Home > Cover Story (Page 63)

ท่องเที่ยวไทยไร้ทางรอด เอกชนหวังเร่งเปิดประเทศ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยซึ่งถือเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันด้วยเหตุที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างอิสระ รวมถึงการปิดประเทศ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งร้างไร้ผู้คน จนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างขาดรายได้ไปโดยปริยาย ภาพถนนข้าวสารที่เคยคึกคักและคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก จนทำให้เป็นประหนึ่งถนนที่ไม่มีวันหลับ หากแต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยการปิดเมืองในช่วงปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ถนนที่เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยต้องร้างไร้ไม่มีนักท่องเที่ยว และเป็นเหตุให้ร้านค้า ร้านอาหาร บริษัทให้บริการท่องเที่ยว และโรงแรมต่างปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยมีการประเมินว่ารายได้ในส่วนนี้หดหายไปมากกว่าร้อยละ 70-80 อีกด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกที่เกี่ยวข้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงภาคการท่องเที่ยวที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP และมีการจ้างงานรวมมากกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 ได้ มูลเหตุสำคัญที่ทำให้มาตรการ “ไทยเที่ยวไทย” ไม่สามารถพยุงภาคการท่องเที่ยวโดยรวมได้มากนักเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ในลักษณะของ “ไทยเที่ยวไทย” โดยปกติมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ภาคท่องเที่ยวทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังกระจุกตัวในบางจังหวัดและบางช่วงเวลา ยังไม่นับรวมประเด็นว่าด้วยผลของมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยยังเป็นไปอย่างจำกัด ข้อเรียกร้องสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาว่าด้วยการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยจึงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นมาตรการจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพยุงธุรกิจท่องเที่ยวให้รอดพ้นจากความล่มสลายจากผลของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างเชื่อว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในห้วงเวลาจากนี้ ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่คุ้มกับความเสี่ยง

Read More

เซ็นทรัลเร่งปูพรม “อาริกาโตะ” ปลุก “บัตเตอร์เบียร์” รับเทศกาล

เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล เปิดเกมช่วงชิงลูกค้ากลุ่มคอกาแฟรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ โดยเล่นกิมมิกประจำปีปลุกเมนูในตำนานโลกเวทมนตร์ Butter Beer เพื่อรุกสงคราม 2 ด้าน ด้านหนึ่งสร้างสีสันให้ร้านแฟมิลี่มาร์ทลุยสมรภูมิคอนวีเนียนสโตร์ อีกด้านเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ Coffee Arigato หลังจากลุยตลาดคอนวีเนียนคาเฟ่แบบรุกคืบมานานกว่า 3 ปี ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ร้านสะดวกซื้อ แฟมิลี่มาร์ท มีจำนวนสาขาทั่วประเทศรวม 966 สาขา ขณะที่คอฟฟี่ อาริกาโตะ ล่าสุดมี 446 สาขา แบ่งเป็นเคาน์เตอร์ในร้านแฟมิลี่มาร์ท จำนวน 328 สาขา และเคาน์เตอร์กระจายอยู่ตามฟู้ดสโตร์แบรนด์ต่างๆ ในเครือเซ็นทรัลฟู้ดฯ ทั้งท็อปส์มาร์เก็ต ท็อปส์ซูเปอร์สโตร์ ท็อปส์เดลี่ และเซ็นทรัล ฟู้ดฮอลล์ อีก 118 สาขา ต้องยอมรับว่า เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทลพยายามหาจุดแข็งของร้านกาแฟในร้านสะดวกซื้อและปรับกลยุทธ์หลายรอบ

