Home > Cover Story (Page 134)

สงคราม “มิกซ์ยูส” 6 ยักษ์ชิงฮับค้าปลีก

 เร็วๆ นี้ อิคาโน่กรุ๊ปและกลุ่มผู้ร่วมทุน “เมกาบางนา” จะออกมาเปิดเผยรายละเอียดและความคืบหน้าของโครงการ “เมกาซิตี้” ที่จะขยายเพิ่มอีก 150 ไร่ หลังซุ่มเงียบนานนับปี เช่นเดียวกับเหล่ายักษ์ค้าปลีกที่เร่งผลักดันบิ๊กโปรเจกต์ ซึ่งจะพลิกโฉมสมรภูมิค้าปลีกไทยแนวใหม่สู่โครงการมิกซ์ยูส รูปแบบ “เมือง” เพื่อช่วงชิงการเป็น “ฮับ” อย่างดุเดือด ประเมินกันว่า ปี 2559 จำนวนพื้นที่ค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นอีก 300,000 ตารางเมตร และปี 2560 จะเพิ่มขึ้นอีก 500,000  ตร.ม. เนื่องจากมีทั้งความต้องการพื้นที่ค้าปลีกของแบรนด์ต่างชาติและโครงการมิกซ์ยูสเริ่มเปิดตัว ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัย เกิดชุมชนใหม่ รวมถึงกลุ่มชาวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมชุดใหญ่ของรัฐบาล ก่อนหน้านี้ คริสเตียน โอลอฟสัน ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการศูนย์การค้าเมกาบางนา บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด เคยให้รายละเอียดของ “เมกาซิตี้” ว่าเป็นโครงการมิกซ์ยูส เพื่อปลุกทำเล “ดาวน์ทาวน์” ใหม่ย่านชานเมืองและสร้าง “ฮับ” ให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างครบวงจร ทั้งอยู่อาศัย ทำงาน

Read More

แผนปลุกแลนด์มาร์ครังสิต แจ้งเกิด “ฟิวเจอร์ซิตี้”

 พิมพ์ผกา หวั่งหลี ใช้เวลา 20 ปี ปลุกปั้นที่ดินผืนใหญ่ 600 ไร่ มรดกตกทอดจากย่าทองพูล หวั่งหลี จนกลายเป็นแลนด์มาร์คย่านรังสิต ปรับกลยุทธ์และฝ่าวิกฤตหลายรอบ ล่าสุดเปิดโครงการ Zpell @ Futurepark  ปรับภาพลักษณ์ใหม่ ไม่ใช่แค่ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตอนเหนือ แต่เป็นศูนย์การค้าที่ทันสมัยของกลุ่มลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์ และกำลังเร่งต่อจิ๊กซอว์แจ้งเกิดอาณาจักร “ฟิวเจอร์ซิตี้ (Future City)” เต็มรูปแบบ หลังประกาศแนวคิดนี้มานานกว่า 10 ปี  จาก “ห้างกลางทุ่งนา” เมื่อครั้งอดีต ที่ใครๆ มักกระทบกระเทียบว่า “จะเปิดร้านไปขายให้ควายที่ไหน” แต่ ณ วันนี้ ย่านรังสิตหรือพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือต่อเนื่องกับจังหวัดปทุมธานีกลายเป็นทำเลทอง แหล่งชุมชนหนาแน่น เฉพาะพื้นที่คลอง 1-6 จากข้อมูลของบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายทั้งหมด 67 โครงการ แยกเป็นโครงการบ้านจัดสรร

Read More

Trail Running ข้ามผ่านทุกขีดจำกัดของการวิ่ง

 ต้องยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพมาแรงมากจริงๆ เห็นได้จากกิจกรรมงานวิ่งที่จัดขึ้นแทบทุกเดือน มีหลากประเภท หลายระยะทาง หลายสนาม ไล่เรียงไปตั้งแต่ Fun Run, มินิมาราธอน, ฮาล์ฟมาราธอน, ฟูลมาราธอน, ไตรกีฬา ไปจนถึงการวิ่งเทรล (Trail Running)  สำหรับการวิ่งประเภทต่างๆ น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงกว้าง แต่สำหรับการวิ่งเทรล หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร แตกต่างจากการวิ่งประเภทอื่นอย่างไร  การวิ่งเทรล หรือ Trail Running เป็นการวิ่งแบบผจญภัยบนพื้นที่ธรรมชาติ นักวิ่งต้องเผชิญความท้าทายที่มากกว่าการวิ่งบนถนนปกติ เส้นทางการวิ่งอาจจะประกอบไปด้วยภูเขา ทางชัน ป่า ที่แน่ๆ คือไม่ได้วิ่งบนถนนปกติ หรือเรียกแบบเข้าใจง่ายๆ อาจจะเรียกได้ว่ามันคือการวิ่งวิบากนั่นเอง ในต่างประเทศการวิ่งเทรลเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี 2006-2012 เทรนด์ของการวิ่งเทรลเพิ่มขึ้นถึง 30%  สำหรับในประเทศไทยในช่วงหลังมานี้กระแสการวิ่งเทรลเริ่มคึกคักมากขึ้น ดูได้จากจำนวนนักวิ่งเทรลคนไทยและงานวิ่งเทรลที่จัดในเมืองไทยซึ่งมีจำนวนมากขึ้น บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี ตอบรับกระแสการวิ่งเทรล จึงได้จัดกิจกรรม “Go Adventure

