Home > Cover Story (Page 98)

พลังงานไทยบน Solar Roof แสงสะท้อนที่หักเหของนโยบายรัฐ

จากประเด็นข่าวเรื่อง “กฟผ. เสนอเรื่องให้ กกพ. จัดเก็บค่าระบบสำรองไฟฟ้า ที่ 100-200 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองจาก Solar Roof Top ที่ถูกโพสต์ และแชร์ไปบนโลกออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา สร้างความแปลกใจ รวมไปถึงความไม่พอใจจากประชาชนไม่น้อย ความคิดเห็นส่วนใหญ่แสดงออกมาในเชิงลบ และต่อว่าต่อขานผู้บริหาร กฟผ. ถึงนโยบายนี้ ว่าไม่ยุติธรรมต่อผู้ที่หันมาใช้พลังงานทางเลือก ทั้งที่ภาครัฐควรจะสนับสนุนส่งเสริม ให้ประชาชนใช้พลังงานสะอาด ทั้งเพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อน และประหยัดพลังงานหลัก หลังจากกระแสธารของข่าวนี้ที่ถูกส่งต่อและแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว วันถัดมา ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. ออกมาแก้ไขความดังกล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน “กฟผ. ไม่ได้เสนอการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองต่อ กกพ. แต่อย่างใด กรณีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองนั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างกรณีที่ต่างประเทศใช้ดำเนินการเท่านั้น” สหรัฐ บุญโพธิภักดี โฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อธิบาย แม้ว่าจะมีการแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องแล้ว กระนั้นก็ไม่อาจลดทอนความเคลือบแคลงใจที่ประชาชนมีไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากกรณีดังกล่าวทำให้เราต้องย้อนกลับมาดูว่า ภาครัฐมีนโยบายในเรื่องพลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดอย่างไร “ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทุกประเทศในอาเซียน โดยหน่วยงานด้านพลังงานระหว่างประเทศคาดว่า ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี

Read More

ถอดรหัสจังหวะก้าว ชาตรี โสภณพนิช บนรอยต่อบริบทธุรกิจไทย

ข่าวการถึงแก่กรรมของชาตรี โสภณพนิช หรือ “เจ้าสัวชาตรี” อดีตหัวเรือใหญ่ของอาณาจักรธนาคารกรุงเทพ ที่ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการเงินอันดับหนึ่งของไทย และในระดับภูมิภาค รวมถึงโครงข่ายธุรกิจในเครือโสภณพนิชอีกหลากหลาย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจติดตามมาด้วยถ้อยความสรรเสริญและสดุดีผลงานที่ผ่านมาของผู้วายชนม์ ซึ่งเป็นปกติธรรมดาของสังคมไทย หากแต่บนรอยทางแห่งชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง สิ่งที่ชาตรี โสภณพนิชได้ฝากไว้ให้ผู้คนในยุคหลังได้ย้อนพินิจ และศึกษาเก็บรับประสบการณ์ ล้วนมีมิติ สีสัน และข้อควรพิจารณาที่สะท้อนยุคสมัยและบริบทสังคมการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ชาตรี โสภณพนิช เกิดในครอบครัวชาวจีน เป็นบุตรของชิน โสภณพนิช กับชาง ไว เลาอิง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2476 โดยระบุสถานที่เกิดว่าเป็นที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า อังเดร ส่วนชื่อจีนดั้งเดิมนั้นชื่อ อู้เข่ง แซ่ตั้ง ในวัย 6 ปีได้เดินทางติดตามแม่กลับประเทศจีน ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ชาตรีต้องพำนักอยู่ในต่างแดนจนโต พร้อมกับศึกษาด้านบัญชีและการธนาคาร โดยสำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงสาขาบัญชี จากวิทยาลัย Kwang Tai High Accountancy College ที่ Hong Kong ในปี

