Home > Cover Story (Page 119)

เนด้า-สปป.ลาว สร้างระบบประปา พัฒนาคุณภาพชีวิต

ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นมุมใดของโลก สังคมโซเชียลเองก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้คนจำนวนมาก อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนหมู่มากไปแล้ว หากแต่อีกซีกหนึ่งของโลกกว้างใหญ่ใบนี้ยังมีอีกหลายเมืองที่ผู้คนยังขาดปัจจัยสี่ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้อยกว่าหลายประเทศที่อยู่แวดล้อม แม้ว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติอันเป็นเสน่ห์ที่สำคัญในการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสัมผัสวิถีแห่งความเป็นธรรมชาติและกลิ่นอายของเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติและอารยธรรมที่น่าค้นหา กระนั้นอีกหลายเมืองใน สปป.ลาว ยังขาดความพร้อมในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต “น้ำ” หลายหมู่บ้านใน สปป. ลาว ประชาชนยังคงต้องใช้น้ำจากลำธาร หรือขุดเจาะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะประสบปัญหาเมื่อเข้าสู่หน้าแล้งที่ส่งผลให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งเหือดลง เมื่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ยังไม่พร้อมสมบูรณ์นัก ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น ที่ทำให้ยากต่อการพัฒนาและต่อยอด ทั้งในมิติของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่น่าจะทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานในอนาคต แม้ว่าหลายเมืองใน สปป.ลาว เช่น เมืองหลา เมืองแบ่ง เมืองคอบ เมืองห้วยทราย เมืองไชบุลี เมืองยมมะลาด เมืองพะลานไช เมืองสาละวัน เมืองสุขุมา เมืองปากซอง เมืองโขง เมืองมูนละปาโมก และเมืองคีนาด จะยังต้องการการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หากแต่สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ NEDA ที่มีพันธกิจสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมองว่าการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานนั้นนับเป็นเรื่องสำคัญซึ่งง่ายต่อการต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้พัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน ทำให้ NEDA ตัดสินใจเลือกเมืองที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย 5 เมือง

Read More

“ดุสิตธานี” บนจุดตัดแห่งยุคสมัย

  การประกาศความร่วมมือระหว่างเครือดุสิตธานี (DTC) กับกลุ่มเซ็นทรัล โดยเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เพื่อร่วมการปรับโฉมและพัฒนาพื้นที่โรงแรมดุสิตธานีให้เป็นอาคารพาณิชยกรรมแบบประสม (mixed use) ภายใต้งบลงทุน 36,700 ล้านบาท นอกจากจะเป็นดีลใหญ่แห่งปีแล้ว กรณีดังกล่าวยังสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปของธุรกิจโรงแรม และการพัฒนาที่ดินในเขตเมืองหลวงของสยามประเทศที่มีนัยสำคัญอีกด้วย อาคารของโรงแรมดุสิตธานีที่มีความสูง 23 ชั้นซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ที่หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดกับถนนสีลมมานานเกือบ 5 ทศวรรษเคยได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ของการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (modernism) ของสังคมไทย และเป็นแลนด์มาร์คสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย กำลังจะถูกรื้อถอน เพื่อเปิดทางให้โครงการที่จะประกอบส่วนด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน เบียดแทรกขึ้นมาทดแทน ความเป็นไปของดุสิตธานี ในด้านหนึ่งสะท้อนวิถีและข้อเท็จจริงของธุรกิจโรงแรมของไทยที่เผชิญหน้ากับการแข่งขันที่หนักหน่วง หลังจากมีโรงแรมจากเครือระดับนานาชาติเข้ามาเปิดดำเนินการอย่างหลากหลาย ขณะที่ผู้ประกอบการดั้งเดิมของไทย ทั้งดุสิตธานี ปาร์คนายเลิศ โรงแรมเอเชีย แอมบาสเดอร์ ต่างอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัว และปรับปรุงอาคารสถานที่ให้สามารถดึงดูดและเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวระดับต่างๆ ได้มากขึ้น ควบคู่กับปรากฏการณ์ของการพัฒนาพื้นที่ในเขตเมืองที่ทำให้ราคาที่ดินกลายเป็นส่วนหนึ่งของสมการการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจอีกด้วย ทางเลือกของผู้ประกอบการหรือทายาทที่รับช่วงธุรกิจแต่ละราย จึงดำเนินไปบนบริบทที่หลากหลาย โดยในกรณีของณพาภรณ์ โพธิรัตนังกูร กรรมการผู้จัดการของโรงแรมปาร์คนายเลิศ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 4 ของเลิศ เศรษฐบุตร และหลานยายของท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ระบุว่า “ธุรกิจโรงแรมมีการแข่งขันสูงมาก

