Home > Cover Story (Page 62)

เศรษฐกิจไทยปีฉลู 2021 ความหวังที่เตรียมฉลองฉลุย?

ความเป็นไปของสังคมเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2020 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ดูจะเป็นขวบปีแห่งความยากลำบากและเป็นปีแห่งการสูญเสียที่ทำให้ประเทศไทยต้อง ชวด โอกาสหลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์และสถาบันวิจัยจำนวนมากต่างเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาถดถอยต่อเนื่องมานาน ได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงปลายปี 2019 และมีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2020 แต่เหตุไม่คาดฝันว่าด้วยการอุบัติขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 ในลักษณะ pandemic หรือการระบาดใหญ่ที่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกได้ฉุดให้สถานการณ์กลับตาลปัตร ผิดไปจากที่ผู้คนคาดหวังไว้ ประเด็นสำคัญซึ่งถือเป็นความเปราะบางของเศรษฐกิจสังคมไทยก็คือ ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอกว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ อย่างมาก เห็นได้จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เทียบกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย IMF คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2020 ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวลงร้อยละ 4.4 และจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในปี 2021 พร้อมกับระบุว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่จะหดตัวลงร้อยละ 5.7 ในปี 2020 และจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2021 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า GDP ไทยจะปรับลดลงร้อยละ 7.8 ในปีนี้และขยายตัวร้อยละ 3.5 ในปีหน้า กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจไทยตกต่ำรุนแรงกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

Read More

โควิดระบาดระลอกใหม่ เสี่ยงล็อกดาวน์ กระทบเศรษฐกิจ

หลังการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี ไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการจัดการด้านสาธารณสุขในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าปัจจุบันจะยังพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้าง ทว่าก็เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น สถานการณ์ภายในประเทศเริ่มดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ห้างร้านที่เคยหยุดกิจการไปในช่วงเวลาหนึ่ง สามารถกลับมาสู่รูปแบบเกือบปกติ ภาครัฐหว่านนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับ และผลออกมาเป็นที่น่าพอใจของทุกฝ่าย ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยเศรษฐกิจเกือบทุกสถาบันประเมินว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่มีการระบาดระลอกใหม่ และรัฐบาลออกมาตรการหนุนนำเศรษฐกิจ พร้อมทั้งประชาชนที่มีกำลังซื้อนำเงินออกมาจับจ่ายตามสมควร การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในประเทศทำให้เกิดภาวะความต้องการแรงงานจำนวนมาก ในขณะเดียวกันกับที่แรงงานจากภายนอกก็ต้องการกลับเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน กระทั่งเกิดการลักลอบเข้าไทยตามเส้นทางธรรมชาติถี่ขึ้นจนปรากฎบนหน้าข่าวหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์แทบทุกสำนัก นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากการทำงานอย่างหนักของเจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถหยุดการกระทำดังกล่าวได้ แน่นอนว่า ด้วยอาณาเขตของไทยที่มีชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาเป็นระยะทางยาวหลายพันกิโลเมตร เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจไม่สามารถควบคุมและดูแลพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับมีกลุ่มบุคคลที่แสวงหาผลประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว ด้วยการรับจ้างขนแรงงานต่างด้าวข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่หรือระลอกสองเริ่มขึ้นเมื่อ ศบค. แถลงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า พบผู้ติดเชื้อในประเทศจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 1 ราย เป็นเจ้าของแพปลา และในวันที่ 19 ธันวาคม พบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 12 ราย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันทำให้ภาครัฐต้องดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพบการติดเชื้อในแรงงานต่างด้าวจำนวน 516 ราย และมีการติดเชื้อภายในประเทศอีก 19 ราย ในวันที่ 20 ธันวาคม การพบผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแตะหลักร้อยภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่งผลให้พ่อเมืองจังหวัดสมุทรสาครประกาศใช้มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Read More

พินิจปัจจัยฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ส่งจีดีพีไทยติดลบน้อยลง

เศรษฐกิจไทยเดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของศักราช พร้อมกับรอยแผลที่บาดลึกจนเกิดแผลเป็น ที่แน่นอนแล้วว่า ผลพวงนั้นจะยังคงตามติดไปจนถึงศักราชใหม่อย่างไม่อาจเลี่ยง วิกฤตจากเชื้อไวรัสโควิดสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนไม่น้อย ผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายใหญ่ ต้องเผชิญกับความยากเข็ญในช่วงที่ผ่านมา หากสายป่านยาวอาจจะพอใช้ให้ยืนระยะต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรืออาจถาวร ด้านตลาดแรงงานไทยประสบปัญหาจากวิกฤตนี้ไม่ต่างกัน ข่าวเลิกจ้าง ลดค่าแรง ลดเวลาทำงาน ที่ปรากฏให้เห็นแบบรายวัน ส่งผลต่อรายได้ของประชาชนแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัจจัยด้านรายได้นี้กระทบต่อความสามารถในการดำรงชีวิต การจับจ่ายใช้สอย การชำระหนี้ อันนำมาซึ่งหนี้เสีย และกำลังซื้อของภาคประชาชนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในปีนี้ค่อยๆ ไต่ระดับลงจนกระทั่งติดลบในที่สุด แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยค่อยๆ ลดจำนวนลง และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไทยสร้างชื่อด้วยการควบคุมเชื้อไวรัสให้อยู่ในวงจำกัดได้เป็นอย่างดี ด้านรัฐบาลพยายามเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับฟันเฟือง และประชาชนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในวิกฤตที่เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่และรอคอยวัคซีนด้วยความหวังที่จะทำให้วิกฤตนี้สิ้นสุดลง บริษัทผลิตวัคซีนเร่งพัฒนา ทดสอบ และผลิตเพื่อนำออกมาใช้กับประชากรโลก หลายประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อีกหลายประเทศควบคุมสถานการณ์ของเชื้อไวรัสในประเทศตัวเองได้ดีพอสมควร ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ EIC หรือ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 เป็นหดตัวน้อยลงที่ -6.5% จากเดิมคาดว่า -7.8% มูลเหตุมาจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2020 โดยจากข้อมูล GDP ในช่วงไตรมาส 3

Read More

COVID ระบาดระลอก 2 เผยรูรั่วมาตรการรัฐไทย

ข่าวการลักลอบกลับเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติของแรงงานชาวไทยที่ไปทำงานอยู่ในเมียนมาเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมกับข่าวการพบเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในวงกว้างจนมีสถานะที่เป็น super spreader ที่ยากจะควบคุมพื้นที่ในการสกัดและป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ กำลังเป็นภาพสะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการของกลไกภาครัฐว่าหย่อนยานและมีความบกพร่องอย่างไร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. พยายามเน้นย้ำในมาตรการป้องกัน ควบคู่กับการสร้างมายาภาพให้ COVID-19 เป็นประหนึ่งปิศาจร้ายที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกันสกัดกั้นและควบคุมอย่างเข้มงวด จนนำไปสู่มาตรการปิดเมือง ระงับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางหลากหลายเป็นระยะเวลาหลายเดือนก่อนที่จะมีการผ่อนปรนมาตรการเข้มงวดเหล่านั้นให้คลี่คลายเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ หรือ new normal ในสังคมไทยอย่างช้าๆ ท่ามกลางข้อเท็จจริงว่าด้วยความสูญเสียทางเศรษฐกิจเบื้องต้นที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องสูญเสียอีกเป็นจำนวนเท่าใดในการฟื้นฟูกลไกเศรษฐกิจไทยให้กลับมาดำเนินไปข้างหน้าอีกครั้ง ท่ามกลางซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดที่เข้มงวดเกินกว่าที่ควรหรือเกินความจำเป็นในช่วงก่อนหน้า ทำให้เสียงเรียกร้องในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มระดับความดังขึ้นเป็นระยะ ขณะที่กลไกรัฐไทยเริ่มตระหนักถึงความชะงักงันทางเศรษฐกิจที่เกิดจากมาตรการควบคุมที่ห่มคลุมด้วยมายาภาพของปิศาจร้าย COVID-19 เริ่มออกมาตรการส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่ายในทุกระดับและกระจายออกไปสู่ต่างจังหวัดไม่ว่าเป็นโครงการออกไปเที่ยว ไปเที่ยวด้วยกัน ด้วยหวังว่าโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวในลักษณะเช่นนี้จะช่วยนำพาและกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่สูญเสียรายได้อย่างหนักตลอดระยะเวลาที่รัฐห้ามการเดินทางและการปิดประเทศที่ทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศหดหายไปจากภูมิทัศน์การท่องเที่ยวของไทย ความพยายามของรัฐไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจดำเนินไปไกลถึงขนาดที่ยอมผ่อนปรนให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มเดินทางเข้าประเทศได้ด้วยช่องทางพิเศษหรือที่เรียกว่า special tourist visa ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องพำนักในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน หรือ long stay ตามมาตรการผ่อนปรนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปีที่เป็นช่วงเทศกาลและฤดูการเดินทางท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย ก่อนหน้าที่จะมีข่าวการลักลอบกลับเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติของแรงงานชาวไทย แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือทั้งเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และอีกหลายจังหวัดดูจะกำลังได้รับอานิสงส์จากมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐไม่น้อยจากข้อเท็จจริงที่ว่าแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือของไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับช่วงฤดูหนาวหรือช่วงปลายปี และถือเป็นช่วงเวลา high season ที่พร้อมจะดึงดูดนักท่องเที่ยวและหมุนเวียนเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี หากแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าด้วยการแพร่ระบาดครั้งใหม่โดยกลุ่มคนที่หลบหนีเข้าเมืองเข้ามาในพื้นที่ ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มจะตื่นตัวและกลับมาคึกคักสะดุดชะงักลงเล็กน้อย ท่ามกลางความกังวลของทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว จนทำให้บางส่วนระงับหรือยกเลิกการเดินทางไปชั่วคราว ความเปราะบางของสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้นในด้านหนึ่งสะท้อนภาพความตื่นตัวในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนคนไทยโดยทั่วไป ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำให้เห็นถึงผลพวงของมายาภาพว่าด้วย COVID-19

