Home > Cover Story (Page 77)

ซุปเปอร์พาร์คปักหมุดไทย ลุยสงครามรีเทลเทนเมนต์

“ซุปเปอร์พาร์ค” สวนสนุกในร่มของกลุ่มทุนฟินแลนด์ กลายเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาบุกสงครามฟันปาร์ค ประเทศไทย โดยเฉพาะการพยายามเจาะช่องว่างเน้นจุดขายใหม่ ทั้งขนาดพื้นที่ ราคา และกิจกรรมแปลกใหม่มากกว่า 20 รายการ ที่ไม่ใช่แค่เจาะกลุ่มเด็กแต่ยังขยายฐานลูกค้าครอบคลุมถึงผู้ใหญ่อายุมากกว่า 35 ปีด้วย ที่สำคัญ ฟันปาร์คหรือธีมปาร์คถือเป็นอีกหนึ่งแม็กเน็ตชิ้นพิเศษของโปรเจกต์มิกซ์ยูสและศูนย์การค้าภายใต้แนวคิด “รีเทลเทนเมนต์ (Retailtainment)” หรือ Retail + tainment เพื่อดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้บริการในหลากหลายกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เหมือนการมีโรงภาพยนตร์ สวนน้ำ โคเวิร์กกิ้งสเปซ หรือแม้กระทั่งร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตยุคใหม่ นับจากนี้ต้องผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างความสนุกสนานในการจับจ่ายมากขึ้น มาร์ค กุมาราสินห์ ประธานกรรมการบริหาร ซุปเปอร์พาร์ค เอเชีย กล่าวถึงแนวคิดการทำสวนสนุกของซุปเปอร์พาร์คแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ เพราะเน้นการสร้างกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถร่วมเล่นได้ เป็นไอเดียและหัวใจหลักที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อครั้งหนึ่งนายทาเนลี ซูติเน็น นักธุรกิจชาวฟินแลนด์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งซุปเปอร์พาร์ค กำลังนั่งอยู่ในร้านอาหารและลูกสาววัย 4 ขวบเข้ามาคว้าแขนให้ออกไปเล่นกับเธอ แต่เขาต้องรู้สึกอึดอัดกับเครื่องเล่นขนาดเล็กในสนามเด็กเล่นจนปิ๊งไอเดียขึ้นมาทันทีว่า ทำไมไม่สร้างสวนสนุกที่ผู้ใหญ่และเด็กเล่นสนุกด้วยกันได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งนั่นก็คือจุดกำเนิดซุปเปอร์พาร์คแห่งแรกที่เมืองวูโอคาตติ ประเทศฟินแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 2012 ปัจจุบันซุปเปอร์พาร์คเปิดสาขาในฟินแลนด์รวม 10

Read More

เคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทย ปลุก “สตรีทฟูด” พลิกวิกฤต

เริ่มเคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ปี 2563 ท่ามกลางข้อมูลหลายสำนักที่ฟันธงในทิศทางเดียวกัน คือ “แย่” และต้องถือว่า 2 วันสุดท้ายของปี 2562 บรรดาห้างร้านต่างอัดงบจัดเต็มสร้างบรรยากาศการนับถอยหลัง เพื่อดูดเม็ดเงินก่อนปิดยอดขายรายได้ เพราะไม่ใช่แค่การชี้ขาดผลการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน แต่ยังหมายถึงผลสะท้อนความสำเร็จและความล้มเหลวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งใหญ่ หากประมวลตัวเลขต่างๆ แม้ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2563 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,223 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11-20 ธ.ค. 2562 คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจเมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9% จากปี 61 ที่มีมูลค่าการใช้จ่าย 135,279.74 ล้านบาท แต่อัตรา 1.9% กลับเป็นตัวเลขการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี สาเหตุหลักมาจากประชาชนกังวลภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังที่สุด โดยค่าใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวในประเทศ 60,449.57