Read More

เคทีซี มุ่งเติบโตทั้งองคาพยพ วางกลยุทธ์ปี 59 ชิงมาร์เก็ตแชร์

 หลังเผยผลประกอบการของปี 2558 ชนิดโตสวนกระแสเศรษฐกิจซบ ไปเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน โดยทำกำไรรวม 9 เดือนถึง 1,538 ล้านบาท โตขึ้น 16% มาวันนี้เคทีซีประกาศกลยุทธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจปี 2559 โดยจะยังคงรักษาสัดส่วนกำไร แต่ทุ่มงบประมาณในการทำตลาดธุรกิจหลัก หวังเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด พร้อมกับพัฒนาองค์กรแบบองค์รวมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้การนำของ “ระเฑียร ศรีมงคล” พร้อมทีมที่แข็งแกร่ง จากที่เคยอยู่ในสภาวะขาดทุน เคทีซีกลับพลิกฟื้นจนกลับเข้ามาสู่เส้นทางธุรกิจพร้อมทำกำไรได้แบบก้าวกระโดด โดยการเปลี่ยนกลยุทธ์จากที่เคยทุ่มงบประมาณมหาศาลในการทำการตลาด มาเป็นการทำตลาดเชิงรุกที่เน้นเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจผู้ถือบัตร พร้อมทั้งปรับโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อปรับลดต้นทุน ทำให้เคทีซีมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าเคทีซีสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้ในระดับที่น่าพอใจ สร้างผลกำไรได้ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีแรงต้านจากสภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ก็ตาม โดยมีตัวเลขหลายตัวดีกว่าอุตสาหกรรม ทั้งปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เติบโตอยู่ที่ 11.9% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 7.3% รวมถึงอัตราของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของบัตรเครดิตที่ลดต่ำเหลือเพียง 1.4% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 3.4% และ NPL ของสินเชื่อบุคคลที่ต่ำสุดเพียง 1.0% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 5.2% โดยผลกำไรรวม9 เดือนของปี