Read More

จาก รพ. พญาไท สู่ RSU International ย่างก้าวแห่งการพิสูจน์บทเรียน

แม้ว่าข่าวการเปิดตัว RSU International Hospital ในฐานะที่เป็น Smart Hospital และจังหวะก้าวครั้งใหม่ของอาทิตย์ อุไรรัตน์ จะได้รับการตอบสนองจากแวดวงธุรกิจและสื่อสารมวลชนด้วยท่วงทำนองที่เฉยชาและเงียบงันกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยากปฏิเสธจากกรณีที่ว่านี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวนี้เป็นภาพสะท้อนความมั่นใจและวิสัยทัศน์ที่น่าจับตามองของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ซึ่งทำให้โรงพยาบาลพญาไท ธุรกิจครอบครัวของตระกูลอุไรรัตน์ ในนามของ บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา ต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากและในที่สุดต้องหลุดพ้นออกไปจากมือของตระกูลอุไรรัตน์ไปสู่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ที่ถือเป็นหนึ่งในตำนานมหากาพย์บทเรียนธุรกิจครั้งสำคัญของธุรกิจการเมืองไทยเลยทีเดียว การล่มสลายของโรงพยาบาลพญาไท ในจุดเริ่มต้นก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากความล่มสลายของธุรกิจหลากหลายทั้งน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นในห้วงของวิกฤต ที่ต่างอาศัยเงินกู้ยืมจากตลาดทุนและตลาดเงินอย่างเฟื่องฟูในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง แต่เมื่อเกิดวิกฤตมูลค่าของหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกลับทำให้มูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200-250% จากเหตุของการลดค่าเงินบาท และทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาลล้มละลายกลางในที่สุด แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีของโรงพยาบาลพญาไท เป็นไปมากกว่านั้น เนื่องเพราะท่ามกลางกระบวนการฟื้นฟูปรากฏตัวผู้แสดงทั้ง PWC (PricewaterhouseCoopers) ในฐานะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างทางการเงิน ตามคำแนะนำของไกรวิน ศรีไกรวิน หนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ บล.ธนชาติ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอีกรายในโรงพยาบาลพญาไท ในช่วงปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาทิตย์ อุไรรัตน์ ต้องทิ้งโรงพยาบาลพญาไทเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยย้อนรำลึกความทรงจำของเหตุการณ์ในห้วงยามนั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า การเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้ต้องใช้เวลาทำงานในกระทรวงจนไม่มีเวลาดูแลความเป็นไปของโรงพยาบาลพญาไทในห้วงเวลาวิกฤตของกระบวนการทำแผนฟื้นฟูนี้มากพอ ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่า

Read More

CPN ร่วมดุสิตธานีผุด มิกซ์ยูส เสริมยุทธศาสตร์ปักหมุด “เซ็นทรัล”

  ข่าวการร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม (mixed use development) ระหว่างกลุ่มเซ็นทรัล โดย บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) และ บมจ. ดุสิตธานี (DTC) บนผืนที่ดินบริเวณหัวมุมถนนสีลมและถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไม่เฉพาะต่อบริบททางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจค้าปลีก หากแต่ยังส่งแรงกระเทือนต่อภูมิทัศน์ใหม่ของกรุงเทพฯ อย่างไม่อาจเลี่ยง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ อาคารโรงแรมดุสิตธานี ที่ตั้งตระหง่านเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของการก้าวเข้ายุคสมัยใหม่ของสังคมไทยมานานกว่า 47 ปี กำลังจะถูกรื้อถอนในช่วงปลายปี 2561เพื่อเปิดทางให้โครงการพัฒนาครั้งใหม่ที่มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3.7 หมื่นล้านบาทนี้ผุดขึ้นมาเป็นหมุดหมายใหม่ใจกลางเมืองมหานครแห่งนี้ทดแทน ขณะเดียวกัน จังหวะก้าวแห่งความร่วมมือครั้งนี้ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะก่อนหน้านี้ ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเซ็นทรัล ประกาศวิสัยทัศน์ 10 ปีข้างหน้าของเซ็นทรัลว่าจะก้าวสู่การเป็น World Destination อย่างครบวงจรรอบด้านภายใต้ยุทธศาสตร์ Central Bangkok ซึ่งรวมถึงความพยายามที่จะปิดดีลการประมูลที่ดินสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ บริเวณถนนวิทยุ ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 10,000 ตารางวา ด้วยมูลค่ารวมมากกว่า 20,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตารางวาละ

Read More

CP รุกสงครามค้าปลีก เจาะ “เทสโก้–บิ๊กซี”

  ปี 2560 หลังจากใช้เวลาเกือบ 2 ปี จัดระเบียบธุรกิจค้าปลีก Food Retail และเผยโฉม “ซีพีเฟรชมาร์ท” โมเดลล่าสุด “คอมแพคซูเปอร์ (Compact Super)” ล่าสุด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ประกาศเดินหน้าแผนรุกตลาด เปิดสงครามครั้งใหม่ เร่งสปีดผุดสาขาเพิ่มขึ้น รีโนเวตสาขาเก่า ที่สำคัญอัดกลยุทธ์ทั้งออฟไลน์–ออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เบื้องต้น ซีพีเอฟตั้งเป้าขยายร้านซีพีเฟรชมาร์ทโมเดลใหม่ในปีนี้ จำนวน 100 สาขา และทยอยรีโนเวตสาขาเดิม จากปัจจุบันมีสาขารวมทั้งสิ้น 420 แห่ง และเป็นสาขารูปแบบคอมแพคซูเปอร์แล้ว 100 แห่ง ชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” เปิดเผย “ผู้จัดการ360 ํ” ว่า

Read More

ซีพี ยกเครื่อง “เฟรชมาร์ท” ลุย “คอมแพคซูเปอร์” ฉีกตลาด

  “Compact Super คือโมเดลที่ใช่แล้ว และจะเดินหน้าต่อในอนาคต...” ชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ย้ำกับ “ผู้จัดการ 360  ํ” ในร้านซีพีเฟรชมาร์ทโฉมใหม่ สาขาเสนานิคม ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ และถือเป็นการยกเครื่องธุรกิจ “ซีพีเฟรชมาร์ท” ครั้งล่าสุด หลังจากเขย่าโมเดลหลายรอบตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่า การเริ่มต้นธุรกิจค้าปลีก Food Retail ของซีพีเอฟมีเป้าหมายเพื่อเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าจากโรงงานในเครือสู่มือผู้บริโภค และขยายสัดส่วนรายได้ก้อนใหญ่ เพราะปัจจุบันธุรกิจของซีพีเอฟยังเน้นธุรกิจต้นน้ำและกลางน้ำ คือ ธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed) และธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ (Farm) รวมกันถึง 80% แต่ธุรกิจปลายน้ำอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร (Food) สู่ตลาดผู้บริโภคยังมีเพียง 12% เท่านั้น  ขณะเดียวกัน แม้ดูเหมือนอาณาจักรเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มีช่องทางค้าปลีกมากมาย ทั้งธุรกิจค้าส่งแม็คโครและร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น แต่ธงหลักอยู่ที่การสร้างช่องทางจำหน่ายที่ส่งต่อสินค้าจากเครือซีพีแบบเต็มๆ 100% เพื่อขยายตลาดและปลุกปั้นแบรนด์ในฐานะ

