Home > Cover Story (Page 87)

แกร็บ รุกทริปแพลนเนอร์ “ซูเปอร์แอป” รับ “สมาร์ทซิตี้”

“แกร็บ (Grab)” ประกาศเร่งสปีดเดินหน้าแผน “ซูเปอร์แอป” รับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่จากยุคออฟไลน์สู่ “ออนไลน์” เต็มรูปแบบ เป้าหมายไม่ใช่แค่การเป็นแอปพลิเคชันที่เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน ทั้งบริการเดินทาง บริการรับส่งอาหาร บริการขนส่ง บริการชำระเงินผ่านบัตร และบริการทางการเงินเท่านั้น แต่ต้องการเป็น “เบอร์ 1” ในทุกบริการ และปี 2562 ต้องเติบโตอย่างน้อย 1 เท่าจากปีก่อน ตามข้อมูลของแกร็บคุยไว้ว่า ปี 2561 แกร็บมีปริมาณธุรกรรมด้านส่งคน 100,000 เที่ยวต่อวัน ส่งอาหารกว่า 3 ล้านออร์เดอร์ ยอดส่งสินค้าเติบโตขึ้น 2 เท่า และเพียงไม่กี่เดือนในปี 2562 มียอดผู้โดยสารกว่า 200,000 เที่ยวต่อวัน และมียอดการจัดส่งอาหารกว่า 4 ล้านออร์เดอร์ ล่าสุด หลังจาก แกร็บ ประเทศไทย จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงพหุภาคีพันธมิตรเมืองอัจฉริยะ (Smart City Alliance)

Read More

J&T Express ลุยศึกท้าชนยักษ์

ประมาณเดือนมิถุนายนนี้ แบรนด์ธุรกิจส่งด่วนน้องใหม่ J&T Express เตรียมแถลงข่าวเปิดตัวธุรกิจในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากใช้เวลากว่า 1 ปี ซุ่มศึกษาพื้นที่และตะลุยขยายสาขาชนิดปูพรมทั่วเมือง พร้อมกับดึงซูเปอร์สตาร์ชื่อดังอย่าง “มาริโอ้ เมาเร่อ” นั่งแท่น “Brand Ambassador” คนแรก เพื่อปลุกกระแสการรับรู้ครั้งใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายท้าชนยักษ์คู่แข่ง ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ หวังเป็นบริษัทขนส่งพัสดุด่วนที่เน้นให้บริการธุรกิจอีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุด J&T Express ประเทศไทย ผุดสาขาทั้งหมดกว่า 300 สาขา ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย และในปี 2562 ตั้งเป้าจะเปิดร้านสาขาเพิ่มขึ้นอีก 100 สาขา โดยดำเนินธุรกิจในรูปแบบการลงทุนเองครึ่งหนึ่งและร้านแฟรนไชส์อีกครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้เล่นใหม่ต้องเจอสมรภูมิการแข่งขัน โดยเฉพาะตลาดการจัดส่งพัสดุด่วนประเภทถึงมือผู้รับภายใน 1-2 วัน หรือขนส่งด่วน (Express) ที่ปัจจุบันมีมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 30,000 ล้านบาท อัตราเติบโตปีละ 15-20% และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้คนรุ่นใหม่ พฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าของผู้บริโภค และการเติบโตก้าวกระโดดของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ

