Home > Cover Story (Page 85)

วัลลภา ไตรโสรัส ดันหุ้น AWC เดิมพันบิ๊กโปรเจกต์

เจริญ สิริวัฒนภักดี เปิดเกมรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รอบใหญ่อีกครั้ง ยกเครื่องโครงสร้างจาก “กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์” เป็น บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) “Asset World Corporation (AWC)” พร้อมกับยื่นจดทะเบียนนำสินทรัพย์มูลค่ากว่าแสนล้านเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่สำคัญ คือ การเปิดตัวลูกสาวคนเก่ง วัลลภา ไตรโสรัส ออกโรงในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในวงการมานานหลายสิบปี อีกด้านหนึ่ง เจริญจัดวางทิศทางธุรกิจในเครือทีซีซีกรุ๊ปลงตัวชัดเจน โดยทายาททั้ง 5 คน เริ่มจาก อาทินันท์ พีชานนท์ ดูแลธุรกิจประกันและการเงิน วัลลภา ไตรโสรัส ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฐาปน สิริวัฒนภักดี ดูแลธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร ที่มีทั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอฟแอนด์เอ็น ฐาปนี เตชะเจริญวิกุล

Read More

จาก “ไทยเบฟ” ถึง “AWC” ระดมทุนลุยอสังหาฯ แสนล้าน

11 มิถุนายน 2562 วัลลภา ไตรโสรัส ลูกสาว เจริญ สิริวัฒนภักดี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) เปิดแถลงข่าวใหญ่เกี่ยวกับทิศทางธุรกิจในอนาคต พร้อมๆ กับยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยถือเป็นการผลักดันบริษัทที่เจริญปลุกปั้นมากับมือ หลังจากเคยถูกต่อต้านอย่างหนักเมื่อครั้งผลักดันบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จนต้องล้มแผนไปเมื่อปี 2548 ครั้งนั้น เจริญปรับโครงสร้างธุรกิจในเครือเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแอลกอฮอล์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสถาบันการเงินและประกัน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจอยู่ภายใต้ ทีซีซี โฮลดิ้ง โดยธุรกิจแอลกอฮอล์อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ทีซีซี แลนด์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินอยู่ภายใต้การจัดการของ บริษัท ทีซีซี แคปปิตอล ทั้งนี้

Read More

จับตาคืบหน้า ASEAN-RCEP ฤา ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่จีน?

นอกจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 (34th ASEAN SUMMIT) ที่กำลังจะเกิดมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายนนี้ จะดำเนินไปท่ามกลางแนวคิดว่าด้วย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่จัดวางเป้าประสงค์ไว้ที่การมุ่งสู่การเป็นอาเซียนที่ไร้รอยต่อ ด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค และการก้าวไปสู่ดิจิทัลอาเซียน ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 พร้อมกับเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาอาเซียนให้มีความยั่งยืนในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนาแล้ว การประชุมดังกล่าวยังเกิดขึ้นท่ามกลางความร้อนแรงของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ทวีความหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับและกำลังเป็นปัจจัยลบที่ฉุดรั้งสถานการณ์และภาพรวมทางเศรษฐกิจของโลกให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังวลว่ากรณีดังกล่าวอาจขยายตัวลุกลามจนเกิดเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ได้ไม่ยากในอนาคตอันใกล้นี้ ภายใต้กรอบความร่วมมือของอาเซียน ผู้นำของอาเซียนได้ตั้งเป้าให้การสรุปผลการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสำเร็จในปี 2562 นี้ ซึ่งไทยในฐานะประธานอาเซียน พยายามที่จะแสดงบทบาทนำในอาเซียนร่วมกับสมาชิกอีก 15 ประเทศ ด้วยการเร่งดำเนินงานตามแผนการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการเจรจาให้มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ พัฒนาการของ RCEP หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นแผนความตกลงเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีระหว่าง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน และ 6 ชาติคู่เจรจาที่ประกอบด้วย จีน