Read More

บัตรเครดิตดิ้นหนีวิกฤต เร่งกระตุ้นยอดรับศกใหม่

 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถส่งสัญญาณเชิงบวกมากระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและจับจ่ายใช้สอย ดูเหมือนว่าธุรกิจบัตรเครดิตจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ และมีอัตราการเติบโตที่ไม่สดใสเท่าที่หลายฝ่ายคาดหวังนัก เพราะนอกจากสถิติการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และการเติบโตของสินเชื่อ ตลอดจนการขยายตัวของฐานบัตรเครดิต จะเป็นไปอย่างค่อนข้างชะลอตัว ควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าภาระหนี้สินสะสมของครัวเรือนยังคงกดดันการใช้จ่าย และเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตแต่ละรายต้องพยายามรักษาคุณภาพสินเชื่อบัตรเครดิต ท่ามกลางแรงกดดันของภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่นี้ด้วย กระนั้นก็ดีการแข่งขันในธุรกิจบัตรเครดิต ยังดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยประเมินได้จากสัญญาณการทำตลาดของผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่ค่อนข้างคึกคักและมีสีสันใหม่ๆ มานำเสนอต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกแคมเปญทางการตลาดและการขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการ ซึ่งเมื่อผนวกกับเป้าหมายทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละรายยิ่งทำให้การแข่งขันหนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีก ทิศทางหนึ่งที่เกิดขึ้นในกลยุทธ์ช่วงชิงและขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่การมุ่งขยายธุรกิจออกสู่พื้นที่ในเขตภูมิภาค ควบคู่กับการสร้างแรงจูงในการจับจ่ายสำหรับกลุ่มลูกค้าตลาดกลางและบน ภายใต้สิทธิประโยชน์และรายการพิเศษที่เพิ่มมากขึ้น แต่การทำตลาดเชิงรุกในพื้นที่ต่างจังหวัดของธุรกิจบัตรเครดิตไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบเรียบ หากต้องเผชิญกับความท้าทายในประเด็นต่างๆ ไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะในมิติของการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีศักยภาพเนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายแรกๆ ของผู้ประกอบการบัตรเครดิตบางส่วนน่าจะมีบัตรเครดิตแล้ว รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ต่างจังหวัดที่เป็นเป้าหมาย  เพราะแม้บางส่วนจะมีเศรษฐกิจที่อิงกับภาคการท่องเที่ยว และมีแนวโน้มฟื้นตัวกระเตื้องขึ้นบ้างตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ต้องยอมรับว่าพื้นที่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ยังผูกโยงกับภาคการเกษตรซึ่งถูกกดดันจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำรุนแรง ขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของการลงทุนภาครัฐ ซึ่งหวังจะเป็นแรงหนุนกระตุ้นการเติบโตของภาคก่อสร้างยังกลายเป็นปัจจัยกดดันกำลังซื้อและระดับรายได้ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจบัตรเครดิต ยังไม่นับรวมถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าต่างจังหวัดที่ส่วนใหญ่นิยมและคุ้นเคยกับการใช้จ่ายด้วยเงินสด ซึ่งอาจมีผลต่อการออกแคมเปญการตลาดเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ด้วยสภาวะความอิ่มตัวของฐานลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการบัตรเครดิตจะมีทางเลือกไม่มากนัก และทำให้กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจบัตรเครดิตในต่างจังหวัดปรับเพิ่มขึ้น ทั้งยังอาจเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการผลักดันการเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมาด้วย ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ การขยายฐานลูกค้าศักยภาพในต่างจังหวัด โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองรองของแต่ละภูมิภาค ซึ่งถือเป็นพื้นที่ Blue Ocean ของธุรกิจบัตรเครดิต ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในภาพกว้างของธนาคารพาณิชย์และกลุ่มนอนแบงก์ที่มีบริษัทแม่เป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่มีแผนรุกธุรกิจแบงกิ้งในต่างจังหวัด และปรากฏภาพการขยับตัวรุกธุรกิจบัตรเครดิตในต่างจังหวัดอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งคงเป็นอานิสงส์จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ในพื้นที่เหล่านี้ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีร้านค้ารองรับการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น แต่ความร้อนแรงในเกมการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตที่น่าจับตาอยู่ที่ความพยายามช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดกลุ่มลูกค้าระดับบนหรือมีรายได้สูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นต่อเนื่องมานับปี

Read More

วังขนายจับมือคูโบต้า พัฒนาฟาร์มมิ่งไร่อ้อยอินทรีย์

 ท่ามกลางกระแสข่าว พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ. จีเอ็มโอ ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายในแง่ของผลกระทบต่อเกษตรกร และกลุ่มธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กระทั่งมีการรวมกลุ่มคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพราะเนื้อหาสำคัญของพระราชบัญญัติที่เปิดช่องให้เจ้าของจีเอ็มโอได้รับอนุญาตให้สามารถปล่อยพืชจีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดตามมา ซึ่งพืชที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงชีวิตเกษตรกรและเศรษฐกิจการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของไทยอย่างไม่อาจประเมินค่าได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้หน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบต่อภาคเกษตรของไทยพยายามอย่างหนักในการรณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรของไทยหันมาปลูกพืชที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุด หรือการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อป้องกันปัญหาดินเสื่อมและเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แต่ในห้วงเวลานี้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันกลับเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป แอฟริกา และเอเชียบางประเทศ ต่างออกมาต่อต้านพืชที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรม เพราะตระหนักถึงผลเสียที่จะตามมา มากกว่าผลดีที่จะตกแก่นายทุนบางรายเท่านั้น กระนั้นยังมีความพยายามจากกลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย จับมือกับสยามคูโบต้าที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำโครงการวังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร และการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร เพราะโครงการดังกล่าวจะช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ลดปัญหาด้านแรงงาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้มากขึ้นถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด ปัจจุบันกลุ่มวังขนายผลิตน้ำตาลทรายเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการจัดจำหน่ายในประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกต่างประเทศ 70 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับน้ำตาลออร์แกนิคกลุ่มวังขนายสามารถผลิตได้ถึง 15,000 ตัน แบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 75 เปอร์เซ็นต์ และส่งออก 25 เปอร์เซ็นต์ โดยส่งออกไปยังทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง

Read More

การเติบโตของ MINI 55 ปี แห่งการไม่หยุดนิ่ง

 การช่วงชิงพื้นที่ของหน้าสื่อ และพื้นที่ตลาดรถยนต์ก่อนการเปิดงานมอเตอร์เอ็กซ์โปจะเริ่มขึ้น นับเป็นหมัดเด็ดที่มินิ ประเทศไทย เลือกใช้ในการแถลงข่าวเปิดตัวรถยนต์มินิขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่นับเป็นก้าวแรกสู่เซกเมนต์รถยนต์คอมแพคระดับพรีเมียมที่ยังคงสัญลักษณ์ของตำนานแห่งความเป็นรถยนต์สัญชาติอังกฤษได้ดี ก่อนการเปิดตัวให้บรรดาสื่อมวลชนไทยสายรถยนต์ได้เห็นโฉมของมินิ คลับแมน นั้น ในงานมหกรรมยานยนต์ แฟรงก์เฟิร์ต อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2015 ที่ประเทศเยอรมนี และงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ 2015 ที่ประเทศญี่ปุ่น มินิ คลับแมน ได้รับการตอบรับที่ดี การคาดหวังของมินิในการปรับโฉมมินิ คลับแมน และเปิดตัวในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32 ของไทยนั้น คงต้องรอดูกันว่าจะได้รับการตอบรับดีเฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นที่เยอรมนีและญี่ปุ่นหรือไม่  เพราะหากจะว่ากันตามจริงแล้ว มินิเคยพัฒนาและเปิดตัวรถยนต์มินิ คลับแมน มาแล้วเมื่อปี 2008 ในขณะนั้นมินิมักนิยมใช้กลยุทธ์ Guerrilla Marketing ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ต้องการผลตอบรับสูงแต่ใช้งบให้น้อยที่สุด และต้องยอมรับว่าผลที่ได้รับกลับมานั้นก็เกินความคาดหมายเมื่อ มินิ คลับแมน ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง เพราะมีการใช้รถบรรทุกขับพารถมินิ คลับแมน ไปเยี่ยมเยือนสื่อมวลชนตามสำนักข่าวต่างๆ  หากแต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจของไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต แม้จะมีตัวเลขที่สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคและนักลงทุนที่ทำให้เส้นกราฟขยับขึ้นมาบ้าง หากแต่ต่างยังต้องเฝ้าระวัง เมื่อไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่กำลังอยู่ในช่วงถดถอย  การเติบโตของมินิทำให้ปัจจุบัน มินิกำลังก้าวเข้าสู่ขวบปีที่ 56 แน่นอนว่าการไม่หยุดนิ่งของมินิทำให้เกิดประวัติศาสตร์อันยาวนานและน่าสนใจว่า เพราะเหตุใดรถยนต์ขนาดเล็กถึงยังครองใจผู้ที่ชื่นชอบและทำให้ใครต่อใครเหลียวหลังมองได้ตลอดเวลา ผลพวงจากวิกฤตน้ำมันในปี 1956

Read More

ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์”

  หากผ่านไปแถวถนนราชดำเนินกลาง ไม่ไกลจากเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศนัก คงคุ้นตากับลานกว้าง แวดล้อมด้วยไม้ประดับร่มรื่น ด้านหนึ่งมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้านเป็นที่ตั้งของพลับพลาที่สร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีโลหะปราสาทที่สูงตระหง่านเป็นฉากหลัง สถานที่แห่งนี้คือ “ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์” นั่นเอง ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3แห่งราชวงศ์จักรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยตั้งชื่อตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์”  เดิมทีบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ “ศาลาเฉลิมไทย” โรงภาพยนตร์ล้ำสมัยแห่งแรกของไทย แต่เมื่อศาลาเฉลิมไทยปิดตัวลงเมื่อปี พ.ศ.2532 จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทยและสร้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ขึ้นแทน ณ บริเวณเดิม อีกทั้งยังเป็นการเปิดทัศนียภาพให้เห็นความสง่างามของโลหะปราสาทที่อยู่ด้านหลังอีกด้วย พื้นที่โดยรอบของลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์นั้นเป็นลานกว้างประดับประดาด้วยไม้ดอกช่วยเพิ่มความร่มรื่นทางสายตา ภายในบริเวณประกอบด้วยพลับพลาที่ประทับสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรับแขกบ้านแขกเมืองของประเทศ อีกด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ประทับนั่งตรง มีฐานหินอ่อนรองรับ ฉากหลังเป็นรูปพระวิมานอันเป็นพระราชสัญลักษณ์และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พื้นฉากเป็นหินอ่อนจารึกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 3 ซึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทำนุบำรุงบ้านเมืองสร้างความเจริญมั่นคงทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา และศาสนา ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามรวมทั้งสิ้นถึง 53 วัด รวมทั้งวัดราชนัดดารามวรวิหาร และวัดเทพธิดารามวรวิหาร ที่อยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ด้วยเช่นกัน จากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์เดินตัดมาด้านหลังจะพบกำแพงสีขาวทอดยาวมีถนนเล็กๆ คั่นกลาง ด้านในเป็นเขตของวัดราชนัดดารามวรวิหารและโลหะปราสาท พุทธสถานที่มีเพียง