Read More

“คนละครึ่ง” โครงการจากรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจลึกถึงฐานราก

ต้องยอมรับว่าปีพุทธศักราช 2563 ประเทศไทยเผชิญวิกฤตรอบด้านในหลายมิติ โดยมีสาเหตุหลักจากเชื้อไวรัสโควิดที่อุบัติขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว และแพร่ระบาดหนักในช่วงไตรมาสแรกของปี ส่งผลกระทบเลวร้ายและรุนแรงกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างสึนามิ มหันตภัยโรคโควิด-19 ขยายวงการทำลายล้างไปในทุกวงการ ทุกภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลของแต่ละประเทศที่ประสบกับวิกฤตครั้งนี้ ต่างระดมสรรพกำลังและสมองเพื่อแก้ไขปัญหาที่ตามมาอย่างต่อเนื่องดุจระลอกคลื่น และสร้างยุทธวิธีฝ่าวงล้อมของศัตรูตัวฉกาจนี้ไปให้ได้ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจที่ถูกแช่แข็งไปในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่ง่ายเลยที่จะเอาชนะ ในด้านเชื้อไวรัสโควิด การยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส นั่นหมายถึงการมีวัคซีนที่พร้อมสำหรับประชากรโลก แม้ว่าปัจจุบันวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะเริ่มฉีดแล้ว แต่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในบางประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอาจต้องใช้เวลารออย่างเร็วภายในปีหน้ากว่าจะได้รับวัคซีน ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยพึ่งพาตลาดต่างชาติในหลายอุตสาหกรรม ทั้งการส่งออก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน นี่อาจเป็นโอกาสเหมาะสำหรับภาครัฐที่จะหันกลับมามองตัวเองและรังสรรค์นโยบายที่เหมาะสมที่สุดในห้วงยามนี้ ด้วยโครงการที่ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากประชากรในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลายแคมเปญ ทั้งโครงการ ชิม ช้อป ใช้ โครงการช้อปดีมีคืน ที่เชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้จ่าย และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทว่าโครงการดังกล่าวดูเหมือนจะจำกัดวงอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ในระดับที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ในขณะที่ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการล่าสุดอย่าง “คนละครึ่ง” ที่มุ่งเน้นไปเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตโควิดโดยเฉพาะ และมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ประชาชนระดับกลางถึงล่าง โครงการคนละครึ่ง ภาครัฐช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000

Read More

เวิลด์แก๊สแตกไลน์ ดัน “วันเดอร์ฟู้ด” เข้าตลาดหุ้น

“เวิลด์แก๊ส” เปิดยุทธศาสตร์แตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ดระดับพรีเมียม โดยประเดิมโปรเจกต์แรกจับมือกับบริษัท วันเดอร์ฟู้ด อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ของเชฟมิชลินสตาร์ “แอนดี้ ยังเอกสกุล” และมองข้ามช็อตต่อยอดขยายเครือข่ายสาขาแฟรนไชส์ ธุรกิจเครื่องปรุงรสและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งหมายถึงการขยายฐานรายได้ใหม่ และยังเป็นการเพิ่มลูกค้าก๊าซกลุ่มร้านอาหารแบบดับเบิ้ลด้วย ทั้งนี้ หากดูโครงสร้างรายได้ของบริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภายใต้แบรนด์เวิลด์แก๊ส เมื่อปี 2562 อันดับ 1 มาจากโรงบรรจุก๊าซ 6,376 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 44.83% ตามด้วยสถานีบริการก๊าซ 3,337 ล้านบาท สัดส่วน 24.29% กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 1,378 ล้านบาท สัดส่วน 9.39% กลุ่มลูกค้าพาณิชย์ 842 ล้านบาท สัดส่วน 5.32% ร้านค้าก๊าซ 609 ล้านบาท สัดส่วน 4.15% ที่เหลือเป็นซัปพลายเซลและอื่นๆ

