Home > Cover Story (Page 88)

เกมจัดฉากประมูลดิวตี้ฟรี ปรับเงื่อนไขลดกระแสต้าน

แม้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ยอมปรับเงื่อนไขการเปิดประมูลดิวตี้ฟรี หลังเจอกระแสต่อต้านรูปแบบสัญญาผูกขาดสัมปทานยาวนานนับสิบปี ถูกตั้งคำถามถึงการเอื้อประโยชน์และเปิดช่องโหว่ให้ยักษ์เอกชนบางรายกอบโกยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ดูเหมือนว่า การจับตาจากทั้งกลุ่มองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กลุ่มนักวิชาการสถาบันทีดีอาร์ไอ และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังไม่จบ เพราะมีประเด็นน่าสงสัยต้องติดตามอีกหลายข้อ ที่สำคัญระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลมากมาย ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจเปรียบเทียบกับสนามบินชั้นนำในต่างประเทศถูกสะท้อนสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แต่ ทอท. ยืนกรานจะเลือกใช้โมเดลเปิดประมูลแบบสัญญาเดียว และรวบสัญญาดิวตี้ฟรีท่าอากาศยานทั้ง 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ เป็นสัญญาเดียว กระทั่งวันที่ 15 มีนาคม 2562 จะด้วยเหตุผลจากสถานการณ์การเมืองใกล้เลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องออกมาสั่งการให้คณะกรรมการ ทอท. และผู้บริหาร ทอท. พิจารณาทบทวนแนวทางการประมูล โดยคำนึงถึงข้อท้วงติงของสังคมและประโยชน์ที่ ทอท. และประเทศชาติจะได้รับอย่างรอบด้าน ต่อมา วันที่ 28 มีนาคม 2562

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน ภัยร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่กำลังไต่ระดับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) กำลังสะท้อนความเปราะบางทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติอย่างยากจะปฏิเสธ และเป็นเหตุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลต่อสัญญาณลบที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ข้อมูลตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากแนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 77.7 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2561 มาสู่ที่ระดับร้อยละ 77.8 เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 โดยอัตราหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 78.6 เมื่อสิ้นปี 2561 และมียอดคงค้าง 12.8 ล้านล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ในปี 2562 คาดว่าหนี้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 79.5 อีกด้วย ภาระหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภาระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิตและการขยายธุรกิจ ซึ่งในระยะนับจากนี้หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เมื่อพิจารณาจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่ภาครัฐส่งเสริมให้การกู้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกรณีที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต้องมีการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่สร้างมูลค่า มีสินทรัพย์ หรือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ประเด็นที่น่าสนใจของการเปลี่ยนหนี้จากนอกระบบเข้ามาในระบบอยู่ที่แม้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อรับบริการทางการเงินและสินเชื่อซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสามารถลดภาระดอกเบี้ยจากสินเชื่อนอกระบบที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในระบบมาก โดยในปัจจุบันสินเชื่อในระบบคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับการบริการสินเชื่อบุคคล และร้อยละ 36 ต่อปีสำหรับนาโนไฟแนนซ์ ขณะเดียวกันการเข้าถึงสินเชื่อในระบบที่สามารถทำได้สะดวกขึ้น จากการใช้ข้อมูลต่างๆ เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ให้สินเชื่อ นอกเหนือจากการใช้เพียงรายการเดินบัญชีของธนาคารเท่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับจักรยานยนต์รับจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำมาเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการก่อหนี้ที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ต่ำ ขณะที่การออมก็ได้รับผลตอบแทนต่ำจึงไม่จูงใจให้เกิดการออม

