Home > Cover Story (Page 68)

ส่งออกติดลบฟื้นยาก สินค้าเกษตร-อาหาร ความต้องการพุ่ง

ส่งออกของไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ไว แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศจะอยู่ในเกณฑ์ดี ที่แสดงให้เห็นถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ เมื่ออีกหลายประเทศยังมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง และยังมีมาตรการคุมเข้มกึ่งล็อกดาวน์ ซึ่งป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อกำลังซื้อของประชากรโลกยังจับกลุ่มอยู่ในหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกของไทยที่หดตัวลงในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยที่ พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่า 16,444.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 23.17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,833.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.05% การค้าเกินดุล 1,610.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกมีมูลค่า 114,342.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.09% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 103,642.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.62% และการค้าเกินดุล 10,700.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การหดตัวของการส่งออกไทยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองในหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนกำลังลงและสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยที่หดตัวสูงในเดือนมิถุนายน

Read More

โรงงานญี่ปุ่นย้ายฐานสู่เวียดนาม อุตสาหกรรมไทยไร้แรงดึงดูด?

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกได้รับบทเรียนสำคัญ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยอันนำไปสู่การออกนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน เมื่อการระบาดของไวรัสในจีนส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากมาตรการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง และส่งผลกระทบด้าน Supply chain ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ การลดการพึ่งพาจีนจึงดูจะเป็นทางออกที่ดีจากบทเรียนครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นอาศัยจังหวะเวลานี้ ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัทญี่ปุ่นเพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เพื่อกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดและในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังตั้งลำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เริ่มมีประกายความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นตบเท้าเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น ทว่า สัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว ข้อมูลจาก Nikkei Asian Review ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตของ Panasonic สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างโรงงานในพื้นที่ใหม่ของบริษัทญี่ปุ่น เพราะช่วงศตวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2513-2522) บริษัทญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมายังสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะค่าเงินเยนแข็ง แต่เมื่อค่าแรงในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นเป้าหมายลำดับถัดมา และปัจจุบันหลายบริษัทกำลังย้ายออกจากประเทศไทย โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800

Read More

“ซินไฉฮั้ว” จัดหนัก ปูพรมร้านหยอดเหรียญ สร้าง “ฮับ”

“ซินไฉฮั้ว” แบรนด์ซักแห้งเจ้าแรกในประเทศไทยประกาศเจาะช่องว่างปูพรมสาขาทั่วเมือง โดยเฉพาะกลยุทธ์รุกแนวรบแฟรนไชส์ร้านซักผ้าหยอดเหรียญที่กำลัง “บูม” ทั่วเมือง ทั้งลดแลกแจกแถมขนานใหญ่ เพื่อปูทางสู่เป้าหมายใหญ่ตามแผนยุทธศาสตร์การสร้าง “ฮับ (Hub)” บุกขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ปี 2563 ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 กลายเป็นตัวหนุนภาพรวมตลาดแฟรนไชส์ เพราะความต้องการคนทำธุรกิจส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นและหันมาทำธุรกิจซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งร้านซักผ้าหยอดเหรียญเป็นหนึ่งในกิจการยอดนิยมที่มีนักลงทุนสนใจจำนวนมาก หากดูข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า ปัจจุบันมีบริษัทผู้ให้บริการธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ประมาณ 252 ราย ยอดทุนจดทะเบียนราว 1,214 ล้านบาท มีอัตราขยายตัวโดดเด่นที่สุดในกลุ่มธุรกิจบริการ โดยช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 มียอดจัดตั้งบริษัท 10 ราย เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9 เท่า มูลค่าทุนจดทะเบียน 21 ล้านบาท ขยายตัว 6 เท่าตัว ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.นนทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพราะอานิสงส์จากไลฟ์สไตล์ของคนสังคมเมืองที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการเครื่องซักผ้า ซึ่งส่วนมากติดตั้งตามคอนโดมิเนียมและหอพัก ทั้งนี้ กลุ่มแบรนด์ใหม่ๆ ที่กำลังเร่งขยายสาขาอย่างหนัก เช่น Mr. Jeff, WashCoin,

Read More

6 ทศวรรษ อาณาจักร “กระทิงแดง”

อาณาจักรธุรกิจแสนล้านของตระกูลอยู่วิทยา เริ่มต้นเมื่อ 60 กว่าปีก่อน เมื่อ “เฉลียว อยู่วิทยา” เซลล์ขายยาตัดสินใจตั้งบริษัทขายยา หจก. ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2499 โดยเช่าตึกในซอยรามบุตรี ถนนข้าวสาร เป็นที่ตั้งบริษัท และคิดค้นสูตรยาให้โรงงานผลิตยาในประเทศเยอรมนีเป็นผู้ผลิต เช่น เอ็นโดทาลีน (แก้ท้องเสีย) อลูแม็ก (แก้ปวดท้อง) ต่อมา เฉลียวตั้งโรงงานผลิตยาที่ตรอกสาเก หลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ ชื่อ บริษัท ที.ซี.มัยซิน อุตสาหกรรม จำกัด และพัฒนายาตัวใหม่ วางขายภายใต้ชื่อ “ทีซี มัยซิน” ทั้งยาแก้ปวด ยาแก้ไข้ ยาแก้ฝีหนอง ยาหยอดหู ยาหยอดตา เข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ช่วงปี 2511-2520 หจก.ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล ย้ายโรงงานผลิตยาจากตรอกสาเก มาตั้งที่ถนนเอกชัย เขตบางบอน และเริ่มขยายกลุ่มสินค้าจาก “ยา” สู่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอื่นๆ โดยเริ่มต้นสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางยี่ห้อ