Read More

“สยามพิวรรธน์” ชน “เซ็นทรัล” ผุดโอเอซิส ลักชัวรีเอาท์เล็ต

“สยามพิวรรธน์ทำศูนย์การค้า 40 กว่าปี พัฒนาและลงทุนอภิมหาโปรเจกต์ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก สร้างเดสทิเนชั่นของเมืองหรือของประเทศประสบความสำเร็จ มีความเชื่อมั่นและแข็งแรง หลายคนถามตลอดว่าเมื่อไหร่จะออกต่างจังหวัด วันนี้เรากำลังจะก้าวออกนอกกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เป็นก้าวย่างสำคัญและไม่ใช่การทำศูนย์การค้าแบบเดิมอีกแล้ว” ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ กล่าวถึงทิศทางการลงทุนครั้งใหม่และแผนการร่วมทุนกับไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป บริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก ซึ่งใช้เวลาเจรจาแนวคิดและประสบการณ์ต่างๆ กว่าจะตกผลึกยาวนานร่วม 1 ปี เพื่อสร้าง “เมือง” หรือโอเอซิสแห่งใหม่ของประเทศไทยที่ตั้งเป้าดึงดูดผู้คนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันได้ทุกวัน โดยมี “ลักชัวรีพรีเมียมเอาท์เล็ต” เป็นแม็กเน็ตชิ้นสำคัญ แน่นอนว่า ธุรกิจเอาท์เล็ตไม่ใช่โมเดลค้าปลีกรูปแบบใหม่ในตลาดไทย แต่มีมานานมากกว่า 20 ปี โดยบริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด ของปรีชา ส่งวัฒนา ที่ต้องการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ “Flynow” ในช่วงธุรกิจในเมืองไทยเจอวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ในราคาที่ไม่บวกค่าขนส่งและค่าการตลาด ภายใต้แนวคิด “คุณภาพส่งออก ราคาผู้ผลิต” เวลานั้น เอาท์เล็ทฟลายนาวสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน เนื่องจากสินค้าของเอฟเอ็นเป็นแบรนด์เสื้อผ้าระดับพรีเมียมและมีสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม

Read More

“เจริญ” รุกเกม Synergy กินรวบค้าปลีก-อสังหาฯ

เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของอาณาจักรธุรกิจแสนล้าน “ทีซีซีกรุ๊ป” ดูเหมือนจะเร่งเดินหน้าแผน Synergy ธุรกิจค้าปลีก “บิ๊กซี” กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือ โดยเฉพาะโครงการเกิดใหม่ในทำเลทองตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งจะเปิดให้บริการอีกหลายเส้นทาง ชนิดที่ยึดเครือข่ายทั่วกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญ บิ๊กซีเองกำลังใช้จังหวะนี้ยกเครื่องสาขาใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ ทั้งเทสโก้โลตัสและกลุ่มเซ็นทรัล หลังจากทุ่มเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทยจากกลุ่มคาสิโนเมื่อปี 2559 เพื่อหวังเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญตามแผนขยายธุรกิจค้าปลีกอย่างครบวงจรของทีซีซีกรุ๊ป ตั้งแต่ธุรกิจศูนย์การค้าหลากหลายรูปแบบสู่ธุรกิจค้าปลีกปลายน้ำทุกโมเดล ทั้งห้างค้าส่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จนถึงร้านสะดวกซื้อ ที่ผ่านมา อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ในฐานะซีอีโอ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ใช้เวลาปรับระบบต่างๆ เพื่อแก้จุดอ่อนทั้งหมดของ “บิ๊กซี” แต่ต้องยอมรับว่า บิ๊กซียังต้องเสริมจุดแข็งหลายด้าน โดยเฉพาะการรีโนเวตสาขาเก่าเพื่อสร้างความสดใหม่การเพิ่มแม็กเน็ตสินค้าต่างๆ ตามเทรนด์การบริโภคของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Read More

นับถอยหลัง “ไอคอนสยาม” ศึกค้าปลีกโค้งน้ำเจ้าพระยา

นับถอยหลังอีกไม่กี่เดือน อภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม” ของกลุ่มร่วมทุน 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (ในเครือซีพี) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พร้อมๆ กับการเริ่มต้นลุยสมรภูมิค้าปลีกริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาระลอกใหม่ที่มีทั้ง “เอเชียทีค” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี และโครงการ “ล้ง 1919” ของกลุ่มตระกูลหวั่งหลี ที่ฉีกแนวเจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบแนวศิลปวัฒนธรรมชนชาติจีน แน่นอนว่า โค้งน้ำเจ้าพระยากำลังจะพลิกโฉมอีกครั้ง ซึ่งหัวเรือใหญ่ไอคอนสยาม ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ ย้ำกับสื่อมาตลอดว่า ไอคอนสยามจะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่สร้างเมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์ (The Icon of Eternal Prosperity) จุดประกายคุณค่าของแม่น้ำเจ้าพระยา 3 เรื่อง เรื่องแรก คือการสัญจรไปมาทุกระบบการขนส่ง สอง คือเรื่องเศรษฐกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และสาม คือการพัฒนาชุมชนรอบๆ โดยตั้งเป้าหมายดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้ชีวิต ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมกว่า

Read More

ฟุตบอลโลก 2018 เงินสะพัดในความเงียบ?