Read More

โอกาสไทยที่เสียไป กับรัฐบาลใหม่ที่มาช้า

ความเปราะบางทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ดูจะเพิ่มระดับความน่ากังวลและเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจนแน่นอน โดยตลอด 2 สัปดาห์แห่งความคลุมเครือว่าด้วยผลการเลือกตั้งและวิธีการคิดคำนวณสัดส่วนสมาชิกแบบปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคพึงมี ได้ฉุดให้ความพยายามในการจับขั้วทางการเมืองเพื่อเริ่มกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปได้อย่างยากลำบากยิ่งขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความเลื่อนไหลคลุมเครือ นอกจากจะนำพาให้เกิดความกังวลใจในหมู่ประชาชนคนไทยที่ได้ออกไปใช้สิทธิออกเสียงตามกระบวนการประชาธิปไตยที่ห่างหายไปนานกว่า 8 ปีแล้ว ในอีกด้านหนึ่งกำลังสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่มุ่งหมายที่จะเห็นประเทศไทยกลับเข้าสู่หนทางการเมืองแบบประชาธิปไตยพร้อมกับรัฐบาลชุดใหม่ที่มีเสถียรภาพและได้รับการยอมรับจากทั้งประชาชนในประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติอีกครั้ง แต่ความคาดหวังเช่นที่ว่านี้ นอกจากจะยังไม่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาแล้ว สถานการณ์ในห้วงเวลานี้ ดูจะยิ่งผลักให้อยู่ไกลออกไปจากการจับต้องและรับรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งดูเหมือนว่าภายใต้กรอบเวลาที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ความชัดเจนว่าด้วยรัฐบาลชุดใหม่จากผลของการเลือกตั้งจะเกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลใหม่จะเกิดมีขึ้นได้เมื่อผ่านไตรมาสที่ 2 หรือเมื่อผ่านครึ่งปีไปแล้วเท่านั้น ความคลุมเครือในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น หากแต่ยังดำเนินไปท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ว่าพรรคการเมืองที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในแต่ละขั้วการเมืองมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจส่งผลกับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และอาจนำไปสู่ปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลในช่วงเวลาจากนี้ได้ไม่ยาก ประเด็นว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้รับการประเมินว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาออกกฎหมาย และผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม นอกจากจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มาตรการของรัฐบาลใหม่ที่อาจเป็นการสลับร่างจากผู้กุมอำนาจชุดเดิมจะดำเนินไปภายใต้มาตรการเฉพาะหน้าที่ได้เคยสัญญาไว้ในรูปของการแจกแถม แต่ไม่ได้เน้นเรื่องการปรับแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในมิติของการลดความเหลื่อมล้ำ ลดการผูกขาด หรือแม้แต่การปฏิรูปภาษี ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวภายใต้กรอบที่ไม่ต่างจากเดิมที่ผ่านมา โดยที่สังคมด้านล่างได้รับอานิสงส์อย่างเบาบางเช่นเดิม ระยะเวลาที่ทอดยาวเนิ่นนานออกไปดังกล่าว ทำให้ความเป็นไปทางเศรษฐกิจของไทยดูจะต้องยอมรับสภาพชะงักงันไปตลอดทั้งปี 2562 โดยปริยาย และทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมใจกันปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ลงมา โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีในปีหมูจะมีอัตราการเติบโตเหลือเพียงร้อยละ 3.8 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในช่วงก่อนหน้านี้ การปรับลดประมาณการดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะยังมีความคลุมเครือในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล

Read More

EEC เนื้อหอม ญี่ปุ่น-จีน แห่ลงทุน

ในห้วงยามที่ไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการรอคอยรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งประชาชนที่คาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ภาคเอกชนที่หวังให้การขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปด้วยอัตราเร่งเดิมหรือดีกว่าปัจจุบัน และแน่นอนว่า ความคาดหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่เฉพาะคนไทยเท่านั้น เมื่อนักลงทุนและหอการค้าต่างชาติ ส่งสัญญาณให้ภาครัฐของไทยรับรู้ว่า ต้องการเห็นความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และที่สุดคือนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ที่สร้างให้เกิดความต่อเนื่องในการลงทุน ปัจจุบันไทยถูกจับตามองจากนักลงทุนในฐานะที่เป็นประเทศน่าลงทุน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เมื่อรัฐบาลปัจจุบันพยายามเร่งเครื่องเดินหน้าปลุกปั้นพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยให้เป็นหมุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แม้ว่าขณะนี้โครงการ EEC จะยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทว่าการโรดโชว์ของภาครัฐ ที่ออกไปนำเสนอพื้นที่ EEC ให้ต่างชาติได้รับทราบข้อมูลความคืบหน้าและความเป็นไปของโครงการ โดยคาดหวังว่าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอีกหนึ่งแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทะยานไปข้างหน้าหลังจากที่หยุดนิ่งอยู่กับที่และเหมือนจะถอยหลังอยู่ในที และดูเหมือนว่าความพยายามในการผลักดันและโปรโมตโครงการ EEC จะสัมฤทธิผล เมื่อกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2561 ตัวเลขการลงทุนอันดับ 1 คือนักลงทุนจากญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 100,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 46 ของการลงทุนในพื้นที่ EEC ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจำนวน 334 โครงการ หรือร้อยละ 32 ของโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม หรือไฮบริด เครื่องปรับอากาศ

