Home > Cover Story (Page 86)

แมคโดนัลด์พลิกโฉมสาขา งัดกลยุทธ์ น้อง GEL Feel Good

“แมคโดนัลด์” ซุ่มเงียบอัดสารพัดกลยุทธ์รุกสงครามฟาสต์ฟูดตั้งแต่ต้นปี ทั้งเมนูอาหารที่หลากหลาย แคมเปญโปรโมชั่น และล่าสุดทุ่มงบประมาณก้อนโตเดินหน้าขยายร้านสาขาโฉมใหม่ คอนเซ็ปต์ Alphabet โมเดลทันสมัย สีสันสะดุดตา พร้อมทยอยส่งทีม Guest Experience Leader (GEL) หรือ “น้องเจล” ในชุดสีชมพูหวานๆ ให้บริการลูกค้าทุกเรื่องในร้าน ไม่ต่างจากธุรกิจแบงก์ที่มีอีเกิร์ลให้คำปรึกษา หรือบริษัทรถยนต์ต้องมีพริตตี้แนะนำสินค้า “การมีน้อง GEL ในร้านแมคโดนัดล์ เป้าหมายคือ สร้าง Feel Good Moment เป็นความมุ่งหวังของเราให้ลูกค้าทุกคนที่เดินเข้าร้านแมคโดนัลด์ Feel Good Moment ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกคนต้อง Feel Good” สนธยา ตั้งสันติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ360” แน่นอนว่าระยะเวลามากกว่า 30 ปีที่แมคโดนัลด์เปิดร้านแรกในประเทศไทยที่อาคารอัมรินทร์พลาซ่า และขยายสาขามากกว่า 246 สาขา

Read More

แมคคาเฟ่อัพเกรดใหม่ รุกขยายฐานลูกค้า

ฟาสต์ฟูด “แมคโดนัลด์” เข้ามาบุกตลาดไทยตั้งแต่ 30 กว่าปีก่อน แต่ตัดสินใจนำเข้าโมเดล “แมคคาเฟ่ (McCafe)” เจาะสมรภูมิกาแฟเมื่อปี 2550 โดยประเดิมสาขาแรกอยู่ในร้านแมคโดนัลด์ เอสพลานาด รัชดาภิเษกพร้อมๆ กับการซุ่มทดสอบกลยุทธ์การตลาดเติมเต็มบริการมานานกว่า 10 ปี ท่ามกลางการแข่งขันร้อนเดือดของร้านกาแฟระดับพรีเมียมยักษ์ใหญ่หลายเจ้า อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า แมคคาเฟ่ไม่เน้นการเปิดสงครามกับคู่แข่งโดยเลือกใช้วิธีขยายสาขาในรูปแบบการเติมเต็มบริการในร้านแมคโดนัลด์ตามทำเลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้แต่การออกสื่อ เรียกว่า ไม่มีการอัดสปอตโฆษณาเลย สนธยา ตั้งสันติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ว่า แมคคาเฟ่ถือเป็นจุดขายหนึ่งที่เน้นสนับสนุนร้านแมคโดนัลด์ เพื่อสร้างเดสทิเนชันของลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งในอดีตที่ยังไม่มีแมคคาเฟ่ เวลานั้นผู้บริโภคไทยยังไม่สนใจเรื่องการดื่มกาแฟจริงจัง แต่ระยะหลังผู้บริโภคไทยมีความรู้ความสามารถความสนใจกาแฟอย่างมาก จัดเป็นคอกาแฟไม่แพ้ต่างประเทศ แมคคาเฟ่จึงเริ่มขยายสาขามากขึ้นจากสาขาแรกเมื่อปี 2550 ล่าสุดเปิดให้บริการรวม 150 สาขา จากร้านแมคโดนัลด์ที่มีทั้งหมด 246 สาขา ภายใต้แนวคิดที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น คือ ต้องการให้ลูกค้าของแมคโดนัลด์เข้าถึงกาแฟระดับพรีเมียมในราคาจับต้องได้ มีเมนูให้เลือกหลากหลาย ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้า

