ่งเป็นโครงการที่จะอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลข้อมูลโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างไทย-จีน การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) และไปยังที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะทำให้ประเทศไทยทะยานไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการค้า “อี-คอมเมิร์ซ” ได้ไม่ยาก และคาดหวังว่าจะกรุยทางให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในอนาคต สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ได้ประเมินมูลค่าการซื้อขายผ่านออนไลน์ในปี 2561 ว่าจะพุ่งทะยานเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับที่มีมูลค่าเกิน 3 ล้านล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งกรณีที่ว่านี้จะทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้ากลายเป็นธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงที่น่าจับตามอง และมีการแข่งขันสูง ด้วยเหตุที่การจัดการขนส่งสินค้าจากผู้ขายไปถึงมือผู้ซื้อยังคงต้องพึ่งพาการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นของไทยและจากต่างประเทศต่างทยอยสร้างฐานการให้บริการเพื่อรองรับและเก็บเกี่ยวอานิสงส์ของธุรกิจค้าออนไลน์ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยนอกจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)

Read More

ย้อนพินิจ 4 ปี คสช. เศรษฐกิจไทยในร่างแห??

ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งดำรงสถานะและดำเนินต่อเนื่องมาจนครบ 4 ปี ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการโหมประโคมว่าดำเนินมาอย่างถูกทิศถูกทางและกำลังปรับฟื้นตัวขึ้นอย่างมีอนาคตสดใส ควบคู่กับการเปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่ามีอัตราขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.8 ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี หากแต่ภายใต้ตัวเลขสวยหรูที่หน่วยงานภาครัฐพยายามฉายภาพให้สังคมได้รับรู้ กลับยิ่งสะท้อนความเป็นไปที่ขัดต่อความรู้สึกนึกคิดและแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสอย่างไม่อาจเทียบเคียงกันได้เลย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คืออัตราการขยายตัวทางภาวะเศรษฐกิจของไทยที่รวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยนับตั้งแต่ปี 2555 อยู่ในระดับร้อยละ 6.5 ก่อนที่จะถดถอยลงมาเหลือการขยายตัวเพียงร้อยละ2.9 ในปี 2556 และตกต่ำลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 ในปี 2557 และปรับขึ้นมาเป็นร้อยละ 2.9 ในปี 2559 และร้อยละ 3.2 ในปี 2559 ขณะที่รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2560 ระบุว่ามีการขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.9 ตามการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น อุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาครัฐชะลอลงจากปีก่อน เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีโดยได้รับแรงส่งสำคัญตลอดทั้งปีจากการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นทั้งในมิติของประเภทสินค้าและตลาด ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยของหน่วยงานภาครัฐได้รับการตอกย้ำหนักแน่นยิ่งขึ้นจากตัวเลขล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่นอกจากจะระบุว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1

Read More

เอ็นพีพีจี ดัน A&W-มิยาบิ รุกธุรกิจอาหารบุกตลาดจีน

“นิปปอนแพ็ค” ปรับโครงสร้างใหญ่อีกครั้งตั้งแต่หัวขบวน เมื่อบอร์ดบริษัทตัดสินใจดึงผู้บริหารหนุ่มวัยไม่ถึง 40 “ศุภจักร ไตรรัตโนภาส” อดีตที่ปรึกษาทางการเงินบริษัทยักษ์ใหญ่ International investor เข้ามานั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร พร้อมเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ “เอ็นพีพีจี” ล้างภาพธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง เพื่อลุยธุรกิจอาหารแบบครบวงจร 360 องศา โดยมีบิ๊กแบรนด์อยู่ในมือ ทั้ง A&W มิยาบิ มิสเตอร์โจนส์ และเตรียมเงินก้อนโตกว้านซื้อกิจการร้านอาหารเข้ามาเติมเต็มพอร์ตภายในปีนี้ อย่างน้อยอีก 4 แบรนด์ เป้าหมายใหม่นอกจากการเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน หรือ Quick Service Restaurants (QSR) ที่มีไลน์ร้านอาหารทั้งคาว-หวาน ทั้งฟาสต์ฟู้ด อาหารอินเตอร์ อาหารญี่ปุ่น อาหารไทย คือ การรุกตลาดทั้งในประเทศและเร่งขยายฐานสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะบลูโอเชียนอย่าง “จีน” ศุภจักร ไตรรัตโนภาส ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นพีพีจี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจประเภทอาหารสามารถสร้างอัตรากำไร (มาร์จิน) ที่ดีแบบก้าวกระโดด

Read More

อาลีบาบา-สยามเกตเวย์ ย้อนรอยเจาะตลาดจีน

ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังตื่นเต้นกับความร่วมมือหลายๆ ด้านกับอาลีบาบากรุ๊ป เว็บไซต์ค้าปลีก (B2C) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 1,400 ล้านคน โดยเฉพาะการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ของ Tmall.com ในเครืออาลีบาบากรุ๊ป เพื่อนำร่องผลักดันผู้ประกอบการและผู้ส่งออกข้าวเข้าถึงตลาดซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ (e-Commerce) และเปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายทุเรียนผ่านเว็บไซต์อย่างเต็มรูปแบบก่อนขยายไปยังผลไม้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมังคุด มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า บริษัทไทย 2 แห่ง เกิดบิ๊กไอเดียสร้างธุรกิจเทรดดิ้งที่ให้บริการผู้ประกอบการเจาะตลาดต่างประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ตั้งแต่การสนับสนุนด้านเงินทุน กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย เหมือน “ศูนย์กลางส่งออกสินค้าครบวงจร” ทั้ง online, offline, B2B, B2C และช่องทางร้านค้าปลอดภาษี การบริหารการส่งออก โดยตั้งเป้าหมายแรก คือ ตลาดจีนและวางแผนขยายครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี หนึ่งบริษัท คือ กลุ่ม ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และสินค้าไลฟ์สไตล์

Read More

เมเจอร์เดินหน้ากินรวบ งัดโรงหนังเด็กขยายฐาน

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เดินหน้าเร่งปูพรมสาขาอย่างต่อเนื่อง และงัดกลยุทธ์ทุกรูปแบบตามแผนการก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ตั้งเป้าปี 2020 หรือภายในปี พ.ศ. 2563 จะขยายเครือข่ายโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ครบ 1,000 โรง และเจาะยึดตลาดทุกกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่เด็ก 5 ขวบจนถึงวัยเกษียณ ที่สำคัญ คือ การสร้างเมืองหนังและศูนย์รวมความบันเทิงระดับโลกที่ดีที่สุด ทั้งรูปโฉม นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบการฉายภาพยนตร์ แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบคู่แข่งอย่าง “เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น” ของกลุ่มตระกูลทองร่มโพธิ์แล้ว การดำเนินธุรกิจของ “วิชา พูลวรลักษณ์” เน้นการหาพันธมิตรเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เพราะสามารถขยายฐานลูกค้าแบบ “ดับเบิ้ล” และ “วิน-วิน” ทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการดึงบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาร่วมเป็นเนมสปอนเซอร์ สร้างความแตกต่างของตัวโรงภาพยนตร์ เน้นความหรูหราและภาพลักษณ์ระดับพรีเมียม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอิออน กลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน เอไอเอส กลุ่มทรู อย่างสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งเมเจอร์ฯ ดึงเข้ามาเป็นเนมสปอนเซอร์ เปิดโรงภาพยนตร์

Read More