Home > Cover Story (Page 117)

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร หมุดหมายแห่งปัญญา-ความรู้

ก้าวย่างของกาลเวลาที่ดำเนินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและไม่เคยอิดออดรอสิ่งใด การมาถึงของเทคโนโลยีอันทันสมัยส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่ดูจะเร่งเร้าให้เท่าทันตามจังหวะของการพัฒนา กระนั้นดูเหมือนว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ในหลากหลายมิติ และแม้ว่าในบางแง่มุมของการพัฒนาจะทำให้วัฏจักรบางอย่างไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างที่ควรเป็น และในทางกลับกัน เสมือนว่าสิ่งนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เป็นการนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงเวลาสุดท้ายของเส้นทางที่เดิน การพัฒนาที่ว่าส่งผลต่อวัฒนธรรมบางอย่างที่เรามักคุ้นชินในสังคม ให้ค่อยๆ ถูกกลืนหายพร้อมกับการมาถึงของความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี จากสังคมการอ่านเพื่อประเทืองปัญญา เข้าสู่สังคมก้มหน้าเพื่อค้นหาความบันเทิงที่มีมากล้นเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน แม้ว่าการปฏิเสธเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องที่ดูจะทำได้ยากยิ่งในสังคมยุคดิจิทัล เมื่อสาระความรู้ หรือข่าวสารบางอย่างสามารถสืบเสาะค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต อีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญของเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อโลกใบใหญ่ให้ดูเล็กลงไปถนัดตา และแน่นอนว่าอะไรก็ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ขณะที่สภาพทางสังคม วิถีชีวิตของผู้คนที่กำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างชนิดนาทีต่อนาที หลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากมองเห็นผลเสียที่ตามมา ทั้งในด้านการถูกลดทอนศักยภาพในตัวของเยาวชนไทยที่ดูจะเป็นความหวังใหม่ของสังคม ทำให้เกิดความพยายามที่จะรังสรรค์สังคมแห่งการอ่าน “หนังสือ” ให้กลับมาเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยอีกครั้ง “ราชดำเนิน” ถนนที่อุดมไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติ ที่น่าเรียนรู้ จดจำ อาคารที่ตั้งอยู่ตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางหลายอาคารถูกปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย โดยเฉพาะอาคารที่บัดนี้กลายเป็น “หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร” ซึ่งอาคารหลังนี้มีความเป็นมาแรกเริ่มภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระราชวังดุสิต โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส การก่อสร้างบนถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 ส่วนอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2480 การก่อสร้างอาคารดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ต่อเนื่องมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2482- 2491 อาคารบริเวณถนนราชดำเนินประกอบด้วย อาคารพาณิชย์ โรงแรม และโรงมหรสพ รูปแบบเป็นศิลปะสไตล์อาร์ตเดคอร์

Read More

จากจอมยุทธ์หมากล้อม สู่ “ครูใหญ่” สาธิต PIM

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ใช้เวลากว่า 13 ปี เป็นหัวหอกลุยธุรกิจด้านการศึกษาในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ จากเป้าหมายเริ่มต้น เร่งผลิต “คน” ป้อนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เพื่อรุกขยายอาณาจักรค้าปลีก ผุดวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ยกระดับการเรียนการสอนขั้นอุดมศึกษา จนล่าสุดลงทุนสร้าง โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” ซึ่งจะประเดิมเทอมแรกในปีการศึกษา 2560 แน่นอนว่า เป้าหมายของก่อศักดิ์ในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง “คน” ให้เป็นนักจัดการมืออาชีพ มีความคิดเชิงกลุยทธ์ และไม่ใช่เพียงแค่ความเก่งกาจในวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน นั่นทำให้จอมยุทธ์หมากล้อมคนนี้สวมบทคุณครูหยิบเอา “โกะ” เข้ามาเป็นวิชาเสริมในหลักสูตรของ “สาธิต PIM” หลังจากได้ผลพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า หมากล้อมหรือ “โกะ” คืออาวุธชิ้นสำคัญ ที่ช่วยให้เขาและ “เซเว่นอีเลฟเว่น” สามารถขยายอาณาจักรธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้อย่างยิ่งใหญ่ ก่อศักดิ์เคยกล่าวว่า เขามองประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเสมือนกระดานหมากล้อมกระดานหนึ่ง เร่งเปิดร้านค้าในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะสุดยอดกลยุทธ์ของโกะไม่ใช่การจับกิน หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นการสร้างดินแดนให้มากกว่าคู่ต่อสู้