Read More

เคอรี่-ไปรษณีย์ไทย ปูพรมพรึ่บ สกัดหน้าใหม่

สงครามธุรกิจโลจิสติกส์ บริการส่งพัสดุแบบด่วนหรือ “Express” ร้อนเดือดขึ้นหลายเท่า เพราะหลังจากกลุ่ม “อาลีบาบา” ของมหาเศรษฐีระดับโลก “แจ็ค หม่า” ทุ่มทุนดัน “Best Express - Flash Express” 2 แบรนด์ธุรกิจขนส่งสินค้าเข้ามาเจาะตลาดโลจิสติกส์ในไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ล่าสุด น้องใหม่ J&T Express จากประเทศจีน เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ พร้อมๆ กับการเร่งปูพรมสาขาทั่วเมือง ที่สำคัญ หลายทำเลกลายเป็นสมรภูมิช้างชนช้าง ชนิดคูหาติดคูหา ร้านชนร้าน จนทำให้ทั้งไปรษณีย์ไทยและเคอรี่เอ็กซ์เพรส ต้องเร่งปูพรมสาขาสกัดคู่แข่งหน้าใหม่อย่างเร่งด่วน ไม่นับการชูจุดแข็งด้านบริการทุกรูปแบบ เหตุผลสำคัญมาจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดขนส่งสินค้าและพัสดุที่พุ่งพรวดต่อเนื่องตามธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตก้าวกระโดด โดยข้อมูลการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA คาดการณ์มูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ชของประเทศไทยในปี 2562 จะพุ่งสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท หรือเติบโต 12-13% จากปี 2561 ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 3.15 ล้านล้านบาท และปี 2560

Read More

DoiSter Craftstay แบรนดิ้งแบบชาวดอย เสริมความแกร่งให้การท่องเที่ยวชุมชน

การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างแสวงหาวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่รีบเร่ง เพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) หรือโฮมสเตย์ (Home Stay) ซึ่งเป็นการเดินทางท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เน้นความเรียบง่ายและไม่รีบร้อน จึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญเพราะตอบโจทย์สิ่งที่คนในสังคมต้องการ และดูจะได้รับความนิยมไม่น้อย เห็นได้จากแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดและทั่วทุกภาคของเมืองไทย ซึ่งแต่ละชุมชนต่างมีเอกลักษณ์และจุดขายที่แตกต่างกันออกไป ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีอยู่มากมายในหลายพื้นที่นี้ “บ้านห้วยตองก๊อ” ชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่ฝังตัวอยู่ท่ามกลางขุนเขาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่น่าจับตามอง เพราะดำเนินการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนมายาวนานร่วม 20 ปี อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ และพัฒนาการที่น่าสนใจ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยตองก๊อ เกิดขึ้นโดยสืบเนื่องมาจากโครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน (TG) ที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยตองก๊อ ส่งเสริมและให้ความรู้กับชาวบ้านเรื่องการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างกาแฟ เกษตรหมุนเวียน การเลี้ยงสัตว์ที่สามารถสร้างรายได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ แก้ปัญหายาเสพติด และสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน ภายหลังการสิ้นสุดของโครงการ ทางชุมชนได้ต่อยอดการพัฒนาดังกล่าว โดยก่อตั้ง “การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยตองก๊อ” ขึ้นในปี 2542 เป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวมาช่วย เพื่อเผยแพร่วิถีชีวิต ถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ สร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน และทำให้การพัฒนาที่ได้ดำเนินมาเป็นไปอย่างยั่งยืน บ้านห้วยตองก๊อตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ การเดินทางค่อนข้างลำบาก ต้องลัดเลาะไปตามเทือกเขา ผ่านเส้นทางที่ทุรกันดาร ดังนั้น การเข้ามาท่องเที่ยวที่บ้านห้วยตองก๊อ

Read More

David Malpass ตัวแปรในสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่กำลังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง การก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลก (World Bank) ของ David Malpass เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดูจะเป็นจังหวะก้าวที่มีผู้คนให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นว่าด้วยบทบาทและทิศทางขององค์กรโลกบาลแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ในสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ยังยืดเยื้อยาวนานเช่นนี้ David Malpass ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลของ Donald Trump ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลกคนที่ 13 หลังจากที่ Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลกคนก่อนหน้า ตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่งก่อนครบวาระ 5 ปีในปี 2022 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งติดตามมาด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อกังวลใจในบทบาทของ David Malpass บนตำแหน่งประธานธนาคารโลกว่าจะทำให้องค์กรแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือของรัฐบาล Donald Trump ในการเปิดแนวรุกเพื่อกดดันจีน และลดทอนบทบาทการนำของธนาคารโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) และกรอบความร่วมมือเพื่อหนุนนำการพัฒนาพหุภาคีหรือไม่ ประเด็นแห่งข้อกังวลใจดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นบนสุญญากาศ หากแต่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา David Malpass ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ด้านกิจการระหว่างประเทศ (Under Secretary of the Treasury

