Home > Cover Story (Page 97)

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

LIMEC เชื่อมไทย ลาว เมียนมา เสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคเหนือตอนล่าง

หาก EEC คือความหวังของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจและยกระดับพื้นที่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติแล้ว “LIMEC” หรือระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ก็อาจจะเป็นยุทธศาสตร์และความหวังในการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับภาคเหนือตอนล่างได้เช่นกัน ห้วงเวลาที่ผ่านมา ความพยายามของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสสังคม และสร้างความคึกคักในแวดวงนักธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ลงทุนอยู่ไม่น้อย EEC เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้วาทกรรม ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ให้กลายเป็น “World Class Economic Zone” เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งยังเป็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะใช้เป็นกลไกในการพลิกฟื้นสภาวะเศรษฐกิจของชาติต่อไป มีการคาดการณ์ว่า การลงทุนใน EEC จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ถึง 5% ต่อปี สร้างการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ 100,000 อัตราต่อปี ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี และสร้างฐานรายได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี นักลงทุนจากหลายประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่เป้าหมายแห่งนี้ หนึ่งในนั้นคือยักษ์ใหญ่แห่งวงการ

Read More

เค.อี.กรุ๊ป ดันมิกซ์ยูส 5 หมื่นล้าน ปลุกซีบีดี “เกษตร-นวมินทร์”

เค.อี.กรุ๊ป แลนด์ลอร์ดยักษ์ใหญ่ย่านเกษตร-นวมินทร์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม ออกมาปลุกแผนก่อสร้างโครงการมิกซ์ยูส เมกะโปรเจกต์ มูลค่า 50,000 ล้านบาทอีกครั้ง พร้อมประกาศยืนยันจะลงเสาเข็มทันทีที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทามีความชัดเจน หลังรอมายาวนานกว่า 9 ปีแล้ว ทั้งนี้ จากกระแสข่าวล่าสุด บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ตกลงฟื้นฟูโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาขึ้นมาใหม่ ขณะที่กระทรวงคมนาคมสั่งเร่งรัดโครงการ โดยให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รีบดำเนินการแทนการรับบริหารงานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งแนวเส้นทางจะเชื่อมต่อพื้นที่จากถนนรามอินทราเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจ ทั้งย่านทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ถนนพระราม 4 ถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 ไปสิ้นสุดบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เขตบางเขน ลาดพร้าว บึงกุ่ม วังทองหลาง ห้วยขวาง วัฒนา คลองเตย ยานนาวา บางคอแหลม ธนบุรี และบางกอกใหญ่ ศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เค.อี.กรุ๊ป กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาจะเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนจากเขตชานเมืองเข้าและออกเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้พื้นที่ย่านเกษตร-นวมินทร์ รวมถึงถนนประดิษฐ์มนูธรรมยาวถึงถนนรามอินทรามีศักยภาพเพิ่มขึ้นทันทีอีกหลายเท่า ซึ่งที่ดินบนถนนประดิษฐ์มนูธรรมถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพ ทั้งในแง่กลุ่มเป้าหมายระดับ

Read More

กวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ เค.อี.กรุ๊ปรุ่น 2 รุกสมรภูมิเดือด

1 สิงหาคม 2561 ศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เค.อี.กรุ๊ป ถือฤกษ์ดีเผยโฉมโครงการบ้านเดี่ยวอัลตราลักชัวรีระดับ 6 ดาว “คริสตัล โซลานา” ที่ประกาศยืนยันความหรูหราที่สุดในเมืองไทย มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท และมากกว่านั้น คือการเปิดตัวผู้บริหารหนุ่ม ทายาทคนโต กวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการ ที่จะเข้ามาลุยแผนงานใหญ่ พลิกจุดเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจแบบ “Aggressive” มากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งภารกิจสานต่อยุทธศาสตร์การขยายอาณาจักรสร้าง “เมือง” ของกวีพันธ์ เอี่ยมสกุลรัตน์ ผู้เป็นพ่อ หลังจากซุ่มเงียบวางแผน ทยอยซื้อสะสมที่ดินและเงินทุน รวมทั้งเจรจากับพันธมิตรทั้งในไทยและต่างชาติมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ซึ่งเวลานี้ดูเหมือนช่วงจังหวะของชีวิตและธุรกิจกำลัง “คลิก” เข้ากัน เมื่อทายาทหนุ่มพร้อมกระโดดเข้าสู่สมรภูมิธุรกิจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เริ่มก่อสร้างและคาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2564 โดยมีแนวเส้นทางผ่านถนนรามอินทราตัดกับถนนเลียบทางด่วนและเกษตร-นวมินทร์ พร้อมๆ กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กำลังเร่งฟื้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-พระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ) คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างไม่เกินปี 2562 ที่ผ่านมากวีพันธ์มักย้ำกับสื่ออยู่เสมอว่า การลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ที่ใช้เงินลงทุนมหาศาลทำให้ เค.อี.กรุ๊ป