Read More

ไทยในฐานะประธานอาเซียน ก้าวไปข้างหน้า หรือ ย่ำอยู่กับที่

แม้ว่าพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 วาระที่ 2 ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 จะดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หากแต่กำหนดเวลาว่าด้วยการจัดสรรตำแหน่งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่จะต้องผ่านพิธีการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณและการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ก่อนที่สังคมไทยจะมีรัฐบาลใหม่ที่จะขับเคลื่อนเดินหน้าประเทศไทยอีกครั้ง ดูจะเป็นเรื่องที่ไกลออกไปอย่างน้อยก็อาจต้องใช้เวลานานรวมกว่าอีก 1 เดือนนับจากนี้ เป็นที่คาดหมายว่าการจัดสรรบุคลากรเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะสามารถกระทำได้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาน่าจะดำเนินการได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เป็นลำดับถัดมา ภารกิจของรัฐบาลชุดใหม่ นอกเหนือจากการนำพาความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับทั้งผู้คนในสังคมไทยและประชาคมนานาชาติแล้ว ประเด็นปัญหาที่สังคมไทยเผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและปัญหาปากท้องของประชาชนในระดับฐานรากแล้ว ยังผูกพันอยู่กับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนในเชิงนโยบายและทิศทางที่รัฐไทยภายใต้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประสงค์จะก้าวเดินเพื่อมุ่งหน้าสู่การรังสรรค์ประเทศไทย ให้มีที่อยู่ที่ยืนในประชาคมโลกอย่างสง่างามกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือกรอบเวลาแห่งความเป็นไปของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางวาระและกำหนดการประชุมสุดยอดโดยคณะผู้นำจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 34 (34th ASEAN SUMMIT) ที่จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2562 โดยมีประเทศไทยดำรงสถานะเป็นทั้งเจ้าภาพจัดการประชุมและเป็นประธานอาเซียน ตามระบบหมุนเวียนระหว่างสมาชิกอีกด้วย ก่อนหน้านี้ ผู้นำรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศในพิธีรับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงความพร้อมในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN SUMMIT และเสนอแนวคิดหลัก (theme) ของการเป็นประธานอาเซียนของไทยไว้ที่ “ร่วมมือ

Read More

เศรษฐกิจไทยชะลอตัว ปัจจัยความเชื่อมั่นผู้บริโภคลด

แม้ว่าประเทศไทยจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ไปเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ทว่านายกคนใหม่หน้าเดิม ยังไม่อาจเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นได้ เมื่อยังไม่ได้ข้อสรุปของตำแหน่งรัฐมนตรีที่จะเข้ามาสานงานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน หลายฝ่ายที่เฝ้ารอโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำงานเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งไพร่ฟ้าหน้าใส นักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ หรือแม้แต่ฝ่ายตรงข้ามอย่างพรรคที่ต้องมาเป็นฝ่ายค้านในสภา ดูเหมือนสถานการณ์ความเป็นไปของเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบันจะเป็นงานหนักของรัฐบาลชุดใหม่ไม่น้อย เมื่อมีปัญหาหลายด้านที่ต้องเร่งมือแก้ไขเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นทั้งกับนักลงทุน และผู้บริโภคคนไทย โดยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธนวรรน์ พลวิชัย เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคม 2562 ว่า มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 77.7 ซึ่งเป็นการปรับตัวต่ำสุดในรอบ 19 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 ขยายตัวเพียง 2.8 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 4/2557 และลดลงจาก 3.6 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสก่อนหน้า จากสาเหตุที่การส่งออกลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ 2. สศช. ปรับประมาณการอัตราเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2562 จะโตที่

Read More

ส่งออกไทยติดลบย่อยยับ เศรษฐกิจไทยพร้อมพับฐาน

ความเป็นไปของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2562 ดูจะดำเนินไปในทิศทางที่ถดถอยลงไปอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับคำขวัญและความมุ่งมั่นในเชิงวาทกรรมของกลไกภาครัฐว่าด้วยความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปอย่างสิ้นเชิงและทำให้ถ้อยแถลงประชาสัมพันธ์ผลงานของกลไกรัฐในช่วงที่ผ่านมาดูจะไม่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าเสียเลย ตัวเลขที่บ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนออกมาในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะถดถอยอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หดตัวติดลบร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 18,555.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.8 แสนล้านบาท ส่งผลให้เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลการค้าถึง 1,457.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือติดลบประมาณ 54,396.5 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 การส่งออกของไทยก็ติดลบอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าอีกด้วย ความตกต่ำลงของการส่งออกไทยในด้านหนึ่งนอกจากจะเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนาน และต่างเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้าไทยแล้ว การส่งออกสินค้าไทยไปยังสหภาพยุโรป (EU) ก็อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียพื้นที่ตลาดให้กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่การเจรจากรอบการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปยังอยู่ในภาวะชะงักงันมาตลอดระยะเวลา 5 ปีของรัฐบาล คสช. ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนกลับดำเนินการเจรจาและสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปได้สำเร็จ ความเคลื่อนไหวว่าด้วย FTA สหภาพยุโรปกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ส่งผลต่อความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะผลจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปกับเวียดนาม ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องนุ่งห่มจากเวียดนามเข้าสู่ตลาดยุโรป ที่เดิมมีอัตราภาษีอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More

รัฐบาลใหม่ สังคมไทยคาดหวังอะไร??