แม้ว่ากระแสฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซียจะเพิ่งจุดติด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ถูกปล่อยให้ดำเนินไปท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่ตื่นตัวคึกคักมากนัก แต่ดูเหมือนว่าสำนักวิจัยและพยากรณ์ทางเศรษฐกิจแทบทุกสำนักต่างเชื่อมั่นว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้จะส่งผ่านปัจจัยบวกให้เศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงส์ในระดับหลายหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกจะกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อกิจกรรมและเชิงพาณิชย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการซื้อเสื้อผ้า ของที่ระลึกเพื่อการเชียร์บอล งบถ่ายทอดสด งบประชาสัมพันธ์สนับสนุนการถ่ายทอด ซึ่งการเฝ้าชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันอาจส่งผลต่อการซื้อโทรทัศน์ อาหาร/เครื่องดื่ม และการบริโภคอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้านด้วย ข้อมูลตัวเลขอ้างอิงจากพฤติกรรมของการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อครั้งที่ผ่านมา คาดว่าในปีนี้จะมีเงินสะพัดทางธุรกิจในระดับ 2 หมื่นล้านบาท และการใช้จ่ายนอกระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพนันฟุตบอลอีกประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 0.2-0.3 เท่านั้น ประเด็นที่น่าสนใจก็คือวงเงินที่แพร่สะพัดอยู่ในกิจกรรมพนันฟุตบอลที่มูลค่าสูงถึง 6 หมื่นล้านบาทตามการประเมินนี้ อาจสร้างกำลังซื้อชั่วขณะได้ในระดับหนึ่ง หากผู้ที่ชนะพนันนำเงินนอกระบบนี้มาบริโภคหรือจับจ่ายที่อาจกระตุ้นการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในได้บ้าง หากแต่การพนันฟุตบอลส่วนใหญ่ในปัจจุบันกระทำกันผ่านระบบออนไลน์ไปยังเจ้ามือหรือร้านรับแทงพนันในต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะยากต่อการควบคุมแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นช่องทางให้เงินไหลออก ที่เป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าในช่วงฟุตบอลโลกจะมีเงินสะพัดในระดับ 6-7 พันล้านบาทกระจายเข้าสู่ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5 จากช่วงเวลาปกติของมูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยสินค้าและธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้อยู่ที่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจฟาสต์ฟู้ดเดลิเวอรี่ อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า และรองเท้า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะโทรทัศน์ดูจะเป็นธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์เชิงบวกโดยตรงมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างโหมประโคมกิจกรรมและรณรงค์ส่งเสริมการตลาด ทั้งลด แลก แจก แถม

Read More

กระทรวงพาณิชย์ยุคใหม่ สร้างความแข็งแกร่งจากฐานรากสู่ตลาดโลก

กระทรวงพาณิชย์แถลงผลการทำงานครึ่งปีแรก ท่ามกลางทิศทางเศรษฐกิจที่ดูเหมือนกำลังฟื้นตัว พร้อมเผยทิศทางการทำงานในครึ่งปีหลังเน้นสร้างความแข็งแกร่งจากฐานรากสู่ตลาดโลก และปรับองค์กรสู่การเป็นกระทรวงพาณิชย์ยุคใหม่ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปีที่ผ่านมาดูเหมือนกำลังปรับฟื้นตัวและเป็นไปในทิศทางที่สดใส ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาสแรก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่ามีอัตราขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ซึ่งเติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี การส่งออกที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี รวมถึงค่าครองชีพที่เริ่มส่งสัญญาณลดลง สอดรับกับข้อมูลตัวเลขดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนเดือนพฤษภาคม 2561 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.9 จากปัจจัยทางด้านสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ โดยเฉพาะราคาพลังงาน รวมทั้งรายได้และการมีงานทำของครัวเรือนค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงในภาคเกษตรที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ภายใต้การนำของสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่เข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม 2560 จากการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกมาแถลงผลงานของกระทรวงพาณิชย์ตลอด 6 เดือนแรกของปี 2561 โดยกล่าวว่าพันธกิจที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์คือ มุ่งเน้นให้เกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ได้ “กินดี อยู่ดี” เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยดำเนินการตามนโยบายหลัก 3 ประการ