Read More

สงครามบ้านหรูแห่ชิงพื้นที่ “คริสตัล” ยึดจุดตัดรถไฟฟ้า

หลังจากซุ่มเงียบอยู่นานหลายปี ล่าสุด กลุ่ม เค.อี.กรุ๊ป ตัดสินใจเดินหน้ารุกสงครามบ้านหรู ทุ่มเม็ดเงิน 4,000 ล้านบาท ผุดโครงการบ้านระดับอัลตราลักชัวรี 6 ดาว “คริสตัล โซลานา” ยูนิตละ 60-300 ล้านบาท ตอบโต้คู่แข่ง “สิงห์ เอสเตท” ที่บุกถึงทำเลเจ้าถิ่นย่านเกษตร-นวมินทร์ เปิดตัวบ้านเดี่ยว สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนซ์ ราคาเริ่มต้นยูนิตละ 250 ล้านบาท มูลค่ารวมกว่า 6,500 ล้านบาท ที่สำคัญ เค.อี.กรุ๊ป ยังประกาศขอผูกขาดยึดตำแหน่งที่ 1 ในตลาดบ้านหรู โดยเตรียมเงินกว้านซื้อที่ดินในทุกทำเลสำคัญ ทั้งย่านสุขุมวิท สาทร เย็นอากาศ กรุงเทพกรีฑา และพัฒนาการ เพื่อก่อสร้างโครงการอย่างต่อเนื่องและเสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์ “คริสตัล” ก่อนเผยโฉมบิ๊กโปรเจกต์ มิกซ์ยูส มูลค่า 50,000 ล้านบาท บริเวณจุดตัดสี่แยกเกษตร-นวมินทร์กับถนนประดิษฐ์มนูธรรมอย่างเป็นทางการ ภายใน 3-5

Read More

ทุนไทยหนุน สปป.ลาว สู่เป้าหมาย เขื่อน-โรงไฟฟ้าคือคำตอบ?

หลายครั้งที่ตลาดอเมริกา ตลาดยุโรป เป็นตลาดสำคัญที่บ่งบอกทิศทางความเป็นไปทางเศรษฐกิจระดับมหภาค และนักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับตลาดเหล่านี้ ขณะที่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างตลาดอาเซียนกลับได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งจากเหตุผลที่ว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เมื่อปลายปี 2015 และการเพิ่งเปิดประเทศของกลุ่มนี้ นี่เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจในกลุ่ม CLMV เติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับจีนและอินเดีย ที่ตลาดนี้มีอัตราการเติบโตดีกว่า ทั้งเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นปีละเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ ความหอมหวนของตลาดนี้ส่งกลิ่นเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติ และแน่นอนว่ารวมนักลงทุนไทยด้วย ที่เบนเข็มพุ่งเป้า และกำหนดหมุดหมายใหม่ รวมไปถึงการแสวงหาประโยชน์ในตลาด CLMV โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่นับวันยิ่งน่าจับตามอง เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว ประกาศใช้แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนำพาประเทศให้พ้นจากการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด และจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ที่มีนโยบายเป็นพลังขับเคลื่อนให้ สปป.ลาว จำต้องพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว คำตอบที่เสมือนตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ คือ การเพิ่มศักยภาพของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก อันจะนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศ ภูมิประเทศที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และแม่น้ำสำคัญหลายสาย “พลังงานไฟฟ้า” จึงเป็นสินค้าส่งออกหลักของ สปป.ลาว พลังงานไฟฟ้าจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ปี 2020 ด้วยการเป็น “Battery of Asia”

Read More

เขื่อนแตกใน สปป.ลาว กับความมั่นคงพลังงานไทย?