Read More

Sushi Zo Bangkok ความสดใหม่บนมิชลินสตาร์

  ท่ามกลางบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังดูซบเซา และยังมองไม่เห็นสัญญาณเชิงบวกว่าจะฟื้นตัวขึ้นเมื่อใด ความเป็นไปอีกด้านของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มกลับดูเหมือนจะถูกแต่งเติมสีสันและกระตุ้นให้มีความคึกคักมาตั้งแต่ช่วงต้นปีกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อเท็จจริงที่ว่า “มิชลิน” สถาบันชื่อดังที่การันตีความอร่อยของรสชาติอาหารด้วยการมอบดาว 1– 3 ดวงให้กับร้านอาหารมาแล้วทั่วโลก ประกาศจะยกทีมมาชิมพร้อมติดดาวให้กับร้านอาหารในเมืองไทยเริ่มตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีของผู้ประกอบการร้านอาหารในเมืองไทยรวมไปถึงนักชิมด้วย นัยสำคัญที่ชี้วัดว่าพฤติกรรมและรสนิยมผู้บริโภคเมืองไทย ที่ยกระดับการบริโภคอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารในเมืองไทยสามารถขยับและต่อยอดการเติบโตสู่ภูมิภาคเอเชียแล้ว โดยประเทศในเอเชียล่าสุดที่มิชลินบุกมาคือสิงคโปร์ เมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ เป้าหมายที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องมาสัมผัสความหลากหลายของวัฒนธรรมและสีสันของอาหาร โดยมีญี่ปุ่นและฮ่องกงที่ได้รับการติดดาวมิชลินไปเมื่อหลายปีก่อน สำหรับร้านอาหารในเมืองไทยย้อนยุคไปเมื่อ 10 ปีก่อน การเชิญเชฟระดับมิชลินติดดาวมาเป็น “เซเลบริตี้เชฟ” ให้กับโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อเสิร์ฟดินเนอร์สัก 2– 3 วัน ก็สามารถสร้างปรากฏการณ์ความน่าตื่นเต้นให้กับเหล่า Foodies เมืองไทย โดยเฉพาะในฐานะเรื่องเล่าถึงรสนิยมวิไลในหมู่คนรอบข้าง แต่ในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีร้านอาหารระดับมิชลินเข้ามาเปิดสาขาในกรุงเทพฯ หนาตามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโจเอล โรบูชอง เชฟมิชลินระดับตำนาน, D´sen เชฟสองพี่น้องชาวฝรั่งเศสที่มาเปิดสาขาที่โรงแรมดุสิตธานี, ร้าน Nahm (น้ำ) โดยเชฟเดวิด ทอมป์สัน มิชลิน 1 ดาวอาหารไทยจากลอนดอน, โว้ก เลานจ์ จากลอนดอน,

Read More

อุทยานจุฬาฯ 100 ปี ปอดใหม่ใจกลางเมือง

  การขยายพื้นที่ธุรกิจกลางเมืองในปัจจุบัน นอกจากจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่งแล้ว ยังได้นำพาเอาความสะดวกสบายเข้ามาใกล้เรา ซึ่งช่วยให้เราใช้ชีวิตในยุคที่ทุกอย่างอาศัยความเร็วได้ง่ายขึ้น หากแต่ก็ทำให้ภูมิทัศน์ของรูปแบบเมืองแปรสภาพไปเป็นป่าคอนกรีตอย่างรวดเร็ว  โครงการคอนโดมิเนียมทุกระดับราคา และห้างสรรพสินค้าที่ปักหมุดกระจุกตัวอยู่กลางเมือง ที่แทบจะถมพื้นที่ว่างจนเต็ม กระทั่งต้องขยายตัวออกไปรอบนอกตามกลยุทธ์แย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ที่เรียกได้ว่า เป็นเกมการแข่งขันที่ดุเดือดอยู่ตลอดเวลา การเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วของป่าคอนกรีตทำให้ในหลายๆ ครั้งที่เรามักเรียกร้องขอคืนพื้นที่สีเขียวท่ามกลางตึกรามที่ขึ้นเบียดเสียดกันอย่างรวดเร็ว แต่การเรียกร้องที่ว่าไม่ได้ปรากฏชัดในรูปแบบของการแสดงออกเฉกเช่นที่มีการแสดงออกหรือปลุกระดมในเรื่องอื่นๆ  หากแต่ความต้องการพื้นที่สีเขียวของคนกรุงกลับเป็นอาการของความโหยหาพื้นที่ที่อาจจะเป็นปอดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนอันบริสุทธิ์เท่าที่ต้นไม้ใหญ่จะสามารถสร้างขึ้นมาได้ท่ามกลางมลพิษของเมืองหลวง และสภาพของเมืองที่แออัดไปด้วยอาคารคอนกรีตที่ถูกออกแบบให้มีสภาพแข็งแรง และดีไซน์โดดเด่นที่เห็นได้จากภายนอก ซึ่งกลายเป็นจุดสนใจของผู้พบเห็น เสมือนอาหารตาอย่างหนึ่ง หาใช่อาหารที่มากไปด้วยประโยชน์เท่าอากาศบริสุทธิ์ไม่ หลายคนมักเลือกเดินทางออกต่างจังหวัดเพื่อไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ซึ่งแม้จะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวไทย ที่อย่างน้อยจำนวนนักท่องเที่ยวไทยก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กระนั้นคงจะดีหากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ จะมีปอด หรือสวนสาธารณะเพิ่มขึ้นในจำนวนเดียวกับที่มีห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้น บริเวณศูนย์การค้าสยามสแควร์ในวันที่เป็นแหล่งรวมร้านค้าที่มีอัตลักษณ์ของตัวเอง พื้นที่บางส่วนของคอมมูนิตี้ มอลล์ ถูกแบ่งให้กับนิทรรศการ “สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งภายในนิทรรศการนี้บอกเล่าเรื่องราวในวาระสำคัญที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 100 ปี เพื่อเป็นการย้อนรำลึกถึงเรื่องราวในศตวรรษที่ 1 ก่อนจะก้าวย่างไปสู่ศตวรรษที่ 2 ของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย  ภายในนิทรรศการมีการรวบรวมเรื่องราวของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในจุฬาฯ ตลอด 1 ศตวรรษ ถ่ายทอดผ่านชิ้นส่วนจำลองและเทคโนโลยี AR Code ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น A Century Of CU ที่ช่วยเพิ่มอรรถรสในการชมงานนิทรรศการ และสามารถเข้าใจเรื่องราวความเป็นไปทางประวัติศาสตร์ของจุฬาฯ