Read More

ออนไลน์พร้อมพรึ่บ ตื่นกระแสโควิดระลอก 2

ยักษ์ออนไลน์หลายค่ายต่างเตรียมพร้อมกลยุทธ์ลุยตลาดในปีหน้ารับพฤติกรรมนักชอปที่หันมาจับจ่ายผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซมากขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ใช่ New Normal ช่วงโควิด-19 ระบาดเท่านั้น แต่กลายเป็นวิถีชีวิต Now Normal ส่วนหนึ่งของผู้บริโภคยุคใหม่ไปเสียแล้ว ยิ่งล่าสุด หลายฝ่ายเริ่มหวั่นวิตกกับการแพร่ระบาดระลอกสอง หลังเกิดเหตุผู้ลักลอบเดินทางจากประเทศเมียนมากลับเข้าไทยพร้อมเชื้อไวรัสอันตราย ยิ่งตอกย้ำวิถีชีวิต Now Normal ของหลายๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอล์ การเว้นระยะห่าง และรวมถึงการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2564 มีแนวโน้มพุ่งสูงมากจากปี 2563 ที่ประเมินไว้จะทะลุเป้าหมาย 220,000 ล้านบาท อัตราเติบโตกว่า 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่าประมาณ 163,300 ล้านบาท ภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเติบโตของอีคอมเมิร์ซก้าวกระโดดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา และสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งสปีดมากขึ้น โดยมีจำนวนลูกค้าใหม่เข้ามาใช้แพลตฟอร์มลาซาด้าเพิ่มขึ้นหลายล้านคน ภาคธุรกิจมีแบรนด์สินค้าและจำนวนผู้ขายเพิ่มขึ้นมากกว่า

Read More

สตรีทฟู้ดบูม 3.4 แสนล้าน เซ็นกรุ๊ป งัด “เขียง” รถเข็นปูพรม

เชนร้านอาหารยักษ์ใหญ่ “เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป” ประกาศรุกสงคราม Street Food ส่งโมเดลร้านรูปแบบใหม่ “รถเข็น” แบรนด์ “เขียง” หลังภาพรวมตลาดมีแนวโน้มเติบโตพุ่งพรวดหลายเท่า ทั้งความนิยม ไลฟ์สไตล์ของคนไทย และที่สำคัญ คือ ปัจจัยบวกจากโครงการกระตุ้นการจับจ่าย “คนละครึ่ง” ของรัฐบาลสามารถผลักดันยอดขายของร้านสตรีทฟูดริมทางเพิ่มขึ้นมากกว่า 30-50% ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ขณะเดียวกัน ธุรกิจร้านอาหารริมทาง หรือ Street Food พลิกขยายตัวสวนพิษโควิด โดยกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารประมาณการปี 2564 จะมีมูลค่าตลาดมากกว่า 340,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านๆ มามีมูลค่าตลาดราว 270,000 ล้านบาท จำนวนร้านค้ามากกว่า 103,000 ร้านทั่วประเทศ เหตุผลสำคัญมาจากความได้เปรียบในแง่ความคล่องตัวของการเปิดร้าน ใช้พื้นที่ไม่มาก เงินลงทุนไม่สูง และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต่างปรับกลยุทธ์จุดขายหลากหลายรูปแบบ เช่น การประยุกต์เมนูอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่า การจัดร้าน เน้นจุดขายทั้งในแง่ความเก่าแก่ ชูตำนานความอร่อย และเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี่มากขึ้น จนสามารถสร้างยอดขายไล่ตามกลุ่มฟาสต์ฟู้ดได้อย่างชัดเจน ดูจากข้อมูลการสำรวจสถิติการสั่งอาหารออนไลน์ของคนไทย โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