Read More

จีดีพี หดตัว-อสังหาฯ ซบเซา สัญญาณร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนผ่านตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุด ดูจะเป็นประจักษ์พยานและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ-ล้มเหลวของการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลคณะรักษาความสงบห่งชาติ (คสช.) ในช่วงระยะเวลาตลอด 5 ปีหลังเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานะใหม่ในรัฐบาลชุดหน้า หลังสิ้นวาระลงจากผลของการเลือกตั้งและการเปิดประชุมรัฐสภาที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ ความตกต่ำย่ำแย่ทางเศรษฐกิจที่ได้รับการแถลงยืนยันโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในช่วงไตรมาส 1/2562 เติบโตในระดับร้อยละ 2.8 ซึ่งนับเป็นการเติบโตในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 17 ไตรมาส บ่งบอกถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงการบริหารงานของ คสช. ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี แม้ว่าตลอดระยะเวลาก่อนหน้ากลไกรัฐจะพยายามสื่อสารกับสาธารณะว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวและอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นก็ตาม ความจำเริญแบบถดถอยลงทางเศรษฐกิจไทยในลักษณะที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ต้องมีการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจลงอีก จากเดิมที่คาดว่าจะคงการเติบโตตลอดทั้งปีไว้ได้ที่ระดับร้อยละ 4 มาเหลือเพียงการเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 ในปี 2562 เท่านั้น ยังไม่นับรวมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจฉุกกระชากให้ต้องมีการปรับลดเป้าการเติบโตอีกสำหรับอนาคต มูลเหตุสำคัญที่ทำให้จีดีพีของไทยในไตรมาส 1/2562 ตกต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ได้รับการอธิบายในลักษณะที่เกือบจะกลายเป็นสูตรสำเร็จว่าเป็นผลจากการที่การส่งออกของไทยชะลอตัวลงจากแรงกดดันของสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ควบคู่กับการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวลง ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่า ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะช่วยให้เกิดการผลักดันการเบิกจ่ายงบประมาณครั้งใหม่ ที่อาจช่วยคลี่คลายสถานการณ์ตกต่ำทางเศรษฐกิจนี้ได้บ้าง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในระดับร้อยละ 2.8 ในไตรมาส 1/2562 ที่ฉุดให้คาดว่าตลอดทั้งปีเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 นับเป็นการขยายตัวเติบโตในระดับต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนประเทศอื่นๆ ซึ่งขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More