Read More

ไอคอนสยามเร่งเฟส 2 สู้ศึก “เอเชียทีค” ทุ่มทุนระลอกใหม่

“ไอคอนสยาม” อภิมหาโครงการของค่ายสยามพิวรรธน์และเครือซีพี กำลังเร่งเสริมกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่บรรดากูรูต่างฟันธงตรงกันว่า ปี 2563 จะหนักหนาสาหัส โดยเฉพาะตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ รวมถึงแนวรบริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาจะดุเดือดเพิ่มอีกหลายเท่า เมื่อล่าสุด วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ของกลุ่มตระกูล “สิริวัฒนภักดี” ออกมาประกาศความพร้อมลุยขยายโครงการ “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์” ยกระดับเป็นมิกซ์ยูสโปรเจกต์ “จุดหมายปลายทางระดับโลก” พื้นที่รวม 100 ไร่ เม็ดเงินลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3-5 ปี และแบ่งเป็น 4 เฟส คือ 1. พื้นที่เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์เดิม จะต่อเติมหลังคาและปรับช่องลม-แดด เพื่อให้เปิดบริการได้ตลอดทั้งวันจากปัจจุบันที่เปิดให้บริการเฉพาะช่วงเย็นและกลางคืน 2. พื้นที่บริเวณโกดังเก่า 100,000 ตารางเมตร

Read More

ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ เดินหน้าโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม รองรับ EEC

ปัจจุบันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท กลายเป็นโครงการแห่งชาติที่สำคัญและกำลังได้รับการขับเคลื่อนจากรัฐบาลอย่างเต็มสูบ อีอีซีเป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยระยะแรกเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อส่งเสริมการลงทุน ยกระดับอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ คมนาคม และโลจิสติกส์ต่อไปในอนาคต ระยะเวลาที่ผ่านมาการขับเคลื่อนอีอีซีถือว่ามีความคืบหน้าออกมาให้เห็นเป็นระยะ มีการลงนามความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุนกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการเตรียมความพร้อม ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ไม่เฉพาะการเร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และการลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น แต่เรื่องของคน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่อยู่รายรอบต่างก็สำคัญ แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมนำมาซึ่งขยะและของเสียต่างๆ มากมาย การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซีจึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและบรรจุลงในแผนพัฒนาด้วยเช่นกัน สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซีนั้น พบว่าปัจจุบันมีปริมาณขยะสะสมมากถึง 6 ล้านตัน โดยปี 2561 ที่ผ่านมา ปริมาณขยะอยู่ที่ 4.2 พันตันต่อวัน และคาดว่าในปี

Read More

เฮือกสุดท้ายของอสังหาฯ ตัวแปรพลิกเศรษฐกิจไทย?

ต้องเรียกว่าสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในศักราชนี้ “หืดขึ้นคอ” กันเลยทีเดียวสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่อยู่อาศัย เพราะผลกระทบแง่ลบจากเศรษฐกิจโลกที่แผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทยอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาอุบัติ และไม่ใช่เพียงแค่อิทธิพลจากสงครามการค้าเท่านั้น ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ แม้จะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม หลายมูลเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นและไม่ใช้จ่ายเงินเข้าสู่ระบบเท่าที่ควร ไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปีจะเป็นช่วงเวลาที่อุดมไปด้วยบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย ความคึกคักที่มักปรากฏให้เห็นจนชินตา กลายเป็นภาพอดีตและถูกแทนที่ด้วยบรรยากาศความหงอยเหงาเศร้าซึม ไม่เว้นแม้แต่มหกรรมยานยนต์ที่ปกติจะสร้างสีสันในช่วงปลายปี ทว่าปีนี้ทุกอย่างกลับแสดงผลในทางตรงกันข้าม จะมีก็เพียงธุรกิจ E-Commerce ที่สามารถจุดพลุฉลองยอดขายและความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Marketplace เจ้าตลาดอย่าง Lazada Shopee หรือ JD Central ที่สองเจ้าแรกมีนายทุนใหญ่จากต่างชาติเข้ามาสร้างอาณาจักรและกอบโกยเงินเข้ากระเป๋าอย่างสนุกสนานด้วยแคมเปญลดราคาทุกๆ เดือน และ JD Central ที่เครือเซ็นทรัลจับมือกับ JD ที่มีบริษัทแม่อยู่ประเทศจีน ขณะที่ตลาดอสังหาฯ ดูเหมือนจะไร้กระแสลมบวกที่จะส่งให้กราฟตัวเลขยอดขายพุ่งทะยาน แม้ส่วนหนึ่งของผลกระทบที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ได้รับนั้นจะมาจากการออกมาตรการ LTV ของแบงก์ชาติ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่ลืมว่าโอเวอร์ซัปพลายที่เกิดขึ้นและล้นตลาดอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะสองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่เกิดจากการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการ โดยไม่ระวังสถานการณ์และความน่าจะเป็นของเศรษฐกิจในอนาคต การมองเพียงแง่มุมเดียวของผู้ประกอบการทำให้หลายค่ายเรียกร้องภาครัฐให้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อให้ซัปพลายที่มีอยู่ถูกดูดออกไปบ้าง ซึ่งนี่ทำให้เห็นมาตรการความช่วยเหลือที่รัฐบาลประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคำกล่าวอ้างของรัฐบาลที่มีต่อมาตรการเหล่านี้คือ ต้องการให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย แม้จะเป็นเหตุผลที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนเสียเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม และมาตรการที่รัฐออกมาเพื่อจะกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีคือ “โครงการบ้านดีมีดาวน์” ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยประชาชนที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อและโอนบ้านตั้งแต่วันที่ 27