ประเด็นว่าด้วยความมั่นคงด้านพลังงานของไทย หรือ energy security ดูจะเป็นกรณีที่ถูกท้าทายและตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินจำนวนมาก แต่อาจเทียบไม่ได้ต่อความเชื่อมั่นในการเปิดให้กลุ่มทุนพลังงานจากนานาประเทศเข้าแสวงประโยชน์บนแผ่นดินของ สปป.ลาว ในอนาคต ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ว่าด้วยการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ทำให้ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มทุนจากไทย โดยความร่วมมือกับกลุ่มหลากหลายสัญชาติ ต่างเข้าลงทุนในโครงการสร้างเขื่อนตามแนวลำน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเอิกเกริก ควบคู่กับโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะถ่านหินด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ตามแผนการพัฒนา สปป.ลาว ไปสู่การเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” สปป.ลาว มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 42 แห่งและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 53 แห่ง ซึ่งหากการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ ภายในปี 2563 สปป.ลาว จะมีจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมากถึง 90 แห่งและมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 26,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ประชากรจำนวน 7 ล้านคนของ สปป.ลาว มีความต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,579 เมกะวัตต์เท่านั้น เป้าหมายของโรงผลิตไฟฟ้าใน

Read More

Battery of Asia กับสิ่งที่ต้องแลกของ สปป.ลาว

เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกแก่ชาวลาวและผู้คนที่ติดตามข่าวสารไม่น้อย ทั้งภาพการหนีน้ำของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ภาพความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สิน ชาวลาวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมากถึง 11,700 คน และกว่า 6,000 คน ต้องอพยพจากบ้านเรือนไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน และสูญหายกว่า 130 คน โครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท SK Engineering & Construction ถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และรัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 24

Read More

อู้ พหลโยธิน ภารกิจแจ้งเกิดไลฟ์สไตล์คอนโด

“เกือบ 80% ของชาวมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ หรือ Experience Over Things ใช้ชีวิตผ่านเทรนด์ Sharing Economy มากกว่าการครอบครองทรัพย์สิน เป็นที่มาของการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะตอบโจทย์ความต้องการคนมิลเลนเนียลและเป็นที่มาของการสร้างสรรค์แบรนด์ไลฟ์สไตล์คอนโดมิเนียม ภายใต้แนวคิด Extend Your Style ที่เป็นมากกว่าโครงการที่พักอาศัย แต่เป็นแบรนด์เพื่อการใช้ชีวิตของชาวมิลเลนเนียล” นพปฎล พหลโยธิน หรือคุณอู้ ประธานบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงคอนเซ็ปต์ของไลฟ์สไตล์คอนโดมิเนียม XT Condominium ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ล่าสุดในเครือแสนสิริที่พุ่งเป้าหมายเจาะลูกค้าอายุ 20-35 ปี และกลุ่มคนทำงานในเมืองรุ่นใหม่ โดยมีโจทย์การตลาดที่แตกต่างจากทุกโครงการที่ผ่านมา ต้องถือว่า อู้ พหลโยธิน เป็นคนแรกที่เข้ามารับตำแหน่งประธานผู้บริหารฝ่ายสร้างสรรค์ที่จัดตั้งเป็นพิเศษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งนอกจากประเดิมแผนแจ้งเกิด XT แล้ว ดูเหมือนว่า บิ๊กบอส ทั้งเศรษฐา ทวีสิน และอภิชาต จูตระกูล พุ่งเป้าหมายสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการภาพลักษณ์ การพัฒนาและออกแบบโครงการ การสื่อสารการตลาดแบบสร้างสรรค์ โดยมีพาร์ตเนอร์ระดับโลก

Read More

อุษณา มหากิจศิริ ถึงคิวเร่งพอร์ตอสังหาฯ หมื่นล้าน

หลังจากใช้เวลาเรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ เกือบ 10 ปี อุษณา มหากิจศิริ ประกาศเดินหน้าโครงการเดอะเนสท์ เจาะตลาดคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง และลุยแผนลงทุนต่อยอดอีกจำนวนมาก เพื่อรุกขยายพอร์ตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์การสร้างอาณาจักร “พีเอ็มกรุ๊ป” จากรุ่นพ่อ “ประยุทธ มหากิจศิริ” สู่ทายาทรุ่นที่ 2 ที่วันนี้เปิดเกมรุกจับธุรกิจหลักของประเทศ ทั้งอุตสาหกรรม ขนส่ง ธุรกิจพลังงาน เหมืองถ่านหิน เรือเดินสมุทร ไปจนถึงธุรกิจอาหารที่ดึงเอาแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง “พิซซ่าฮัท” และ “คริสปี้ครีม” เข้ามาอยู่ในมือ อาจเป็นเพราะในบรรดาพี่น้อง 3 คน คือ อุษณีย์ เฉลิมชัย และอุษณา น้องสาวคนเล็ก “อุษณา” ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจอสังหาฯ กับพี่ชายมาตั้งแต่ต้น ทั้งสนามกอล์ฟเมาน์เท่นครีก กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ เรสซิเด้นซ์ สนามกอล์ฟ มาตรฐานระดับโลก ขนาด 27 หลุม บนเนื้อที่ 1,750 ไร่ ที่

Read More