Read More

สึนามิเศรษฐกิจ วิกฤตล้มละลายลามหนัก

นับถอยหลังโฉมหน้ารัฐบาล “ประยุทธ์ 2/2” ทุกฝ่ายต่างจับจ้องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาผลพวงจากพิษโควิด-19 โดยเฉพาะรอบนี้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” และอาจลุกลามกลายเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ” ลูกใหญ่ซัดกระหน่ำทั่วทั้งโลก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน ก็คือ สถานการณ์การล้มละลายต่อเนื่องเหมือนโดมิโน ตั้งแต่ระดับยักษ์ใหญ่จนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ในต่างประเทศ กลุ่มออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างระเบิดเวลาการล้มละลายและคาดการณ์จำนวนบริษัทล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างปี 2562-2564 และราวครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกจะมีบริษัทล้มละลายสูงสุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 57% ในปี 2564 เทียบกับปี 2562 ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น บราซิลจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น 45% สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 43% สเปนเพิ่มขึ้น 41% ส่วนจีนอยู่ที่ 20% ผลวิจัยย้ำด้วยว่า ยิ่งบริษัทยื่นล้มละลายมีขนาดใหญ่เท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิด “Domino Effect” ยิ่งสูงขึ้น โดยมี 2 ภาวการณ์ที่จะเร่งการล้มละลายสูงขึ้น

Read More

ศึกไก่ทอด “เซ็นทรัล-ไทยเบฟ” ฮุบแฟรนไชส์ KFC ยึดเพิ่ม 200 สาขา

สงครามฟาสต์ฟูดไก่ทอดในไทยมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท เริ่มร้อนระอุเมื่อมีรายงานข่าวว่า บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ 1 ใน 3 แฟรนไชซีร้านเคเอฟซีในประเทศไทย มีสาขามากถึง 200 สาขา กำลังศึกษาแนวทางการขายสิทธิ์แฟรนไชส์ มูลค่าประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร่วม ๆ 6,200 ล้านบาท โดยกลุ่มเซ็นทรัลส่งซิกจะฮุบดีลนี้ เพื่อต่อยอดธุรกิจอาหารในเครือและผลักดันรายได้แก้พิษโควิดแบบก้าวกระโดด เหตุผลสำคัญ คือ แบรนด์เคเอฟซี (KFC) ติดตลาดและสามารถสร้างเม็ดเงินการเติบโตให้บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ “ซีอาร์จี” เติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดหลายเดือนที่ผ่านมา เคเอฟซียังทำยอดขายได้ดีในระดับหนึ่งและมีช่องทางการขายเข้าถึงผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ปัจจุบันธุรกิจร้านไก่ทอดเคเอฟซีในประเทศไทยมีจำนวนรวมประมาณ 767 สาขา อยู่ภายใต้การบริหารของแฟรนไชซี 3 ราย รายแรก ซีอาร์จี ผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์มาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีสาขารวม 282 สาขา รายที่ 2 บริษัท

Read More

ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง สัญญาณความอ่อนแอเศรษฐกิจไทย

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวจนไปถึงขั้นชะงักงัน ทั้งปัจจัยภายในที่ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อความไม่มั่นใจด้านการลงทุน หรือปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่สร้างคลื่นระลอกใหญ่ส่งผลกระทบไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะวิกฤตมาได้ระยะหนึ่ง กำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด ทว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายเป็นสัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ที่ทำลายระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากเป็นวงกว้างขึ้น นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินต่างๆ วิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยค่อยๆ ไต่อันดับลงอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส บทวิเคราะห์เศรษฐกิจจึงเป็นไปในทิศทางที่ว่า เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะพ้นจากวิกฤตและสามารถฟื้นฟูไปถึงขั้นเติบโตได้อีกครั้ง ความง่อนแง่นของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศไทย เห็นได้จากความสามารถในการจับจ่ายซื้อสินค้าในปริมาณที่ลดลง และใช้จ่ายแต่เฉพาะที่จำเป็น รวมไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ค่อยๆ สูงขึ้น ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้านสัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยต่อจีดีพีใน 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยในปี 2560 หนี้ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนต่อจีดีพีอยู่ที่ 78.1 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 78.4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2561 ในปีถัดมา 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 79.8 เปอร์เซ็นต์ กระทั่งมาถึงปี 2563 ในไตรมาสแรกที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 80.1 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่า ภาคครัวเรือนของไทยกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม ทั้งนี้ แม้ภาพดังกล่าวจะตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไทยกำลังเผชิญ แต่ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะ 1.2 ปีข้างหน้านี้