ผลการลงมติเพื่อเลือกสรรผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทยในการประชุมร่วมรัฐสภาได้ผ่านพ้นไปแล้ว โดยไม่มีสิ่งใดผิดพลาดไปจากการคาดหมายด้วยคะแนนเสียงทั้งจากสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งและจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่ประกาศตัวเข้าร่วมรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ด้วยคะแนนเสียงรวม 500 คะแนน หากแต่ประเด็นที่น่าจับตามองนับจากนี้ นอกจากจะอยู่ที่การเจรจาตกลงเพื่อจัดสรรตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นระหว่างพรรคการเมืองแต่ละพรรคว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรแล้ว การผนวกผสานนโยบายที่แต่ละพรรคการเมืองได้เคยนำเสนอระหว่างช่วงเวลาของการหาเสียงเลือกตั้งให้เกิดเป็นนโยบายสาธารณะที่จับต้องได้และมีผลในการผลักดันพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในห้วงเวลาจากนี้ ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจติดตามไม่น้อยเลย ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยห่างหายจากกระบวนการตรวจสอบ ถ่วงดุล และร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงนโยบายไปโดยปริยาย ซึ่งการเกิดขึ้นของการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตลอดจนถึงการลงมติเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งบทเริ่มต้นของการกลับเข้าสู่กระบวนการรัฐสภา ที่ทำให้บุคคลในคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทางการเมืองและต่อสังคมหลังจากที่ก่อนหน้านี้มาตรฐานทางจริยธรรมที่เอ่ยอ้างดูจะเป็นเกราะกำบังให้โพ้นไปจากความรับผิดชอบเหล่านี้ ประเด็นปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่และประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นสิ่งที่สังคมไทยให้ความสนใจไม่น้อย เพราะด้วยเหตุแห่งข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายที่ร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านในสภามีคะแนนเสียงไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งหมายความว่าการบริหารราชการแผ่นดิน การผลักดันนโยบายต่างๆ รวมถึงการออกกฎหมาย จะดำเนินไปท่ามกลางความยากลำบากไม่น้อย ขณะที่โอกาสของการเกิดปัญหาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลจนนำไปสู่การยุบสภาในระยะเวลาอันใกล้ก็ดูจะมีความเป็นไปได้สูง ความน่ากังวลของการนำพารัฐนาวาในห้วงเวลานับจากนี้ อีกประการหนึ่งยังผูกพันกับข้อเท็จจริงที่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะที่ตลอดช่วงเวลา 5 ปี ของรัฐบาล คสช. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์ใหม่ และไม่ได้รับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มีความสามารถในการแข่งขันมากพอ นอกจากนี้ เหตุของข้อพิพาททางการค้าจีน-สหรัฐฯ กลายเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลใหม่ เพราะไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวสูงถึงในระดับร้อยละ 70-80 ของ GDP ภารกิจเร่งด่วนที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการในภาวะชะลอตัวของการส่งออกและท่องเที่ยวในขณะนี้ จึงมุ่งเป้าไปที่การเรียกคืนความเชื่อมั่นจากภาคธุรกิจ นักลงทุนและประชาชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการลงทุนภาคเอกชน และการบริโภค ซึ่งแม้จะดูเป็นกรณีสามัญและไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลส่วนใหญ่พึงกระทำ

Read More

อสังหาฯ ไทยเนื้อหอม ทุนต่างชาติเล็งสร้างอาณานิคม

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย น่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังเฝ้ารอความหวังใหม่ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเมื่อคืนวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังจากเปิดประชุมสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ และผลสรุปเป็นไปอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะ คสช. ได้รับเสียงโหวตให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยต่ออีกสมัย ท่ามกลางความไม่พอใจและความเห็นต่างที่เกิดขึ้นในสังคม ทว่า ทุกอย่างจำต้องเดินหน้าต่อไป การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังเป็นสิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้น ไม่ว่าเสถียรภาพของรัฐบาลจะมั่นคงหรือไม่ก็ตาม ฟันเฟืองทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆ เช่น การส่งออก การท่องเที่ยว แม้จะยังเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย แต่หากพิจารณาอย่างรอบด้านจะเห็นได้ว่าทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยว ยังต้องอาศัยอานิสงส์จากทิศทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศเป็นหลัก แต่ตัวชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดีน่าจะเป็น ธุรกิจอสังหาฯ ไทย การค้าภายในประเทศ และความสามารถในการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทย ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ทิศทางตลาดอสังหาฯ ไทยค่อนข้างสดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้งอย่างคอนโดมิเนียม ที่ผู้ประกอบการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่เนื้อหอมที่สุด คือ โครงการที่เกิดขึ้นตามแนวรถไฟฟ้า โดยมีหลายระดับราคาเพื่อรองรับผู้บริโภคทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ประกอบการมองว่า พื้นที่ดังกล่าวจะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้อย่างแท้จริง การขยายตัวการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ก่อให้เกิดการขยายตัวของตลาดอสังหาฯ อย่างที่หาคนแตะเบรกได้ยาก เมื่อทั้งนักวิเคราะห์ ผู้ประกอบการ ต่างมองเห็นเพียงว่า ตลาดมีดีมานด์แต่ยังไม่มีซัปพลายมากพอ เป็นผลให้ในเวลาไม่นานมีจำนวนยูนิตคอนโดมิเนียมเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก ทว่า ปริมาณซัปพลายที่มีไม่ได้รับการดูดซับมากเพียงพอ กระทั่งเมื่อ 3-4