Read More

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ: From Waste to Energy ทางออกของปัญหาขยะล้นเมือง?

ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย และสัตว์น้อยใหญ่ที่ต้องจบชีวิตจากเศษซากพลาสติกอันเป็นผลผลิตจากมนุษย์ ที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้งนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นผลพวงจากปัญหาขยะล้นเมืองแทบทั้งสิ้น “ขยะ” ยังคงเป็นปัญหาสากลที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงประเทศไทยเอง ที่ดีกรีความเข้มข้นของปัญหาดูยังไม่ลดน้อยถอยลงไปเลย และยังคงสร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตร่วมโลก ปริมาณขยะนับวันจะเพิ่มสูงมากขึ้น อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ชุมชนเกิดการขยายตัว วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เกิดการบริโภคที่มากขึ้น รวมถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวเร่งปริมาณขยะให้ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว จากสถิติของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 1.64 แต่มีปริมาณขยะมากถึง 10 ล้านตันที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี การสร้างความตระหนักรู้ในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อนำไปรีไซเคิล ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลาสติก ตลอดจนการนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่สังคมกำลังตื่นตัวและรณรงค์กันอยู่ในตอนนี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญและเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ตรงจุดและยั่งยืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการในการจัดการขยะที่เหมาะสม ทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปจากครัวเรือนและขยะจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีวิธีการกำจัดที่แตกต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักและความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เดิมทีมีการใช้วิธีการเผาและเทกองเพื่อฝังกลบ (Landfill) ในการจัดการขยะ แต่วิธีดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบและปัญหาอื่นๆ ตามมา ทั้งควันและกลิ่นจากการเผาขยะ