Rare earth หมัดเด็ดของสีจิ้นผิง? ในศึกสงครามการค้า

หากติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของสองประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่ตอบโต้กันบนเวทีโลก โดยเฉพาะประเด็นการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแต่ละยกในศึกครั้งนี้ดูจะไม่มีใครยอมใคร แม้ว่าทั้งสองจะมีโอกาสได้จับมือกันต่อหน้ากล้อง พบปะพูดคุยกันอยู่บ้าง รวมไปถึงการหารือเพื่อเจรจาในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งกระแสข่าวที่ถูกตีแผ่ว่า มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองประเทศอาจบรรลุข้อตกลงระหว่างกันในการยุติความขัดแย้งครั้งนี้ ทว่า จนถึงขณะนี้ข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายจะทำร่วมกันเพื่อยุติสงครามการค้าครั้งนี้ กลับไม่มีท่าทีที่จะประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกับความพยายามที่จะทำข้อตกลงร่วมกันกลายเป็นภาพชินตาของผู้คนทั่วโลก และท้ายที่สุด จากสงครามการค้าทรานฟอร์มสู่สงครามเทคโนโลยี เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หงายไพ่ใบใหม่เพื่อกดดันจีนด้วยการเล่นงานบริษัทหัวเว่ย โดยมีกูเกิลขานรับนโยบายนี้ทันที ซึ่งจะส่งผลให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ยไม่สามารถอัพเดตหรือเข้าถึงแอปยอดนิยมอย่างกูเกิลได้ นโยบายดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลอย่างมากให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทคู่ค้ากับหัวเว่ย ผู้บริโภคที่ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ย ทว่า ความกังวลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับซีอีโอของหัวเว่ยแต่อย่างใด เมื่อ Ren Zhengfei กล่าวเพียงว่า หัวเว่ยจะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศแบนของสหรัฐฯ และนักการเมืองสหรัฐฯ ประเมินความสามารถของหัวเว่ยต่ำเกินไป แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกระงับไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 90 วัน โดยสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะสะดุดระหว่างบริษัทเอกชนสัญชาติอเมริกาที่ทำธุรกิจกับหัวเว่ย ที่ผ่านมา นโยบายและมาตรการต่างๆ ของสหรัฐฯ จะเป็นสิ่งที่ประเทศคู่ค้าไม่ยอมรับ และมีการโต้กลับในรูปแบบที่ไม่แตกต่างกัน เช่น เมื่อสหรัฐฯ ปรับอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ขณะที่จีนไม่นิ่งนอนใจและขึ้นอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่าเทียมกัน และเมื่อสหรัฐฯ ปรับหมากเดินเกม รวมไปถึงเป็นผู้เปลี่ยนหน้าเกมในศึกครั้งนี้ จากสงครามการค้า สู่สงครามเทคโนโลยี โดยมุ่งเล่นงานที่บริษัทหัวเว่ย ในมุมมองของนักการเมืองฟากฝั่งโดนัลด์

Read More

สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ กับหมากตัวใหม่ของทรัมป์

การฟาดฟันด้วยกำแพงภาษีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2561 ภายใต้การนำทัพของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งสหรัฐฯ เพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 25% มูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้จีนต้องตอบโต้กลับด้วยอัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าที่เท่ากัน การตอบโต้กันระหว่างสองประเทศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการพูดคุยเจรจาระหว่างสองผู้นำยามที่ต้องเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติ แต่ดูเหมือนว่าการเจรจาในแต่ละครั้งจะให้ผลที่หาความแน่นอนไม่ได้ นโยบายการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หรือจากประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายในช่วงหาเสียงของทรัมป์ ที่ต้องการสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “America First” ด้วยหวังว่าผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในสหรัฐฯ จากมาตรการดังกล่าวที่สหรัฐฯ ประกาศใช้ ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายกำลังตัดสินใจที่จะย้ายฐานการผลิตมายังสหรัฐฯ ทว่าก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด นอกจากนี้ การขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ เป็นเพราะความต้องการที่จะสร้างสมดุลทางการค้า เพราะก่อนหน้านี้สหรัฐฯ มีปัญหาการขาดดุลการค้า โดยทรัมป์มองว่าสหรัฐฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องการค้าระหว่างประเทศ และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์ยังคงดำเนินการสร้างกำแพงภาษีอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นเพราะความพยายามสร้างผลงานก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในศักราชหน้า จนถึงตอนนี้สหรัฐฯ รีดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่าราว 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการโต้กลับของจีนด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่ารวม 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงจุดนี้ การรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ดูจะยังไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีพิพาทดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และสหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น

Read More

เซเว่นฯ-แม็คโคร ทุ่ม 2 หมื่นล้าน ปลุกแนวรบค้าปลีกเดือด

“ซีพีออลล์” ปรับเปลี่ยนตัวขุนพลครั้งใหญ่ เมื่อนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2562 โดยให้ลูกชายคนโต “สุภกิจ เจียรวนนท์” ขึ้นนั่งเก้าอี้แทนพร้อมๆ กับการเร่งเดินหน้าแผนการลงทุนรุกแนวรบค้าปลีก ทั้งเซเว่นอีเลฟเว่น และแม็คโคร ใช้เม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน หุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL และบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ “MAKRO” เคลื่อนไหวคึกคักรับข่าวใหม่ต่อเนื่องตลอดหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะการประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2562 ซีพีออลล์และบริษัทย่อยสามารถทำรายได้รวม 138,896 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 8.6% และมีกำไร 5,416.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 5,416.83 ล้านบาท ปี 2562 ซีพีออลล์ยังตั้งเป้าการเติบโต