Read More

“คนละครึ่ง” อัดฉีดเม็ดเงิน ฟื้นโชวห่วยแข่งยักษ์สะดวกซื้อ

ชัดเจนแล้วว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศขยายโครงการคนละครึ่ง เฟส 2 เป็นของขวัญปีใหม่ 1 มกราคม 2564 หลังกระแสตอบรับดีเยี่ยม ไม่ใช่แค่เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ กระตุ้นจีดีพี แต่ที่สำคัญกลายเป็นมาตรการพลิกฟื้นธุรกิจร้านโชวห่วยให้กลับมาคึกคัก มียอดขายพุ่งพรวดเท่าตัว เบื้องต้น รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุเงื่อนไขเบื้องต้นว่า หากใครที่ลงทะเบียนคนละครึ่งในเฟส 1 สำเร็จ เมื่อมีการเปิดเฟส 2 จะมีปุ่มให้กดยืนยันจะเข้าร่วมในเฟส 2 หรือไม่ แต่มีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องใช้วงเงิน 3,000 บาทหมดภายในเดือนธันวาคมนี้ นั่นย่อมหมายถึงกระตุ้นการจับจ่ายช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2563 จากจำนวนประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์เฟสแรก 10 ล้านคน และรัฐบาลตั้งเป้าหมายขยายเฟส 2 ทั้งในแง่จำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ วงเงินการใช้จ่ายเพิ่มจาก 3,000 บาท รวมถึงระยะเวลาการใช้จ่าย ซึ่งช่วงต้นปีมีเทศกาลสำคัญๆ ทั้งเทศกาลปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน และอาจยาวไปถึงเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ หากดูตัวเลขเฉพาะโครงการคนละครึ่งเฟส 1 ที่เปิดให้ผู้ได้รับสิทธิ์ใช้วงเงินจับจ่ายตั้งแต่วันที่

Read More

เซเว่นฯ ลุยอัปเกรดสินค้า พิซซ่า เบเกอรี่ ของสด สู้ “คนละครึ่ง”

ยักษ์ใหญ่สะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น ดูเหมือนต้องเร่งเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ All Convenience และปรับกลยุทธ์ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยเฉพาะการสร้างจุดขายและแรงดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่แห่ไปจับจ่ายสินค้าในร้านโชวห่วยรายย่อยภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” ของรัฐบาล คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ขณะที่มาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ซึ่งร้านสะดวกซื้ออยู่ในกลุ่มร้านค้าตามโครงการ โดยประชาชนสามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษีจากค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคนนั้น กระแสความนิยมของผู้คนไม่แรงเท่าโครงการคนละครึ่ง เนื่องจากต้องรอการหักลดหย่อนภาษีและมูลค่าที่ได้ขึ้นอยู่กับฐานรายได้ของประชาชนแต่ละคน ฐานรายได้สูงจึงจะได้รับการลดหย่อนสูง สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ ร้านสะดวกซื้อทุกค่ายต่างต้องทำโปรโมชั่นและเพิ่มสินค้าใหม่ที่แตกต่างจากร้านโชวห่วย ซึ่งเซเว่นอีเลฟเว่นมีการปรับกลยุทธ์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการเพิ่มสินค้าใหม่หมวดอาหาร เบเกอรี่ หรือแม้กระทั่งของสด เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง เข้ามาอยู่ในตู้แช่มากขึ้น รวมทั้งจัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมในกลุ่มสินค้าที่ไม่มีจำหน่ายในร้านโชวห่วยทั่วไป อย่างล่าสุด กลุ่มธุรกิจ คัดสรร เบเกอรี่ แอนด์ คาเฟ่ ธุรกิจเบเกอรี่และเครื่องดื่มในเครือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น งัดแคมเปญใหม่กระตุ้นแบรนด์ “พิซซ่าคาเฟ่” ซึ่งเพิ่งเปิดเคาน์เตอร์จำหน่ายเมื่อ 2 เดือนก่อน จัดโปรโมชั่นจากปกติ

Read More

เวียดนามคู่แข่งไทยส่งออกข้าว รัฐต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้

