Home > Cover Story (Page 96)

EEC ฝันที่ไกล แต่อาจไปไม่ถึง?

แม้ว่าสถานะของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor: EEC จะเป็นประหนึ่งโครงการธงนำในการผลักดันเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้หลั่งไหลเข้ามาสร้างงานสร้างเงินให้กับพื้นที่ 3 จังหวัด ทั้งฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ก่อนที่ผลของการพัฒนาจะแผ่ซ่านไปสู่กลไกและองคาพยพอื่นๆ ให้ได้ขับเคลื่อนอีกครั้ง หากประเมินในมิติที่ว่านี้ โครงการ EEC ก็คงมีสถานะไม่ต่างจากโอสถทิพย์ ที่รัฐบาล คสช. หวังว่าจะช่วยเยียวยาและบำรุงกำลังให้เศรษฐกิจไทยได้กลับฟื้นขึ้นมาลุกยืนอีกครั้ง หลังจากสูญเสียโอกาสไปมากมายทั้งจากวิกฤตการเมือง และความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารงานของกลไกรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ โครงการ EEC ที่รัฐไทยกำลังโหมประโคมในฐานะที่เป็นเครื่องมือสร้างความเติบโต (growth engine) ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่นี้ ในด้านหนึ่งเป็นเพียงการต่อยอดและส่วนขยายของโครงการ eastern seaboard ที่เคยหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยเมื่อครั้งอดีต จนเดินทางมาสู่ขีดจำกัดของศักยภาพที่มีจนทำให้ต้องขยายพื้นที่โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีเป็นการย่นย่อระยะเวลา อย่างไรก็ดี ความเป็นไปของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและการลงทุนใน EEC ได้ก่อให้เกิดความกังวลและความห่วงใยต่อทิศทางการพัฒนาในอนาคตของไทยไม่น้อยเลย โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติและกลุ่มทุนในประเทศ โดยละเลยการกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการขับเคลื่อนประเทศในระยะยาวบนฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยเอง รัฐบาลไทยพยายามผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรม New S-curve ด้วยหวังว่าจะเป็นกลไกในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นกับภาคการผลิตของไทย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่รัฐไทยมุ่งหมายจะให้เกิดและเติบโตขึ้นในพื้นที่

Read More

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

LIMEC เชื่อมไทย ลาว เมียนมา เสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคเหนือตอนล่าง

หาก EEC คือความหวังของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจและยกระดับพื้นที่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติแล้ว “LIMEC” หรือระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ก็อาจจะเป็นยุทธศาสตร์และความหวังในการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับภาคเหนือตอนล่างได้เช่นกัน ห้วงเวลาที่ผ่านมา ความพยายามของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสสังคม และสร้างความคึกคักในแวดวงนักธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ลงทุนอยู่ไม่น้อย EEC เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้วาทกรรม ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ให้กลายเป็น “World Class Economic Zone” เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งยังเป็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะใช้เป็นกลไกในการพลิกฟื้นสภาวะเศรษฐกิจของชาติต่อไป มีการคาดการณ์ว่า การลงทุนใน EEC จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ถึง 5% ต่อปี สร้างการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ 100,000 อัตราต่อปี ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี และสร้างฐานรายได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี นักลงทุนจากหลายประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่เป้าหมายแห่งนี้ หนึ่งในนั้นคือยักษ์ใหญ่แห่งวงการ

Read More

เค.อี.กรุ๊ป ดันมิกซ์ยูส 5 หมื่นล้าน ปลุกซีบีดี “เกษตร-นวมินทร์”

เค.อี.กรุ๊ป แลนด์ลอร์ดยักษ์ใหญ่ย่านเกษตร-นวมินทร์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม ออกมาปลุกแผนก่อสร้างโครงการมิกซ์ยูส เมกะโปรเจกต์ มูลค่า 50,000 ล้านบาทอีกครั้ง พร้อมประกาศยืนยันจะลงเสาเข็มทันทีที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทามีความชัดเจน หลังรอมายาวนานกว่า 9 ปีแล้ว ทั้งนี้ จากกระแสข่าวล่าสุด บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ตกลงฟื้นฟูโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาขึ้นมาใหม่ ขณะที่กระทรวงคมนาคมสั่งเร่งรัดโครงการ โดยให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รีบดำเนินการแทนการรับบริหารงานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งแนวเส้นทางจะเชื่อมต่อพื้นที่จากถนนรามอินทราเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจ ทั้งย่านทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ถนนพระราม 4 ถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 ไปสิ้นสุดบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เขตบางเขน ลาดพร้าว บึงกุ่ม วังทองหลาง ห้วยขวาง วัฒนา คลองเตย ยานนาวา บางคอแหลม ธนบุรี และบางกอกใหญ่ ศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เค.อี.กรุ๊ป กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาจะเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนจากเขตชานเมืองเข้าและออกเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้พื้นที่ย่านเกษตร-นวมินทร์ รวมถึงถนนประดิษฐ์มนูธรรมยาวถึงถนนรามอินทรามีศักยภาพเพิ่มขึ้นทันทีอีกหลายเท่า ซึ่งที่ดินบนถนนประดิษฐ์มนูธรรมถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพ ทั้งในแง่กลุ่มเป้าหมายระดับ