Read More

ปรับเป้าส่งออก ย้ำเศรษฐกิจไทยขาลง

ภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหมู ซึ่งหลายฝ่ายเคยเชื่อและฝากความหวังไว้ว่าจะมีความสดใสเรืองรองกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่เชื่อว่าภายหลังการเลือกตั้งจะได้เห็นความชัดเจนในเชิงนโยบาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่จะช่วยปลุกให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมกลับมากระเตื้องขึ้นจากภาวะซบเซาที่ดำเนินมายาวนานได้บ้าง หากแต่ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งดูจะไม่ได้ส่งผลในทางบวกต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก มิหนำซ้ำข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจของไทยที่ถูกกดทับด้วยปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้งภาวะชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการส่งออกในฐานะที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบเชิงลบไปโดยปริยาย เป้าหมายการส่งออกของไทยที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8 ในปี 2562 จากที่ในปี 2561 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ระดับ 252,486 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังถูกท้าทายอย่างหนักหน่วง เมื่อข้อเท็จจริงในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2562 ปรากฏว่ามูลค่าการส่งออกของไทยมีมูลค่าในระดับ 40,548 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นการขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเท่านั้น ตัวเลขการส่งออกที่ไม่ค่อยโสภาดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งอาจได้รับคำอรรถาธิบายว่าเป็นไปตามวงรอบปกติของการส่งออก ที่จะพบว่าตัวเลขส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของแต่ละปีอาจจะไม่ดีนัก และจะกลับมาคึกคักในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ก่อนที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4 จากที่ได้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปแล้ว คงเหลือเพียงการส่งมอบสินค้า กระนั้นก็ดี ความเคลื่อนไหวของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก ที่ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยในปีนี้จากระดับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 3 โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์ส่งออกลงเหลือร้อยละ 3-5

Read More

“เซ็นทรัล-สยามพิวรรธน์” นับถอยหลังศึกลักชัวรีเอาต์เล็ต

“เซ็นทรัล-สยามพิวรรธน์” กลายเป็นคู่แข่งทุกเวที นอกจากกระโดดร่วมประมูลชิงสัมปทานร้านดิวตี้ฟรีในสนามบินแล้ว ทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่เตรียมระเบิดศึกลักชัวรีเอาต์เล็ต โดยเจ้าแรกได้ฤกษ์เปิดให้บริการโครงการ “เซ็นทรัลวิลเลจ” ในเดือนสิงหาคมนี้ ขณะที่ค่ายหลังดีเดย์ “ลักชัวรีพรีเมียม เอาต์เล็ต ซิตี้” ในเดือนตุลาคม ทิ้งห่างกันไม่ถึง 2 เดือน บนสมรภูมิเดียวกัน ฟากกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ล่าสุด ทีมผู้บริหารของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอ็น” ออกมาประกาศความพร้อม เพื่อสร้าง New Shopping Platform หรือลักชัวรีเอาต์เล็ตระดับโลกแห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ติดสนามบินสุวรรณภูมิ (The First International Luxury Outlet in Thailand) ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Bangkok Outlet Experience’ ไฮไลต์สำคัญ คือ บูทีคสโตร์จากแบรนด์ระดับโลกรวมกว่า 235 ร้านค้า ได้แก่

Read More

เปิดสมรภูมิดิวตี้ฟรี บิ๊กเนมรุมสกัด “คิงเพาเวอร์”