Read More

อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ บนกลยุทธ์ที่เติบโตอย่างมั่นคง

  นับเป็นก้าวย่างสำคัญของ บี.กริม เพาเวอร์ ที่ได้ฤกษ์งามยามดีเปิดโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 และ 5 ไปเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้ว่า บี.กริม เพาเวอร์ จะเป็นบริษัทในกลุ่ม บี.กริม ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศมายาวนานกว่า 139 ปี จังหวะก้าวเดินนับจากนี้ของ บี.กริม เพาเวอร์ดูจะเป็นไปเพื่อสร้างความสำเร็จอีกขั้นในธุรกิจโรงไฟฟ้า “การสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ด้วยการทำให้ลูกค้าเห็นความถึงศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่มีคุณภาพสูง และราคาต่ำกว่าคู่แข่ง นับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้า” ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ อธิบาย  โรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 และ 5 มีกำลังการผลิตรวม 262.2 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญด้านหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการในการเลือกลงทุนสร้างโรงงาน เมื่อมองเห็นว่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมนั้นมีสาธารณูปโภคพื้นฐานคือ พลังงานไฟฟ้า และไอน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนของประเทศให้เติบโตมากขึ้น  แม้ว่าปี 2558 และ 2559

Read More

วิกฤตพลังงานในไทย บี.กริม เบนเข็มรุกพลังงานสะอาดใน AEC

  ท่ามกลางกระแสคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จังหวัดกระบี่ กำลังร้อนระอุ ไม่แพ้สภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง แสงแดดที่แผดเผาและอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเพียงไม่กี่วัน หลังจากรัฐบาลสั่งเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทของการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือ Power Development Plan: PDP ซึ่งเป็นแผนในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วยการจัดหาพลังงานไฟฟ้าระยะยาว 15-20 ปี ทั้งการสร้างความมั่นคงและเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยคำนึงถึงนโยบายพลังงานของประเทศและปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสม  หรือจะอธิบายอย่างง่ายๆ ว่าการเร่งดำเนินการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเป็นไปเพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ ที่มีการขยายตัวของประชากร รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กระนั้นคำสั่งเร่งเครื่องโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสการคัดค้านทั้งจากประชาชนในพื้นที่ องค์กรที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หรือกระแสการต่อต้านจากสังคมโซเชียล ที่ร่วมกันลงชื่อแสดงความไม่เห็นด้วยผ่าน Social Network  ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านหาใช่การต่อต้านโครงการที่มุ่งนำพาเอาความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ หากแต่เป็นการคัดค้านต่อกรณีการทำรายงาน EHIA และ EIA ที่ดูจะเร่งรีบเพื่อให้โครงการโรงไฟฟ้าเป็นรูปเป็นร่างโดยเร็ว ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตพลังงานของไทยที่ปริมาณทรัพยากรด้านพลังงานของประเทศกำลังนับถอยหลัง แต่เป็นการขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA และ EHIA รายงานการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แม้ว่าทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านต่างถือเหตุผลของตัวเองเข้าพูดคุยกัน หากแต่ก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ทั้งในมิติของฝ่ายสนับสนุนที่มีความกังวลถึงความขาดแคลนพลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และต้องการที่จะรองรับการเติบโตอย่างขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นเสมือนเครื่องจักรตัวสำคัญที่จะสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ หรือจะให้เข้าใจง่ายๆ คือ รายได้จากการท่องเที่ยวต่อปีนั้น

Read More