Read More

เจียไต๋เร่งปลุกภาพลักษณ์ ย้ำปฐมบทอาณาจักรซีพี

อีก 2 ปี หรือปี 2564 “เจียไต๋” เจ้าตลาดเมล็ดพันธุ์พืชในประเทศไทยจะฉลองใหญ่ในโอกาสดำเนินกิจการครบ 100 ปี โดยเฉพาะแผนปลุกภาพลักษณ์และสร้างการรับรู้ในฐานะปฐมบทของ “กลุ่มตระกูลเจียรวนนท์” จนก่อร่างสร้างอาณาจักรเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” มีรายได้จากธุรกิจทั้งหมดมากกว่า 5,527,711 ล้านบาท กำไร 420,000 ล้านบาท ล่าสุด บริษัท เจียไต๋ จำกัด ประเดิมฉลองสำนักงานใหญ่แห่งใหม่บนถนนสุขุมวิท สร้างแลนด์มาร์ก รับเทศกาลปีใหม่ โดยปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ลานหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ ขนาด 400 ตารางเมตร เป็นสวนผักและดอกไม้เมืองหนาวกว่า 10,000 ต้น ที่ส่งตรงจากภาคเหนือมา เช่น กุหลาบพันปี ไซคาแมน บีโกเนีย เทียนนิวกินี พืชผักนานาชนิดจากสายพันธุ์ที่พัฒนาจากนวัตกรรมการเกษตร ได้แก่ ผักกะหล่ำ ผักกาดขาวปลี กวางตุ้ง มะเขือเทศเชอรี่ และคะน้า เป้าหมายสำคัญไม่ใช่แค่การเปิดเกมรุกตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพท่ามกลางกระแสต่อต้านการบริโภคสินค้าปนเปื้อนสารเคมี แต่ยังต้องการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคในฐานะกิจการที่ถือเป็น DNA ของเครือซีพี ครอบคลุมตลาดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ

Read More

ออร์แกนิกมาร์เก็ต ดาวรุ่งพุ่งแรง สวนการเมืองพิษพาราควอต

แม้การเมืองพิษพาราควอตยังคุกรุ่น หลังคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน มีมติยืดการแบนสารเคมีพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส และจำกัดการใช้สารไกลโฟเสต สวนทางกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีพรรคภูมิใจไทยเป็นแกนหลัก ผลักดันห้ามใช้สารเคมีทั้ง 3 ตัว แต่ข้อมูลเรื่องอันตรายของสารเคมีในพืชผักผลไม้ที่หลั่งไหลออกสู่สาธารณะส่งผลให้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือ “ออร์แกนิก” คึกคักและมีแนวโน้มติดธุรกิจดาวรุ่งในปี 2563 ขณะเดียวกัน ตลาดสินค้าออร์แกนิกในไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เมื่อเทียบกับตลาดทั่วโลกที่มีมูลค่าสูงถึง 104,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราขยายตัวปีละ 20% โดยกลุ่มยุโรปและอเมริกาเหนือถือเป็นตลาดเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุด มีมูลค่ารวมกันคิดเป็น 90% แบ่งเป็นตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 45,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามด้วยตลาดเยอรมนี มูลค่า 10,040 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีมูลค่าเม็ดเงินราว 3,000 ล้านบาท และเป็นมูลค่าการส่งออกราว 2,100 ล้านบาท อัตราเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์หลังจากนี้ความต้องการจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ หากย้อนรอยตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย เริ่มชัดเจนระหว่างปี 2533-2534 จากกระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเทรนด์การบริโภค “อาหารเพื่อสุขภาพ” จนทำให้ธุรกิจอาหารสุขภาพเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เริ่มเปิดตัว โดยร้านค้ายุคแรกที่รู้จักกัน

Read More

เทสโก้โลตัสระส่ำ “กูร์เมต์-เซ็นทรัลฟู้ด” บุกหนัก

สมรภูมิธุรกิจฟู้ดรีเทลเคลื่อนไหวส่งท้ายปีอย่างน่าตื่นเต้น เมื่อค่ายเทสโก้โลตัส ประเทศไทย เจอกรณีบริษัทแม่ Tesco PLC ออกมายอมรับเรื่องแนวคิดตัดขายกิจการในเอเชีย ระบุ 2 ประเทศ คือ ไทยและมาเลเซีย ขณะที่ 2 ยักษ์ใหญ่ “เดอะมอลล์กรุ๊ป-เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล” เดินหน้างัดกลยุทธ์ช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดที่สูงถึง 1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางแนวรบใหม่กับไลฟ์สไตล์ใหม่ของกลุ่มผู้บริโภค เน้นกระแสสุขภาพมากขึ้นและหันมาทำอาหารรับประทานเองเพิ่มขึ้นด้วย กลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตและมินิซูเปอร์มาร์เก็ตจึงพลิกกลายเป็นเซกเมนต์ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะกลุ่มพรีเมียม มีการเลือกสรรสินค้า ทั้งในแง่คุณภาพ ความสด ปลอดสารเคมี และหลากหลาย ส่วน “ราคา” อาจไม่ใช่เหตุผลแรกในการตัดสินใจเหมือนเช่นในอดีต นายชัยรัตน์ เพชรดากูล ผู้อำนวยการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า เดอะมอลล์กรุ๊ปมีซูเปอร์มาร์เก็ต 2 แบรนด์หลัก คือโฮมเฟรชมาร์ทและกูร์เมต์มาร์เก็ต แต่หลังจากนี้จะปรับโฉมยกระดับเป็นกูร์เมต์มาร์เก็ตทั้งหมด เพื่อรองรับสถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นของซูเปอร์มาร์เก็ตเมืองไทย ซึ่งระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่กูร์เมต์มาร์เก็ตสามารถเจาะกลุ่มผู้บริโภค ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาศัยจุดแข็งด้านคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะผัก ผลไม้ และของทะเล