Read More

COVID-19 เป็นเหตุ ฉุด FDI ทั่วโลกซบเซา

ผลพวงจากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระทบทั่วโลก และมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) โดยจากการคาดการณ์ล่าสุดของ UNCTAD เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 ระบุว่า Global FDI จะลดลงประมาณร้อยละ-30 ถึง -40 ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของ OECD ที่มีมาก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในภาวะหดตัวลง ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากมาตรการปิดเมืองซึ่งทำให้โปรเจกต์การลงทุนประสบความล่าช้าหรืออาจโดนยกเลิก โดยมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ส่งผลให้โครงการการลงทุนหลายแห่งถูกเลื่อนออกไป หรืออาจถูกยกเลิกจากความเสี่ยงที่โครงการเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลสถิติของ UNCTAD พบว่าโครงการการเงิน(Project finance) ทั่วโลกในเดือนเมษายนลดลงประมาณร้อยละ -40 จากค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2019 และลดลงเกือบถึงร้อยละ -50 จากเดือนมีนาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการหดตัวจากโครงการการเงินในประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของโครงการการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ FDI ในปีนี้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้บริษัทมีกำไรลดลง หรือบางบริษัทอาจมีความจำเป็นต้องปิดกิจการ จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มลดลงมาก โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมกระทบถึงกำไรของบริษัท จึงทำให้บริษัทวางแผนการลงทุนที่รัดกุมมากขึ้น ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมโดย UNCTAD พบว่าบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises :

Read More

ผลกระทบพิษ COVID-19 ส่งแรงงาน-บัณฑิตใหม่ว่างงาน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและการจ้างงาน ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการช่วยเหลือทุกกลุ่ม ในขณะที่แนวโน้มการเลิกจ้างยังคงมีอยู่แม้ว่าสถานการณ์การระบาดในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มจะคลี่คลาย ก่อนที่จะเกิดกรณีผู้ได้รับการยกเว้นจากต่างประเทศนำเชื้อเข้ามาใหม่อย่างไร้การควบคุม จนเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณามาตรการควบคุมใหม่อีกครั้ง ข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการมากถึง 4,458 แห่ง ที่ยื่นขอใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างเป็นจำนวน 896,330 คน รวม 247,031 วัน โดยในจำนวนนี้หยุดกิจการบางส่วน 2,117 แห่ง หยุดกิจการทั้งหมด 3,030 แห่ง สำหรับประเภทกิจการที่ใช้มาตรา 75 มากที่สุดอันดับ 1 อยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อันดับ 2 เป็นกิจการโรงแรมและภัตตาคารและอันดับ 3 เป็นกิจการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ เช่น บริการจัดหางานและการสรรหาบุคลากร การให้เช่า การขาย

Read More

38 ปี โรงแรมรอยัล ออคิด สมบัติผลัดกันฟันกำไร

“รอยัล ออคิด” ปักหมุดสร้างความหรูหราริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาบนเส้นทางธุรกิจนานเกือบ 40 ปี โดยเปลี่ยนผ่านมือทุนยักษ์ใหญ่หลายค่าย กลายเป็น “สมบัติ” ผลัดกันสร้างรายได้และกำไร จนล่าสุด ผู้ถือหุ้นใหญ่ยุคปัจจุบัน คือ บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ในเครือ “พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค” ประกาศเร่งเปลี่ยนมือปิดดีลขายกิจการโรงแรมแห่งนี้ภายในเดือนกรกฎาคม และคาดว่าจะฟันมูลค่าเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท หากถามถึงเหตุผลสำคัญในการตัดขายกิจการ ทั้งที่ทีมผู้บริหารระบุทุกครั้งกับสื่อว่า รอยัล ออคิด เชอราตัน มีทำเลริมน้ำดีเยี่ยม อยู่ฝั่งตรงข้ามกับแลนด์มาร์กขนาดใหญ่ “ไอคอนสยาม” และอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งศูนย์การค้าเอเชียทีค ศูนย์การค้าแนวศิลปะ ล้ง 1919 และตลาดเก่าแก่คลองสาน คำตอบ คือ เรื่องความถนัด เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการสร้างที่อยู่อาศัยหลากหลายรูปแบบและโครงการในอนาคตพุ่งเป้าโปรเจกต์มิกซ์ยูส ขณะที่การเลือกตัดขายกิจการสามารถสร้างผลกำไรมากกว่า ซึ่งโชคดีที่พอร์ตธุรกิจมีสัดส่วนโรงแรมไม่ถึง 20% จึงบาดเจ็บจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ไม่มาก ชายนิด อรรถญาณสกุล

Read More