Read More

เจ้าภาพฟุตบอลโลก ความหวังที่อาจเป็นฝันร้าย

ขณะที่การแข่งขันฟุตบอลโลกในสังเวียนฟาดแข้งกำลังดำเนินไปอย่างออกรสชาติ และท่ามกลางผลการแข่งขันที่ส่งความสมหวังผิดหวังให้แก่เหล่ากองเชียร์ของทีมโปรดแต่ละทีมไปแบบระคนกัน ความเป็นไปนอกสนามแข่งขัน และความคาดหวังจากผลของการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันก็ดำเนินไปด้วยความเข้มข้นและลุ้นระทึกไม่แตกต่างกัน ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่แต่ละประเทศคาดหวังไว้จากการเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก ทำให้หลายประเทศพยายามอย่างยิ่งยวดในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ด้วยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นจักรกลในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจการลงทุนภายในประเทศ นอกเหนือจากการสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซียก็ดำเนินไปในวิถีที่ไม่แตกต่างกันมากนักโดยรัฐบาลรัสเซียตั้งความหวังไว้ว่า ฟุตบอลโลกครั้งนี้จะช่วยหนุนนำให้เศรษฐกิจของรัสเซียเติบโตขึ้น ก่อนที่คณะกรรมการของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) จะลงมติตัดสินใจมอบสิทธิการเป็นเจ้าภาพให้กับรัสเซีย ชนะคู่แข่งขันทั้งโปรตุเกส/สเปน และ เบลเยียม/เนเธอร์แลนด์ ที่เสนอตัวเข้ามาในฐานะเจ้าภาพร่วม ในช่วงปลายปี 2010 ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี ของการเตรียมการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารัสเซียได้ใช้งบประมาณไปเป็นจำนวนมากถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นการเปิดศักราชแห่งความรุ่งเรืองและการพัฒนาครั้งใหม่ให้กับ 11 เมืองที่จะใช้เป็นสังเวียนของการแข่งขัน และจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของเมืองเหล่านี้เติบโตขึ้นร้อยละ 15 ในช่วงเวลานับจากนี้ การลงทุนเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงสนามกีฬาให้ได้มาตรฐานรองรับการแข่งขันระดับโลกดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ที่มีงบประมาณรวมกว่า 3.53 แสนล้านรูเบิล โดยงบประมาณส่วนใหญ่ได้รับการจัดสรรไปสำหรับการลงทุนในระบบการบินและการพัฒนาสนามบิน ขณะที่การสร้างโรงแรมใหม่ในเมืองที่เป็นสถานที่แข่งขันก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่มีการลงทุนเพื่อรองรับกับทั้งนักกีฬาและนักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมการแข่งขันด้วย การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของรัสเซียได้รับการประเมินว่าจะส่งผลให้ GDP ของรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 1.2-1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วงเวลาระหว่างที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกที่มีกำหนดนานนับเดือนนี้ ภาคโรงแรมของรัสเซียจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ ประเด็นที่สำคัญมากกว่าตัวเลขรายได้และการลงทุนดังกล่าวอยู่ที่ตลอดระยะเวลาของการเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการจ้างงานในภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซียรวมไม่ต่ำกว่า 2 แสนตำแหน่งงาน