สมรภูมิชิงสัมปทานร้านดิวตี้ฟรีร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ประกาศขายซองคัดเลือกผู้ประกอบการ โครงการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร และโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (ดิวตี้ฟรี) ทั้ง 2 สัญญา คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 สัญญา และท่าอากาศยานภูมิภาค ได้แก่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ รวมอีก 1 สัญญา โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีพื้นที่เชิงพาณิชย์หลายหมื่นตารางเมตรและเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารติดทอปเท็น ทั้งในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแผนขยายศักยภาพโครงการ เพื่อเพิ่มการรองรับผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง รวม 5 เฟส จนถึงปี 2573 ตามแผนของ ทอท. ตั้งเป้าปี 2563 สนามบินสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี ปี 2564 เพิ่มเป็น 90 ล้านคนต่อปี จนถึงเฟสที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโครงการในปี 2568-2573

Read More

เกมจัดฉากประมูลดิวตี้ฟรี ปรับเงื่อนไขลดกระแสต้าน

แม้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ยอมปรับเงื่อนไขการเปิดประมูลดิวตี้ฟรี หลังเจอกระแสต่อต้านรูปแบบสัญญาผูกขาดสัมปทานยาวนานนับสิบปี ถูกตั้งคำถามถึงการเอื้อประโยชน์และเปิดช่องโหว่ให้ยักษ์เอกชนบางรายกอบโกยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ดูเหมือนว่า การจับตาจากทั้งกลุ่มองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กลุ่มนักวิชาการสถาบันทีดีอาร์ไอ และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังไม่จบ เพราะมีประเด็นน่าสงสัยต้องติดตามอีกหลายข้อ ที่สำคัญระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลมากมาย ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจเปรียบเทียบกับสนามบินชั้นนำในต่างประเทศถูกสะท้อนสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แต่ ทอท. ยืนกรานจะเลือกใช้โมเดลเปิดประมูลแบบสัญญาเดียว และรวบสัญญาดิวตี้ฟรีท่าอากาศยานทั้ง 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ เป็นสัญญาเดียว กระทั่งวันที่ 15 มีนาคม 2562 จะด้วยเหตุผลจากสถานการณ์การเมืองใกล้เลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องออกมาสั่งการให้คณะกรรมการ ทอท. และผู้บริหาร ทอท. พิจารณาทบทวนแนวทางการประมูล โดยคำนึงถึงข้อท้วงติงของสังคมและประโยชน์ที่ ทอท. และประเทศชาติจะได้รับอย่างรอบด้าน ต่อมา วันที่ 28 มีนาคม 2562

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน ภัยร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่กำลังไต่ระดับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) กำลังสะท้อนความเปราะบางทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติอย่างยากจะปฏิเสธ และเป็นเหตุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลต่อสัญญาณลบที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ข้อมูลตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากแนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 77.7 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2561 มาสู่ที่ระดับร้อยละ 77.8 เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 โดยอัตราหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 78.6 เมื่อสิ้นปี 2561 และมียอดคงค้าง 12.8 ล้านล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ในปี 2562 คาดว่าหนี้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 79.5 อีกด้วย ภาระหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภาระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิตและการขยายธุรกิจ ซึ่งในระยะนับจากนี้หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เมื่อพิจารณาจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่ภาครัฐส่งเสริมให้การกู้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกรณีที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต้องมีการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่สร้างมูลค่า มีสินทรัพย์ หรือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ประเด็นที่น่าสนใจของการเปลี่ยนหนี้จากนอกระบบเข้ามาในระบบอยู่ที่แม้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อรับบริการทางการเงินและสินเชื่อซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสามารถลดภาระดอกเบี้ยจากสินเชื่อนอกระบบที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในระบบมาก โดยในปัจจุบันสินเชื่อในระบบคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับการบริการสินเชื่อบุคคล และร้อยละ 36 ต่อปีสำหรับนาโนไฟแนนซ์ ขณะเดียวกันการเข้าถึงสินเชื่อในระบบที่สามารถทำได้สะดวกขึ้น จากการใช้ข้อมูลต่างๆ เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ให้สินเชื่อ นอกเหนือจากการใช้เพียงรายการเดินบัญชีของธนาคารเท่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับจักรยานยนต์รับจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำมาเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการก่อหนี้ที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ต่ำ ขณะที่การออมก็ได้รับผลตอบแทนต่ำจึงไม่จูงใจให้เกิดการออม

Read More