Read More

โซลาร์เซลล์ครัวเรือน แสงสะท้อนความตื่นตัวของภาครัฐ

ในที่สุดนโยบายพลังงานทดแทนของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีความชัดเจนขึ้น เมื่อกระทรวงพลังงานจัดทำกรอบนโยบายโครงการโซลาร์ภาคประชาชนเสร็จสิ้นเมื่อปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังออกข้อกำหนดกฎระเบียบเพื่อออกเป็นประกาศสำหรับการซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาคครัวเรือนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” นำร่อง 100 เมกะวัตต์แรกที่เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าร่วมโครงการ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะรับซื้อในส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบในราคาไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย ซึ่งมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจลงทะเบียนและรับข้อเสนอในเดือนพฤษภาคม 2562 การเปิดตัวโครงการของกระทรวงพลังงานน่าจะทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักและเห็นคุณค่าของพลังงานทางเลือกและดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาบ้านของตัวเองยิ้มออก เมื่อโครงการดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาครัฐต่อนโยบายพลังงานทดแทน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ท่าทีของกระทรวงพลังงานสร้างความไม่พอใจให้แก่นักลงทุนไม่น้อย เมื่อภาครัฐกลับลำให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วงเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2562-2565) โดยมีเหตุผลว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ซึ่งดูจะสวนทางกับความพยายามที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ความไม่พอใจของนักลงทุนที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากก่อนหน้านี้มีการออกนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ที่ภาครัฐเคยประกาศใช้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล นั่นทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาลงทุนกับโครงการพลังงานทางเลือก ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ แต่ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวและใช้คำว่า “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” เพื่อปลอบใจตัวเอง ทั้งนี้ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการโซลาร์ภาคประชาชนว่า

Read More

ภาระหนักรัฐบาลใหม่ ผลักดันอนาคตเศรษฐกิจไทย

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไป 2562 จะผ่านพ้นไปแล้ว และได้เห็นเค้าลางของผู้ชนะผู้แพ้ในสนามเลือกตั้งกันไปพอสมควร หากแต่ทิศทางการเมืองไทยและโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศกลับตกอยู่ในภาวะคลุมเครือ และยากที่จะสรุปอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งอาจเนิ่นนานไปตามกำหนดเวลาของการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่คาดว่าจะมีขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมไปแล้ว ความคาดหวังของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจเอกชนว่าด้วยความเชื่อมั่นและแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผูกโยงอยู่กับทัศนะเชิงบวกและการกระตุ้นปลอบเร้า ด้วยหวังว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถเร่งระดมปลุกปั้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาฟื้นคืนและแข็งแกร่งอีกครั้ง ดูจะอ่อนแรงลงไปอย่างช้าๆ เมื่อประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า ความชัดเจนและระยะเวลาของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทอดยาวออกไปกำลังก่อให้เกิด “ภาวะเสียโอกาสซ้ำซาก” ที่อาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปจนถึงสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 และอาจต่อเนื่องไปสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีเลยทีเดียว บรรยากาศแห่งความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ปกคลุมอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน กลายเป็นปัจจัยที่พร้อมจะแช่แข็งเศรษฐกิจไทยไปโดยปริยาย แม้ว่าในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนไทยก่อนหน้านี้จะพบว่าประชาชนในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 63.64 แสดงความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้ง เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.27 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะยังดำเนินอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เหมือนเดิม โดยมีอีกร้อยละ 4.09 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ในช่วงก่อนมีการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 45.73 ประเมินว่าไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้อย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีประชาชนบางส่วนชื่นชอบแนวนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคการเมืองในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยตระหนักว่าปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ไขได้โดยง่าย ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ที่ผลักให้รัฐบาลชุดใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค การนำนโยบายเศรษฐกิจที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคนำเสนอในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมาผนวกผสานเพื่อสร้างให้เป็นกรอบโครงนโยบายสาธารณะของรัฐบาล ดูจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนจะคาดหวังได้ ความเป็นไปทางการเมืองที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการช่วงชิงบทบาทนำในการเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น ท่ามกลางการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ทั้งในมิติของอำนาจและตำแหน่งแห่งที่ในคณะรัฐบาลที่กำลังจะเกิดมีขึ้นในอนาคต ยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางทางการเมืองของไทยที่ทำให้การผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจสังคมนับจากนี้ ถูกผูกโยงเข้ากับวิถีของการแบ่งปันผลประโยชน์ของผู้มีบทบาททางการเมืองแต่ละส่วน มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการประสานข้อเด่น-ด้อยของนโยบายที่แต่ละฝ่ายมี มาสกัดและสังเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในทางสาธารณะสำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสังคมไทยอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกภาครัฐพยายามที่จะบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น โดยล่าสุดได้นำเสนอตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยรวมทั้งปี 2561 ว่าขยายตัวร้อยละ