ช่วงไตรมาสแรกของปีที่เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังอยู่ในขั้นวิกฤต สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในช่วงเวลานั้นมีสัญญาณเป็นไปในทางที่ดี ทั้งจากเวียดนามที่ต้องจำกัดการส่งออกข้าว มีการคาดการณ์ว่าไทยน่าจะได้รับอานิสงส์การส่งออกข้าวได้มากขึ้น ทว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.) ตัวเลขที่แสดงออกมากลับให้ผลตรงกันข้าม เมื่อสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยยอดตัวเลขการส่งออกข้าว ว่าไทยทำได้เพียง 3.14 ล้านตัน ลดลง 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ไทยถูกเบียดให้มายืนอยู่ในอันดับสาม รองจากอินเดียและเวียดนาม เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลายแม้จะยังไม่สิ้นสุด แต่สถานการณ์การส่งออกที่กลับมาดำเนินกิจการได้ ทำให้หลายฝ่ายพอจะมองเห็นสัญญาณในทางที่ดีว่าภาคการส่งออกน่าจะกลับมาเดินเครื่องและอาจช่วยให้ตัวเลขจีดีพีไทยไม่ติดลบมากนัก กระนั้นปัจจัยแวดล้อมด้านลบก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดต่างชาติลดลงไปด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยอยู่ในช่วงแข็งค่าที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าส่ง และประเด็นสำคัญคือ พันธุ์ข้าวไทยในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคแล้ว แม้ว่าผู้ส่งออกข้าวจะยอมรับว่าคู่แข่งสำคัญในตลาดค้าข้าวโลกคือ ประเทศอินเดีย ทว่า ในระยะหลังกลุ่มผู้ส่งออกข้าวต้องรับมือกับคู่แข่งที่เหมือนจะเป็นม้ามืดในวงการนี้ คือ เวียดนาม ที่มุ่งมั่นพัฒนาพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีเป้าหมายอยู่แค่เป็นผู้ส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกเป็นอันดับต้นๆ เท่านั้น แต่พัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดค้าข้าวจากเจ้าตลาดเดิมให้ได้ มีบทความที่เผยแพร่โดย BIOTHAI ว่า เวียดนามพัฒนาข้าวสายพันธุ์ ST25 จนกลายเป็นข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก จากการประกวดระหว่างการประชุมข้าวโลกเมื่อปี 2019 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเกิดจากการสนับสนุนการวิจัยโดยหน่วยงานวิจัยของรัฐในระดับจังหวัดของรัฐบาลเวียดนามเป็นสำคัญ และ Ho Quang Cua ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการเกษตรและพัฒนาชนบทของจังหวัด

Read More

ข้อตกลง RCEP โอกาสใหม่ของไทย?

การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เมื่อช่วงสัปดาห์ผ่านมา กลายเป็นความสำเร็จและความก้าวหน้าครั้งสำคัญของ ASEAN ในการแสวงหาความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนครอบคลุมเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กรอบ ASEAN+3 และ ASEAN+6 หลังจากที่แต่ละฝ่ายดำเนินความพยายามผลักดันมานานเกือบ 1 ทศวรรษ กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมในความตกลง RCEP นอกจากจะประกอบด้วยประเทศในกลุ่ม ASEAN รวม 10 ประเทศแล้ว ยังประกอบด้วย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมเป็น 15 ประเทศ ซึ่งทำให้ RCEP เป็นเขตการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย RCEP มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 27,530 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น ร้อยละ 27.7 ของเศรษฐกิจโลก และเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีประชากรรวมกว่า 3,549 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

ปตท. รุกหนัก เบนเข็มสู่ไฟฟ้า

การประกาศที่จะขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจใหม่ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีนัยสำคัญอยู่ที่การขยายธุรกิจใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีแนวโน้มเติบโต ทั้งการเข้าสู่ธุรกิจวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการรุกเข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในด้านหนึ่งดูจะเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการขับเคลื่อน ปตท. ให้ก้าวเดินต่อไป เป็นการปรับเปลี่ยนที่สอดรับกับทั้งสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อนหน้านี้ ปตท. เคยระบุว่าทางกลุ่มอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างธุรกิจไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการระหว่างเชื้อเพลิงประเภท Conventional ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน กับประเภท New Energy ที่ประกอบด้วยพลังงานหมุนเวียน (Renewable) พลังงานรูปแบบใหม่ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางของพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคาดว่าจะมีข้อสรุปภายในช่วงปลายปี 2563 การปรับโครงสร้างธุรกิจดังกล่าวในด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าการเติบโตของพลังงานของโลกในอนาคตจะมุ่งไปสู่พลังงานรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น แม้ว่าในส่วนของการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังมีความสำคัญอยู่ในช่วง 10 ปีนี้ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ เพราะถือว่าเป็นพลังงานสะอาดและเป็นพลังงานหลักที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาวก็ตาม ระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. แม้จะมีบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเป็นแกนหลัก แต่ ปตท. มอบหมายให้บริษัทลูกในเครือ ปตท.