Read More

ซีพี เจเนอเรชัน 3 ยุค 4.0 รุกภาพลักษณ์ใหม่

ธนินท์ เจียรวนนท์ น่าจะเห็นเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปรับทัพครั้งใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่กำลังจะครบรอบ 100 ปี ในอีก 2 ปีข้างหน้า ท่ามกลางการรุกขยายธุรกิจแนวโน้มใหม่ ยุคใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะอาณาจักรยุค 4.0 จะหลากหลายมากขึ้นตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและกว้างขวางไร้ขอบเขต อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า ชื่อ “ธนินท์” โลดแล่นอยู่ในวงการและถือเป็นผู้ปลุกปั้นกิจการซีพีให้เติบโตมากที่สุด ตั้งแต่เครือซีพีก่อตั้งเมื่อปี 2464 เริ่มบุกเบิกจากร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักและปุ๋ย “เจียไต๋” โดย 2 พี่น้องชาวจีน เจีย เอ็ก ซอ บิดาของธนินท์ และ เจีย โซว ฮุย ย้อนประวัติกันอีกครั้ง ธนินท์ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2482 ที่ย่านเยาวราช ซึ่ง ธนินท์ หรือ ด.ช. ก๊กมิ้น เป็นบุตรชายคนที่ 5

Read More

ซีพีคว้าไฮสปีดเทรน ปูทางผุด “สมาร์ทซิตี้”

หลังจากเจรจาทุบโต๊ะกันหลายรอบนานกว่า 4 เดือน ในที่สุด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อนุมัติร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมลงทุนกับกลุ่มซีพี พร้อมเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทิ้งทวนภายในวันที่ 28 พฤษภาคม และลุยลงนามภายในวันที่ 15 มิถุนายน เพื่อผลักดันบิ๊กโปรเจกต์แสนล้านอย่างเร็วที่สุด โครงการดังกล่าวใช้รูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) มูลค่าการลงทุนรวม 224,544.36 ล้านบาท โดยรัฐสนับสนุนส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งกลุ่มซีพีในนามกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง และพันธมิตร อันได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) China Railway

Read More

บทเรียนการท่องเที่ยว กรณีศึกษาศรีลังกาสู่ไทย

เหตุระเบิดถล่มเมืองหลายจุดที่ศรีลังกาในช่วงเทศกาลอีสเตอร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนจำนวนมากแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง แรงระเบิดยังได้ทำลายและสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนักอีกด้วย ผลกระทบจากแรงระเบิดและเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น ได้ฉุดให้การท่องเที่ยวของศรีลังกาตกอยู่ในภาวะชะงักงัน และถูกผลักให้หวนสู่ภาวะซบเซาไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ประเทศเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นิตยสารท่องเที่ยว Lonely Planet ได้ยกให้ศรีลังกาเป็นจุดหมายในการเดินทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าท่องเที่ยวที่สุดในปี 2019 ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ผสมผสานกันในลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรม (multi-cultural society) ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามและเข้าถึงได้ไม่ยาก และนิสัยใจคอของประชาชนในพื้นถิ่นที่พร้อมให้การต้อนรับอาคันตุกะจากต่างแดน ข้อสังเกตของ Lonely Planet ดังกล่าวเกิดขึ้นจากฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าภายหลังการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธชาวทมิฬที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 3 ทศวรรษ ศรีลังกาได้เร่งฟื้นฟูระบบการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟอย่างขนานใหญ่ ซึ่งทำให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยอัตราเร่งควบคู่กับการเกิดขึ้นของโรงแรมที่พักที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย การฟื้นคืนขึ้นมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สามารถประเมินได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าสู่ศรีลังกาจากจำนวน 4.5 แสนคนในปี 2009 มาสู่ที่ระดับ 2.33 ล้านคนในปี 2018 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ควบคู่กับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลศรีลังกาที่มุ่งหมายให้การท่องเที่ยวเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของศรีลังกามีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ

Read More

ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมใหม่ ภาระหนักครัวเรือนไทย?

ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไร้ข้อสรุปว่าด้วยการเกิดมีขึ้นของรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงขณะปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ได้วางกรอบงบประมาณจัดการเลือกตั้งไว้สูงถึง 5,800 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ และกลายเป็นประหนึ่งกับดักหลุมพรางที่ทำให้องคาพยพของสังคมด้านอื่นต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันของหล่มปลักไปด้วยโดยปริยาย ก่อนหน้านี้นักธุรกิจและบรรดาผู้สันทัดกรณีทางเศรษฐกิจต่างโหมประโคมความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้งซึ่งควรจะติดตามมาด้วยความชัดเจนของการจับขั้วทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภายหลังยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เศรษฐกิจไทยน่าจะกระเตื้องขึ้นได้พร้อมกับความมั่นใจของผู้ประกอบการลงทุนต่างชาติ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจไทยกำลังถอยหลังอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด ทัศนะเช่นว่านี้ย่อมไม่ใช่คำกล่าวหาที่เลื่อนลอย หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ควบคุมกลไกอำนาจรัฐในห้วงปัจจุบันตระหนักและพยายามประคับประคองสถานการณ์ด้วยหวังว่าหากมีโอกาสกลับมามีบทบาทอีกครั้งจะสามารถเอ่ยอ้างต่อยอดผลงานที่เป็นประหนึ่งฟองครีมที่อยู่บนผืนหน้าเค้กที่ประดับประดาด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ทำให้ความขมขื่นของสังคมกลายเป็นความหอมหวานที่เคลือบแฝงด้วยภัยร้ายในระยะยาว ความพยายามที่จะนำเสนอมาตรการพยุงเศรษฐกิจรอบใหม่ในช่วงรอยต่อของรัฐบาล คสช. กับรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังมองไม่เห็นว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ที่ดำเนินผ่านมาตรการภาษีว่าด้วยการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการควมคุมราคาสินค้า หรือแม้กระทั่งการแจกคูปองการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจให้ไม่ชะลอตัวลงมากไปกว่าที่เป็นอยู่ มาตรการที่ฝ่ายควบคุมกลไกอำนาจอยู่ในปัจจุบันเชื่อว่าจะรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับที่เรียกว่า “ไฮอิมแพ็กต์” แต่ไม่ถึงกับต้องใช้ยาแรงนี้ เน้นไปที่มาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริโภค การกระตุ้นการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการใช้จ่ายของประชาชนที่ยากจน เกิดขึ้นควบคู่กับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งปรับลดประมาณการขยายตัว มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทำให้ต้องออกมาตรการมาพยุงในช่วงรอยต่อในครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็เร่งผลักดันกฎหมายสรรพากรที่จะช่วยให้จัดเก็บภาษีค้าขายออนไลน์ให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ปีนี้จะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ซึ่งทำให้รัฐจำเป็นต้องพยุงการเติบโตไว้ หากปล่อยให้ชะลอลงมาก เวลาจะดึงขึ้นต้องใช้ทรัพยากรมาก และนำมาสู่มาตรการเบื้องต้น ทั้งมาตรการด้านการบริโภค เงินอุดหนุนให้ท่องเที่ยวเมืองรอง และการให้หักลดหย่อนภาษีกรณีค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ขณะที่มาตรการด้านการใช้จ่ายของประชาชน จะมีมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายสำหรับซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้

Read More