Read More

มลภาวะในออฟฟิศ มลพิษทำร้ายคนทำงาน

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมไทยถูกกระตุ้นเตือนว่าด้วยกระแสรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันอย่างเอิกเกริก ในด้านหนึ่งจากผลของวันสิ่งแวดล้อมโลกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ต่อเนื่องด้วย วันทะเลโลก 8 มิถุนายน ซึ่งในปีนี้เรื่องราวของวันทั้งสองดังกล่าวดูจะเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงถึงกัน เมื่อปรากฏว่าขยะพลาสติกไม่เพียงแต่ทำลายสภาพแวดล้อมทางทะเล หากยังเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างหนักอีกด้วย ความเป็นไปของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา อาจส่งผลให้เกิดความตื่นตัวและจุดประกายความสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้พอสมควร หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ต่างแสดงออกถึงความห่วงกังวลในเรื่องดังกล่าวควบคู่กับกิจกรรมทางสังคมภายใต้ความมุ่งหวังที่ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยปลุกจิตสำนึกให้กับผู้คนได้พอสมควร หากแต่การรักษาสิ่งแวดล้อมย่อมไม่ใช่การเดินทางไกลไปปลูกป่าหรือเก็บขยะริมทะเล โดยที่สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการหรือสำนักงานของแต่ละหน่วยงาน ยังมีสภาพไม่ต่างจากการนั่งทำงานอยู่บนกองปฏิกูลที่ขาดระเบียบและการบริหารจัดการที่เหมาะสม ภาพสำนักงานของหน่วยงานในสังกัดของระบบราชการไทยทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ที่อัดแน่นด้วยกองเอกสารจำนวนมหาศาล และวัสดุเหลือใช้จำนวนมากที่ถูกขึ้นบัญชีให้เป็นครุภัณฑ์ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายหรือขจัดออกไปเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับการใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพ กลายเป็นประเด็นที่สะท้อนระบบวิธีคิดของหน่วยราชการไทยมาช้านาน แม้ว่าขณะปัจจุบันจะมีการพูดถึงการก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลก็ตาม ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยระบุคำกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 4 ความว่า “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” หมายความว่า การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย อันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน โดยที่ “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าการทำงานหรือการทำผลประโยชน์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม ขณะที่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม และ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า

Read More

สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พร้อมฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง

ตัวเลข GDP ไตรมาสแรกของปี 2561 ที่เติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ 4.8 เปอร์เซ็นต์ ดูจะทำให้หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พอใจและยินดีในผลงานไม่น้อย เพราะมันคือภาพสะท้อนว่าเศรษฐกิจในทุกๆ ด้านกำลังดำเนินไปข้างหน้าด้วยอัตราเร่งที่ดี ทั้งการลงทุนของภาคเอกชน ภาคการเกษตร การส่งออก การท่องเที่ยว และรวมไปถึงการลงทุนจากภาครัฐ และผลของภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นย่อมส่งผลให้ความมั่นใจจากนักลงทุนต่างชาติที่กำลังอยู่ในช่วงที่กำลังตัดสินใจว่าจะเลือกไทยเป็นฐานการลงทุนดีหรือไม่ ให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ทุกอย่างดูจะเหมาะเจาะลงตัวไปเสียทุกด้าน หลายคนอาจจะมองภาพไม่ออกนักว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมกับเศรษฐกิจไทยจะเกี่ยวเนื่องหรือผสานกันได้อย่างไร การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไม่ว่าด้านใดก็ตาม รวมไปถึงตัวเลข GDP ที่ขยายตัวขึ้น นั่นหมายถึงความเสื่อมถอยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับสิ่งแวดล้อม ภาพที่เห็นได้ชัดคือภาคอุตสาหกรรม หากมีการขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แน่นอนว่าทั้งภาครัฐและเอกชนคงจะไม่นิ่งนอนใจ และมัวแต่เพิ่มอัตรากำลังเร่งเพื่อผลผลิตที่สร้างแต่กำไรเพียงอย่างเดียว “ไทยแลนด์ 4.0” คือการที่สังคมไทยจะต้องเดินหน้าก้าวสู่การนำเอานวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามา และทำให้ประเทศพัฒนามากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลข 4.0 จะต้องขนาบข้างไปกับทุกหน่วยงาน ทุกกรมกอง ข้อดีของการปรับเปลี่ยนให้ประเทศไทยเข้าสู่ประเทศ 4.0 เหมือนเป็นการบังคับทางอ้อมว่า ทุกภาคส่วนต้องหยิบจับเอาเทคโนโลยี และรวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้งานให้มากกว่าที่ผ่านมา และดูจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ว่า บรรดาภาคอุตสาหกรรมจะไม่เพียงสักแต่ว่าเพิ่มอัตราความเร็วในการสร้างผลผลิต หากแต่จะหยิบเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ที่ภาครัฐมองจะเห็นเพียงความก้าวหน้าที่ชวนให้ปลื้มปริ่มกับผลที่ออกมาหลังจากลงทุนลงแรงไป

Read More