Read More

ชัยชนะของ โจ ไบเดน และอานิสงส์ที่ไทยได้รับ

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลให้ โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังจะกลายเป็นอดีตประธานาธิบดี โดยมีโจ ไบเดน ในวัย 77 ปี ซึ่งชนะการเลือกตั้งกลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนใหม่ พร้อมกับสถิติการเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังปรากฏผลการเลือกตั้งที่ชัดเจนมากขึ้น ในด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าจะทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะงักงันจากผลของกรณีพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ต่อเนื่องยาวนานน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จากผลของนโยบายด้านการต่างประเทศของโจ ไบเดน ที่มีลักษณะผ่อนปรนและประนีประนอมมากกว่านโยบายแข็งกร้าวที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำเนินมาตลอดระยะ 4 ปีที่เขาครองอำนาจในทำเนียบขาว นักวิเคราะห์จำนวนมากประเมินว่า นโยบายของโจ ไบเดน จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจภูมิภาค เศรษฐกิจไทย และตลาดการเงิน รวมทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลายลักษณะ ซึ่งโดยภาพรวมเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากโจ ไบเดนมีแนวคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมผสมสังคมนิยมประชาธิปไตยอ่อนๆ ถือเป็นกลุ่มผู้นำทางการเมืองสายกลาง ซึ่งจะทำให้การเผชิญหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกจะลดลง และมีเสถียรภาพ สันติภาพมากขึ้น ขณะที่ระบบการค้าเสรีของโลกภายใต้ข้อตกลงแบบพหุภาคี จะกลับมามีบทบาทมากขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาอาจเริ่มต้นพิจารณาเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) อีกครั้ง

Read More

BOI กระตุ้นการลงทุนส่งท้ายปี เน้นยานยนต์ไฟฟ้าตามเทรนด์โลก

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในอีกหลายประเทศทั่วโลกต่างประสบกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวัคซีนที่ถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ก็ตาม ทว่า การพยายามก้าวต่อไปข้างหน้า ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในห้วงยามนี้ ในหลายประเทศมีมาตรการกระตุ้นเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า หรืออย่างน้อยๆ ก็พอจะพยุงตัวและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง การชะลอตัวของการลงทุนเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิดจะอุบัติ แน่นอนว่าความเป็นไปบนโลกส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุน เพราะเม็ดเงินที่ลงทุนไปในช่วงแรกย่อมต้องหมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงเดินหน้า จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากนักลงทุนชะลอเพื่อเฝ้ารอดูเหตุการณ์ ภาครัฐพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะให้นักลงทุนที่เคยส่งสัญญาณว่าจะเข้ามาสร้างฐานการผลิตในไทยยังคงดำเนินไปแม้จะมีอุปสรรคมาขัดขวางก็ตาม เพราะสิ่งที่ตามมาสร้างผลดีให้เกิดแก่สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศหลายระนาบด้วยกัน จังหวะการก้าวของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในช่วงท้ายปีดูจะเป็นแรงกระตุ้นชีพจรทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ด้วยหวังว่าจะช่วยพลิกสถานการณ์ให้กระเตื้องขึ้น โดยดวงใจ อัศวจิตนจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายด้าน โดยเปิดประเภทกิจการให้การส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม ได้แก่ กิจการโรงพยาบาลผู้สูงอายุ กิจการดูแลผู้สูงอายุ และกิจการวิจัยทางคลินิก พร้อมทั้งเปิดให้การส่งเสริมรอบใหม่อีก 2 ประเภท คือ กิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และกิจการเพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก รวมทั้งการขยายเวลาและปรับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน สำหรับการส่งเสริมการลงทุนกิจการบริการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกิจการดูแลผู้ส่งอายุแบบครบวงจรรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 นอกจากนี้ บีโอไอ ยังส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการแพทย์ของไทย โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งด้านการผลิต บริการ การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเป็นโอกาสให้สถาบันการแพทย์ของไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่จะมาดำเนินการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย และดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมที่เป็นพระเอกที่บีโอไอจะให้การสนับสนุนคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้ทุกอุตสาหกรรมเผชิญกับภาวะวิกฤต สถานการณ์ในปัจจุบันแม้จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวในด้านต่างๆ ทว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้เกิดการพัฒนารวมไปถึงการต่อยอดทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆ

Read More