Read More

กวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ เค.อี.กรุ๊ปรุ่น 2 รุกสมรภูมิเดือด

1 สิงหาคม 2561 ศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เค.อี.กรุ๊ป ถือฤกษ์ดีเผยโฉมโครงการบ้านเดี่ยวอัลตราลักชัวรีระดับ 6 ดาว “คริสตัล โซลานา” ที่ประกาศยืนยันความหรูหราที่สุดในเมืองไทย มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท และมากกว่านั้น คือการเปิดตัวผู้บริหารหนุ่ม ทายาทคนโต กวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการ ที่จะเข้ามาลุยแผนงานใหญ่ พลิกจุดเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจแบบ “Aggressive” มากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งภารกิจสานต่อยุทธศาสตร์การขยายอาณาจักรสร้าง “เมือง” ของกวีพันธ์ เอี่ยมสกุลรัตน์ ผู้เป็นพ่อ หลังจากซุ่มเงียบวางแผน ทยอยซื้อสะสมที่ดินและเงินทุน รวมทั้งเจรจากับพันธมิตรทั้งในไทยและต่างชาติมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ซึ่งเวลานี้ดูเหมือนช่วงจังหวะของชีวิตและธุรกิจกำลัง “คลิก” เข้ากัน เมื่อทายาทหนุ่มพร้อมกระโดดเข้าสู่สมรภูมิธุรกิจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เริ่มก่อสร้างและคาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2564 โดยมีแนวเส้นทางผ่านถนนรามอินทราตัดกับถนนเลียบทางด่วนและเกษตร-นวมินทร์ พร้อมๆ กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กำลังเร่งฟื้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-พระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ) คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างไม่เกินปี 2562 ที่ผ่านมากวีพันธ์มักย้ำกับสื่ออยู่เสมอว่า การลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ที่ใช้เงินลงทุนมหาศาลทำให้ เค.อี.กรุ๊ป

Read More

สงครามบ้านหรูแห่ชิงพื้นที่ “คริสตัล” ยึดจุดตัดรถไฟฟ้า

หลังจากซุ่มเงียบอยู่นานหลายปี ล่าสุด กลุ่ม เค.อี.กรุ๊ป ตัดสินใจเดินหน้ารุกสงครามบ้านหรู ทุ่มเม็ดเงิน 4,000 ล้านบาท ผุดโครงการบ้านระดับอัลตราลักชัวรี 6 ดาว “คริสตัล โซลานา” ยูนิตละ 60-300 ล้านบาท ตอบโต้คู่แข่ง “สิงห์ เอสเตท” ที่บุกถึงทำเลเจ้าถิ่นย่านเกษตร-นวมินทร์ เปิดตัวบ้านเดี่ยว สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนซ์ ราคาเริ่มต้นยูนิตละ 250 ล้านบาท มูลค่ารวมกว่า 6,500 ล้านบาท ที่สำคัญ เค.อี.กรุ๊ป ยังประกาศขอผูกขาดยึดตำแหน่งที่ 1 ในตลาดบ้านหรู โดยเตรียมเงินกว้านซื้อที่ดินในทุกทำเลสำคัญ ทั้งย่านสุขุมวิท สาทร เย็นอากาศ กรุงเทพกรีฑา และพัฒนาการ เพื่อก่อสร้างโครงการอย่างต่อเนื่องและเสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์ “คริสตัล” ก่อนเผยโฉมบิ๊กโปรเจกต์ มิกซ์ยูส มูลค่า 50,000 ล้านบาท บริเวณจุดตัดสี่แยกเกษตร-นวมินทร์กับถนนประดิษฐ์มนูธรรมอย่างเป็นทางการ ภายใน 3-5

Read More

ทุนไทยหนุน สปป.ลาว สู่เป้าหมาย เขื่อน-โรงไฟฟ้าคือคำตอบ?