Read More

อาบป่า เยียวยาใจถึงกาย ท่องเที่ยวแนวใหม่ให้ธรรมชาติบำบัด

การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบตั้งแต่รุ่งอรุณ ภายใต้ความกดดันมากมายที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาในชีวิตอย่างช้าๆ และเงียบงัน ภาวะความเครียดที่สะสมอยู่ภายใน อัดแน่นในห้วงอารมณ์ความรู้สึก จนบางคนไม่สามารถรู้ตัวได้เลยว่า ความเครียดได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีเหตุที่เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายมาจุดชนวนระเบิดและปลดเปลื้องความขึ้งเครียดนั้นออกมา ซึ่งแน่นอนว่าผลร้ายที่เกิดตามมาไม่ได้จำกัดวงแห่งหายนะที่ทำลายความรู้สึกในจิตใจแค่เฉพาะตัวเองเท่านั้น ผู้คนรอบข้างที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน ย่อมได้รับผลกระทบนั้นด้วย ชีวิตที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบมากมาย การกดดันตัวเองจากบทบาทหน้าที่ การงาน จนก่อให้เกิดความเครียดที่ฝังรากลึกอยู่นั้น เป็นส่วนสำคัญให้จิตใต้สำนึกเรียกร้องโหยหาแหล่งพลังงานใหม่ สถานที่ที่จะได้ปล่อยกาย พักใจ เดินออกจากภวังค์แห่งความวิตก ให้หัวใจ ร่างกาย และสมองได้ทำความรู้จักกับความสุขอีกครั้ง ปัจจุบันมีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากการตั้งแคมป์ หรือการเดินป่าอย่างที่หลายคนยังให้ความนิยม แต่การท่องเที่ยวรูปแบบนี้เป็นการใช้ประโยชน์จากป่ามาเป็นตัวช่วยในการบำบัดและเยียวยาจิตใจ ที่รู้จักกันในชื่อ “อาบป่า” Forest Bathing หรือ Forest Therapy การอาบป่า มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นในยุค 80 คนญี่ปุ่นเรียกว่า “Shinrin-yoku” (ชินริน-โยกุ) มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนแนวคิดการอาบป่า ว่าเป็นศาสตร์ที่ช่วยบำบัดร่างกายและเยียวยาจิตใจได้จริง กระทั่งเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป เช่น เยอรมนี ฟินแลนด์ การอาบป่า ไม่ใช่การเข้าไปอาบน้ำในป่าเขาลำเนาไพร แต่เป็นการนำพาร่างกายอันอ่อนล้าจากภาวะความเครียดจากเรื่องต่างๆ ที่ต้องเผชิญ ไปเข้าใกล้ธรรมชาติพร้อมกับจิตใจที่ยินดีจะเปิดรับการบำบัด และการอาบป่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการเดินป่าขั้นสูงแต่อย่างใด เพราะศาสตร์แห่งการอาบป่าไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในป่าลึก หากแสงแดดยามเช้าในเมืองหลวงคือสัญญาณแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความเร่งรีบ แสงแดดจากพระอาทิตย์ดวงเดียวกันที่ฉายฉานอยู่ในป่าใหญ่คงเป็นสัญญาณแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง เมื่อความอบอุ่นจากแสงยามเช้าที่อาบไล้ผิวกายช่วยบำบัดอารมณ์และจิตใจให้สงบได้อย่างไม่น่าเชื่อ ป่าและธรรมชาติ ยินดีต้อนรับเราเสมอ เมื่อเราพร้อมที่จะเปิดใจรับการบำบัด

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน แผลเรื้อรังสังคมไทย

ปัญหาว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของสังคมไทยเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้รายได้ของแต่ละครัวเรือนหดหาย ท่ามกลางค่าใช้จ่ายปกติและภาระหนี้ที่ยังดำรงอยู่ทำให้เกิดการสั่งสมของปัญหากลายเป็นบาดแผลที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ บาดแผลทางเศรษฐกิจของไทยที่เกิดขึ้นจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นว่าด้วยประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐแล้ว ข้อเท็จจริงว่าด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องทยอยปิดหรือเลิกกิจการ ก่อให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และนำไปสู่ปัญหาการว่างงานติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง และจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในอนาคต ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับบาดแผล จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ได้สะสมมาก่อนหน้า และกลายเป็นบาดแผลเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาเยียวยาอย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ก็คือหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหาใหม่ของเศรษฐกิจไทย เพราะก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยก็อยู่ที่ระดับร้อยละ 80.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้ว และเมื่อมีการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จึงได้ปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับที่ร้อยละ 83.8 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา หลังจากเคยเร่งตัวต่อเนื่องในช่วงปี 2552 จนถึง 2558 จนไปสู่ระดับร้อยละ 81.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ก่อนจะปรับลดลงเล็กน้อยและค่อนข้างทรงตัวในช่วง 4

Read More