Read More

ทุกค่ายพร้อมลุย Motor EXPO หวังภาษีใหม่ดันยอดขายปลายปี

 ความเคลื่อนไหวในแวดวงยานยนต์ไทยในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี ดูจะขยับมีหวังหลังจากโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่มีผลให้ราคารถยนต์เกือบทุกประเภทพร้อมปรับราคาขึ้นจากเดิมในระดับร้อยละ10-15 ซึ่งกลายเป็นประเด็นโหมกระแสที่ค่ายรถยนต์ทุกค่ายต่างนำมาขยายผลหวังสร้างอารมณ์ความรู้สึกผู้บริโภคให้เร่งตัดสินใจ และกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์นี้ต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้าที่จะมีมหกรรมยานยนต์ Motor Expo ครั้งที่ 32 หรือ The 32nd Thailand International Motor Expo 2015 ระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม ภายใต้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” หรือ “NEW STANDARDS... THAI VEHICLES CARE ABOUT THE EARTH” ซึ่งคาดหวังว่าจะมียอดการจองรถยนต์ในงานรวมไม่น้อยกว่า 50,000 คันและจะมีเงินสะพัดในงานถึง 5.5 หมื่นล้านบาท ความคาดหมายดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปีหน้า และมีผลทำให้ราคาของรถยนต์แต่ละประเภทปรับสูงขึ้นในระดับร้อยละ 10-15 หรือปรับขึ้นจากราคาเดิมคิดเป็นเงินจำนวนหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทต่อคันนั้น จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเร่งตัดสินใจซื้อรถยนต์ภายในปีนี้ และจะช่วยให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสุดท้ายของปีขยายตัวขึ้น ภายใต้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ซึ่งจะพิจารณาจัดเก็บจากอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ แทนการจัดเก็บตามปริมาณความจุกระบอกสูบ โดยรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย จะเสียภาษีต่ำกว่ารถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาก ทำให้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” ของงาน

Read More

BMW เปิดแนวรุกรถพรีเมียม ส่งแฟลกชิป “ซีรีส์ 7 ใหม่” ชิงตลาด

 ข่าวการเปิดตัว The All New BMW 7 Series อย่างอลังการในประเทศไทยเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ต้องถือเป็นจังหวะก้าวเชิงรุกของ BMW Thailand ในการชิงจังหวะเวลา พื้นที่และกำลังซื้อในกลุ่มรถยนต์พรีเมียมหรูหราที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เหตุเพราะ BMW เพิ่งเปิดตัว BMW 740Li โฉมใหม่นี้ออกสู่สายตาสาธารณชนให้ได้ชื่นชมยนตรกรรมหรูหราในนิยามใหม่ ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในงาน Frankfurt Motor Show 2015 ที่ถือเป็นงานแสดงยนตรกรรมยิ่งใหญ่ประจำปี ก่อนที่จะข้ามฝั่งมาเปิดตัวในงาน Tokyo Motor Show ในเดือนตุลาคม ด้วยการนำเสนอควบคู่พร้อมกันถึง 2 รุ่น ทั้ง BMW 730i G11 และ BMW 740Li G12 ซึ่งต่างได้รับความสนใจและการต้อนรับจากทั้งสื่อมวลชนและผู้นิยมยนตรกรรมระดับพรีเมียมอย่างอบอุ่น ความต่อเนื่องของกิจกรรมเชิงรุกของ BMW 7 Series ที่ปรากฏให้เห็นตลอดช่วง 3 เดือนดังกล่าวนี้ สะท้อนความพยายามของ BMW

Read More