Read More

เอกชนหวังรัฐบาลใหม่ สร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย

หลังการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในรอบ 8 ปีของไทยผ่านพ้นไปไม่กี่วัน ดูเหมือนสถานการณ์การเมืองไทยที่มักจะถูกยึดโยงไว้กับความมั่นคงด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค จุลภาค อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน ด้วยว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะสร้างความมั่นใจจนไปถึงสามารถกระตุ้นสัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยได้ หลายฝ่ายเรียกร้องให้ไทยมีการเลือกตั้งในเร็ววัน ด้วยหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะสามารถเปลี่ยนหน้าเศรษฐกิจได้ คงไม่ต่างอะไรกับนักพนันที่วาดฝันว่าไพ่ในมือของตนจะเปลี่ยนแต้มในยามเข้าตาจนให้สร้างความได้เปรียบมากขึ้น แม้บางส่วนจะเห็นต่างว่า รัฐบาลทหารมีข้อดีอยู่บ้าง นั่นคือความสงบภายใต้กฎหมายข้อบังคับที่ถูกประกาศใช้ ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ความสงบที่ฉาบไล้อยู่เบื้องหน้านั้น กลับซ่อนเร้นคลื่นใต้น้ำที่รอวันกระเพื่อม และถึงวันนี้ผลการเลือกตั้งที่ถูกเปิดเผยออกมาเกือบครบร้อยเปอร์เซ็นต์ หลายพรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง กำลังพยายามอย่างหนักที่จะจับขั้วการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แน่นอนว่าถึงเวลานี้ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นไปในรูปแบบใด เพราะความเป็นไปได้มีทั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก รัฐบาลผสมเสียงข้างน้อย หรือท้ายที่สุดจบที่รัฐบาลเฉพาะกาล แต่ถึงแม้จะยังไม่มีความแน่นอนในสถานการณ์การเมือง ทว่า ภาคเอกชนกลับแสดงความคิดความเห็น ที่เต็มไปด้วยความคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นน่าจะนำพาให้เศรษฐกิจไทยดำเนินไปข้างหน้าได้ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองว่า “การเลือกตั้งอาจได้รัฐบาลผสม ซึ่งทำให้เกิดการยุบสภาบ่อยครั้ง แต่หากรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เศรษฐกิจน่าจะขับเคลื่อนไปได้ แต่อาจไม่ใช่ทิศทางที่สูงมาก การเติบโตของประเทศในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ จะขยายตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียง 4 เปอร์เซ็นต์ น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ” หากดูตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในห้วงยามที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศด้วยทัศนคติที่เป็นกลาง ต้องยอมรับว่าความสงบที่เกิดขึ้นภายในบ้านเมืองทำให้ไทยก้าวห่างจาก “คนป่วยแห่งเอเชีย” และทำให้ GDP