Read More

Gen Y กับวลี ‘ของมันต้องมี’ หนี้ครัวเรือนก็ต้องมา

นับเป็นอีกปีที่ไทยต้องเผชิญมรสุมที่พัดกระหน่ำมาจากรอบด้าน งานหนักของรัฐไทยชุดปัจจุบันที่ต้องนำพารัฐนาวาให้ผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปให้ได้ แม้ว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนจะเอื้อนเอ่ยถ้อยคำที่คล้ายให้กำลังใจตนเองมากกว่าว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถดถอย ไม่วิกฤต เพียงแต่ไร้แรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง ส่วนหนึ่งของต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไร้แรงขับเช่นในปัจจุบัน นั่นเพราะสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะงักงัน และอิทธิพลของสงครามการค้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นมูลเหตุของปัจจัย แน่นอนว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่จะยอมอ่อนข้อหรือเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เราจึงได้เห็นการโต้ตอบชนิดที่เรียกว่า สวนกันหมัดต่อหมัดบนเวทีการค้าโลก กระนั้นการระรานของสหรัฐฯ ยังขยายอิทธิพลไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก และไทยเองที่เป็นเพียงประเทศคู่ค้า เหมือนจะถูกระลอกคลื่นของสงครามครั้งนี้ในทุกระนาบ ประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลายตัวที่หากไม่ดับสนิท แต่ก็ไม่สามารถกู้สัญญาณชีพให้ฟื้นขึ้นมาได้ในเร็ววัน ทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนไปโดยปริยาย ปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นในระดับบนของระบบเท่านั้น ทว่าปัญหากลับแทรกซึมเข้าสู่เนื้อในของเครื่องจักร ทำให้แม้แต่ฟันเฟืองตัวเล็กๆ ก็ยากที่จะขับเคลื่อนได้เฉกเช่นวิกฤตที่ผ่านๆ มา ปีนี้นับเป็นอีกปีที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งหามาตรการออกมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทว่า ไทยยังต้องเผชิญกับยุคเข็ญทางเศรษฐกิจไปอีกพักใหญ่ เมื่อยังต้องอาศัยอานิสงส์จากกระแสลมบวกจากภายนอกเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่ารัฐจะหามาตรการใดออกมาใช้ แต่ดูเหมือนว่าชีพจรที่ควรจะฟื้นกลับมาเต็มสูบ ทำได้เพียงแผ่วเบา มีเพียงลมหายใจรวยรินที่ยังประคองชีพให้อยู่ไปได้แบบวันต่อวัน ขณะที่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ น่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสัดส่วนที่ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงขึ้นนั้นมาจากกลุ่มคน Gen Y นี่เป็นอีกประเด็นที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักเศรษฐศาสตร์ไทย เมื่อคน Gen Y เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในสังคมปัจจุบันในหลายแง่มุม Gen Y เป็นคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่ต้องการสร้างฐานะและความมั่นคง มีอิสระทางความคิด มั่นใจในตัวเอง เข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่มธุรกิจหรือนักการตลาด เพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง แม้ตัวเลขรายจ่ายต่อเดือนจะวิ่งควบตามหลังรายได้มาติดๆ การใช้จ่ายของ Gen

Read More