หลายครั้งที่ตลาดอเมริกา ตลาดยุโรป เป็นตลาดสำคัญที่บ่งบอกทิศทางความเป็นไปทางเศรษฐกิจระดับมหภาค และนักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับตลาดเหล่านี้ ขณะที่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างตลาดอาเซียนกลับได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งจากเหตุผลที่ว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เมื่อปลายปี 2015 และการเพิ่งเปิดประเทศของกลุ่มนี้ นี่เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจในกลุ่ม CLMV เติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับจีนและอินเดีย ที่ตลาดนี้มีอัตราการเติบโตดีกว่า ทั้งเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นปีละเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ ความหอมหวนของตลาดนี้ส่งกลิ่นเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติ และแน่นอนว่ารวมนักลงทุนไทยด้วย ที่เบนเข็มพุ่งเป้า และกำหนดหมุดหมายใหม่ รวมไปถึงการแสวงหาประโยชน์ในตลาด CLMV โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่นับวันยิ่งน่าจับตามอง เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว ประกาศใช้แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนำพาประเทศให้พ้นจากการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด และจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ที่มีนโยบายเป็นพลังขับเคลื่อนให้ สปป.ลาว จำต้องพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว คำตอบที่เสมือนตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ คือ การเพิ่มศักยภาพของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก อันจะนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศ ภูมิประเทศที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และแม่น้ำสำคัญหลายสาย “พลังงานไฟฟ้า” จึงเป็นสินค้าส่งออกหลักของ สปป.ลาว พลังงานไฟฟ้าจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ปี 2020 ด้วยการเป็น “Battery of Asia”

Read More

เขื่อนแตกใน สปป.ลาว กับความมั่นคงพลังงานไทย?

ประเด็นว่าด้วยความมั่นคงด้านพลังงานของไทย หรือ energy security ดูจะเป็นกรณีที่ถูกท้าทายและตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินจำนวนมาก แต่อาจเทียบไม่ได้ต่อความเชื่อมั่นในการเปิดให้กลุ่มทุนพลังงานจากนานาประเทศเข้าแสวงประโยชน์บนแผ่นดินของ สปป.ลาว ในอนาคต ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ว่าด้วยการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ทำให้ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มทุนจากไทย โดยความร่วมมือกับกลุ่มหลากหลายสัญชาติ ต่างเข้าลงทุนในโครงการสร้างเขื่อนตามแนวลำน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเอิกเกริก ควบคู่กับโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะถ่านหินด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ตามแผนการพัฒนา สปป.ลาว ไปสู่การเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” สปป.ลาว มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 42 แห่งและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 53 แห่ง ซึ่งหากการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ ภายในปี 2563 สปป.ลาว จะมีจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมากถึง 90 แห่งและมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 26,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ประชากรจำนวน 7 ล้านคนของ สปป.ลาว มีความต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,579 เมกะวัตต์เท่านั้น เป้าหมายของโรงผลิตไฟฟ้าใน

Read More

Battery of Asia กับสิ่งที่ต้องแลกของ สปป.ลาว

เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกแก่ชาวลาวและผู้คนที่ติดตามข่าวสารไม่น้อย ทั้งภาพการหนีน้ำของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ภาพความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สิน ชาวลาวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมากถึง 11,700 คน และกว่า 6,000 คน ต้องอพยพจากบ้านเรือนไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน และสูญหายกว่า 130 คน โครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท SK Engineering & Construction ถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และรัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 24

Read More

อู้ พหลโยธิน ภารกิจแจ้งเกิดไลฟ์สไตล์คอนโด

“เกือบ 80% ของชาวมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ หรือ Experience Over Things ใช้ชีวิตผ่านเทรนด์ Sharing Economy มากกว่าการครอบครองทรัพย์สิน เป็นที่มาของการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะตอบโจทย์ความต้องการคนมิลเลนเนียลและเป็นที่มาของการสร้างสรรค์แบรนด์ไลฟ์สไตล์คอนโดมิเนียม ภายใต้แนวคิด Extend Your Style ที่เป็นมากกว่าโครงการที่พักอาศัย แต่เป็นแบรนด์เพื่อการใช้ชีวิตของชาวมิลเลนเนียล” นพปฎล พหลโยธิน หรือคุณอู้ ประธานบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงคอนเซ็ปต์ของไลฟ์สไตล์คอนโดมิเนียม XT Condominium ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ล่าสุดในเครือแสนสิริที่พุ่งเป้าหมายเจาะลูกค้าอายุ 20-35 ปี และกลุ่มคนทำงานในเมืองรุ่นใหม่ โดยมีโจทย์การตลาดที่แตกต่างจากทุกโครงการที่ผ่านมา ต้องถือว่า อู้ พหลโยธิน เป็นคนแรกที่เข้ามารับตำแหน่งประธานผู้บริหารฝ่ายสร้างสรรค์ที่จัดตั้งเป็นพิเศษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งนอกจากประเดิมแผนแจ้งเกิด XT แล้ว ดูเหมือนว่า บิ๊กบอส ทั้งเศรษฐา ทวีสิน และอภิชาต จูตระกูล พุ่งเป้าหมายสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการภาพลักษณ์ การพัฒนาและออกแบบโครงการ การสื่อสารการตลาดแบบสร้างสรรค์ โดยมีพาร์ตเนอร์ระดับโลก

Read More