Read More

ซีพีรุกขยายพอร์ตพรีเมียม ถึงคิวลุยบุฟเฟ่ต์หรูหัวละพัน

เพียงเดือนเศษๆ หลังเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ฤกษ์เผยโฉมภัตตาคารฮาร์เบอร์ (Harbour) สาขาแรกในประเทศไทย โดยนับเป็นสาขาที่ 10 ของโลก ในอภิมหาโครงการไอคอนสยาม เพื่อเปิดแนวรบใหม่ เจาะตลาดบุฟเฟต์อินเตอร์ระดับพรีเมียม ดูเหมือนว่าเกมธุรกิจทั้งหมดกำลังเดินตามแผนขยายหน้าร้านเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกเซกเมนต์และทุกระดับรายได้ ชนิดทะลุเป้าหมาย ที่สำคัญ แบรนด์ “ฮาร์เบอร์” ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ซีพีต้องการชิมลางขยายฐานลูกค้ากลุ่มกระเป๋าหนักๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติ ตามราคาบุฟเฟต์ที่กำหนดเรตเริ่มต้นคนละ 799++ ในมื้อกลางวัน และมื้อเย็นคิดราคา 899 ++ บาทต่อคน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ 1,099++ บาทต่อคน ในพื้นที่ร่วม 2,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับลูกค้ารอบละ 450 ที่นั่ง หรือราว 1,000 ที่นั่งต่อวัน และถือเป็นภัตตาคารบุฟเฟต์ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แน่นอนว่า หากภัตตาคารฮาร์เบอร์ ซึ่งถือเป็นร้านอาหารแบรนด์แรกที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดตัวภายใต้แผนร่วมทุนกับไห่หลายกรุ๊ปไต้หวัน สามารถเจาะตลาดอย่างฉลุย นั่นย่อมหมายถึงการเดินหน้ารุกตลาดพรีเมียม

Read More

ฟู้ดเชนยึดสมรภูมิใหม่ เจาะแฟรนไชส์ 2.3 แสนล้าน

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (ซีอาร์จี) ออกมาเปิดกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ตั้งเป้า Transform from Operator to Innovator ขยายโหมดจากผู้รับสิทธิ์บริหารแฟรนไชส์ หรือ “แฟรนไชซี” สู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์แบรนด์ร้านอาหารยักษ์ใหญ่ เพื่อเร่งปูพรมขยายสาขาทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นช่วงจังหวะแต่งตัวขยายพอร์ตธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมส่งออกทุกๆ แบรนด์ในเครือ เจาะตลาดอาเซียน หลังจากซุ่มศึกษาข้อมูลมานานหลายปี ในเวลาเดียวกัน ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยยังมีความต้องการสูงมาก หลายคนต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เปรียบเทียบจากปี 2560 ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และมีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 2 แสนล้านบาท ปี 2561 มูลค่าเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2.2-2.3 แสนล้านบาท มีผู้สนใจขอข้อมูลแฟรนไชส์ 15,000-20,000 รายต่อปี และเป็นธุรกิจอาหารสัดส่วนมากสุดเกือบ 23% โดยตลาดมีอัตราเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า

Read More

CRG ทรานส์ฟอร์มชิงธงรบ ดัน “อร่อยดี” เจาะสตรีทฟู้ด

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ออกมาประกาศเดินหน้ารุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่มีเม็ดเงินมากกว่า 410,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ Let’s Make The Jump โดยปีนี้กำหนดกลยุทธ์สำคัญ Transform from Operator to Innovator ไม่ใช่แค่การเป็น “แฟรนไชซี” แบรนด์อิมพอร์ตยักษ์ใหญ่ แต่พลิกบทบาทเข้าสู่โหมดการลุยธุรกิจแบบเต็มสูบ โดยเฉพาะแผนสร้างแบรนด์รุกเซกเมนต์ใหม่ๆ เปิดศึกหลายแนวรบ ทั้งสตรีทฟู้ด แฟรนไชส์และศึกเดลิเวอรี่ที่กำลังร้อนเดือดขีดสุด ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ “ซีอาร์จี” ระบุว่า ปี 2562 จะเป็นปีที่บริษัทรุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อาจดูชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตดีอยู่ ที่สำคัญคู่แข่งในกลุ่มฟู้ดเชนรายใหญ่กระโดดลงแข่งขันเจาะตลาดแมสมากขึ้น เพราะสถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง “ในอดีต ผู้คนต้องตามล่าหาอาหาร แต่ทุกวันนี้ ร้านอาหารต้องตามล่าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบบวกกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเลือกสรรอาหารที่มีคุณภาพ โดนๆ มากกว่าการคำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว ลูกค้าคนรุ่นใหม่บางคนอาจยอมเสียค่าบริการส่งสินค้าเพื่อสั่งชานมไข่มุก 1 แก้ว เหตุผลเดียว

Read More