Read More

แมคโดนัลด์พลิกโฉมสาขา งัดกลยุทธ์ น้อง GEL Feel Good

“แมคโดนัลด์” ซุ่มเงียบอัดสารพัดกลยุทธ์รุกสงครามฟาสต์ฟูดตั้งแต่ต้นปี ทั้งเมนูอาหารที่หลากหลาย แคมเปญโปรโมชั่น และล่าสุดทุ่มงบประมาณก้อนโตเดินหน้าขยายร้านสาขาโฉมใหม่ คอนเซ็ปต์ Alphabet โมเดลทันสมัย สีสันสะดุดตา พร้อมทยอยส่งทีม Guest Experience Leader (GEL) หรือ “น้องเจล” ในชุดสีชมพูหวานๆ ให้บริการลูกค้าทุกเรื่องในร้าน ไม่ต่างจากธุรกิจแบงก์ที่มีอีเกิร์ลให้คำปรึกษา หรือบริษัทรถยนต์ต้องมีพริตตี้แนะนำสินค้า “การมีน้อง GEL ในร้านแมคโดนัดล์ เป้าหมายคือ สร้าง Feel Good Moment เป็นความมุ่งหวังของเราให้ลูกค้าทุกคนที่เดินเข้าร้านแมคโดนัลด์ Feel Good Moment ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกคนต้อง Feel Good” สนธยา ตั้งสันติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ360” แน่นอนว่าระยะเวลามากกว่า 30 ปีที่แมคโดนัลด์เปิดร้านแรกในประเทศไทยที่อาคารอัมรินทร์พลาซ่า และขยายสาขามากกว่า 246 สาขา

Read More

แมคคาเฟ่อัพเกรดใหม่ รุกขยายฐานลูกค้า

ฟาสต์ฟูด “แมคโดนัลด์” เข้ามาบุกตลาดไทยตั้งแต่ 30 กว่าปีก่อน แต่ตัดสินใจนำเข้าโมเดล “แมคคาเฟ่ (McCafe)” เจาะสมรภูมิกาแฟเมื่อปี 2550 โดยประเดิมสาขาแรกอยู่ในร้านแมคโดนัลด์ เอสพลานาด รัชดาภิเษกพร้อมๆ กับการซุ่มทดสอบกลยุทธ์การตลาดเติมเต็มบริการมานานกว่า 10 ปี ท่ามกลางการแข่งขันร้อนเดือดของร้านกาแฟระดับพรีเมียมยักษ์ใหญ่หลายเจ้า อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า แมคคาเฟ่ไม่เน้นการเปิดสงครามกับคู่แข่งโดยเลือกใช้วิธีขยายสาขาในรูปแบบการเติมเต็มบริการในร้านแมคโดนัลด์ตามทำเลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้แต่การออกสื่อ เรียกว่า ไม่มีการอัดสปอตโฆษณาเลย สนธยา ตั้งสันติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ว่า แมคคาเฟ่ถือเป็นจุดขายหนึ่งที่เน้นสนับสนุนร้านแมคโดนัลด์ เพื่อสร้างเดสทิเนชันของลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งในอดีตที่ยังไม่มีแมคคาเฟ่ เวลานั้นผู้บริโภคไทยยังไม่สนใจเรื่องการดื่มกาแฟจริงจัง แต่ระยะหลังผู้บริโภคไทยมีความรู้ความสามารถความสนใจกาแฟอย่างมาก จัดเป็นคอกาแฟไม่แพ้ต่างประเทศ แมคคาเฟ่จึงเริ่มขยายสาขามากขึ้นจากสาขาแรกเมื่อปี 2550 ล่าสุดเปิดให้บริการรวม 150 สาขา จากร้านแมคโดนัลด์ที่มีทั้งหมด 246 สาขา ภายใต้แนวคิดที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น คือ ต้องการให้ลูกค้าของแมคโดนัลด์เข้าถึงกาแฟระดับพรีเมียมในราคาจับต้องได้ มีเมนูให้เลือกหลากหลาย ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้า

Read More