Read More

ซีพี รุกแนวรบใหม่ ธุรกิจการศึกษาครบวงจร

เครือซีพีของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจการศึกษาบนที่ดินผืนใหญ่ เนื้อที่มากกว่า 50 ไร่ ย่านแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีทั้ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)” เจาะตลาดระดับอุดมศึกษาในฐานะ Corporate University แห่งแรก อาคาร CP ALL ACADEMY และล่าสุด ประกาศเปิดโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” โดยคาดหวังจะให้เป็นโรงเรียนสาธิตต้นแบบในยุคศตวรรษที่ 21 รศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หัวหน้าทีมและผู้บริหารโครงการก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM กล่าวว่า โครงการโรงเรียนสาธิต PIM ใช้เวลาศึกษาและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 3 ปี โดยเดินทางไปดูงานการศึกษาในหลายประเทศ จนกระทั่งตัดสินใจเลือกรูปแบบและระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีมาตรฐานการศึกษาระดับโลกและเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด เพราะเชื่อมั่นว่า ถ้าเด็กได้เรียนในสิ่งที่ถนัด เขาจะมีความสุขและสามารถพัฒนาได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน รศ.ดร.พิชิตฟอร์มทีมอาจารย์จากวงการศึกษา ดึงอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อดัง และโรงเรียนสาธิตของรัฐเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อเสริมจุดแข็งตามแนวคิด “สาธิต” อย่างแท้จริง ไม่ใช่การเรียนเพื่อแข่งขันเหมือนในยุคปัจจุบัน

Read More

ธุรกิจการศึกษา “บูม” กลุ่มทุนแห่ขยาย ต่อยอดอาณาจักร

ธุรกิจการศึกษาพุ่งติดทอปเท็นดาวรุ่งในปี 2560 โดยประเมินเม็ดเงินคร่าวๆ มูลค่ากว่าแสนล้านบาทและมีกลุ่มทุนแห่ลงทุนสินทรัพย์อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มแข่งขันกันสูงจากการสอบวัดระดับของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) กำลังเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มชาวต่างชาติที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศไทย ขยายฐานการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยสำรวจเม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาเฉพาะช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 ในระดับก่อนอุดมศึกษาจากผู้ปกครองทั่วประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 60,900 ล้านบาท เติบโต 2% เทียบช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีมูลค่า 59,700 ล้านบาท แยกเป็นค่าเทอมโรงเรียนเอกชนประมาณ 40,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมประมาณ 16,700 ล้านบาท ค่าเรียนกวดวิชาประมาณ 2,800 ล้านบาท และค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ อีก 800 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 พบว่า มีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการศึกษาที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ประมาณ 302 ราย มูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 3,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี

Read More

เกาหลีเหนือ จากความไม่แคร์ สู่ภัยคุกคาม

หากจะมีผู้นำประเทศรายใดที่มีสไตล์และภาพลักษณ์เป็นที่น่าจดจำอย่างโดดเด่น เชื่อแน่ว่า คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน จะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ผู้คนกล่าวขวัญถึงมากที่สุดรายหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดอาจไม่ใช่เพราะความสามารถในการบริหาร หรือทักษะด้านใดๆ ที่สื่อแสดงให้ได้เห็นเป็นประจักษ์ หากแต่เป็นผลมาจากความไม่แคร์ หรือไยไพต่อความเป็นไปของโลกต่างหากที่ทำให้ผู้นำรายนี้มีความน่าสนใจอย่างพิเศษ ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็บังเกิดขึ้นจากผลของความไม่สนใจความเป็นไปในระดับนานาชาติ และเป็นความท้าทายที่สุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดเป็นชนวนสงครามครั้งใหม่ ที่อาจไม่ได้จำกัดพื้นที่ความเสียหายอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น ความเป็นไปของสังคมเกาหลีเหนือนับตั้งแต่ยุคของ คิม อิลซุง (15 เมษายน พ.ศ. 2455–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) ซึ่งก้าวขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือบนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เมื่อเริ่มก่อตั้งประเทศในปี 2491 และก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกในปี 2515 นอกจากจะดำเนินไปบนหนทางของความยากลำบากผ่านทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และยุคสมัยแห่งสงครามเย็น ยังประกอบส่วนด้วยลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) ที่ทำให้เมื่อคิม อิลซุง ถึงแก่อสัญกรรม จะได้รับการสถาปนาและมอบสมญานามให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) การขึ้นสู่อำนาจของคิม จองอิล (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484–17 ธันวาคม พ.ศ.2554) สืบต่อจาก คิม

Read More

ขยะ: ปัญหาที่รอการจัดการ

ทุกครั้งที่สังคมไทยดำเนินผ่านช่วงเวลาพิเศษไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตามประเพณีนิยม หรือแม้กระทั่งช่วงวันหยุดยาวที่ทำให้ผู้คนในสังคมไทยหลั่งไหลและสัญจรเดินทางไปในถิ่นต่างๆ ดูเหมือนว่าข่าวคราวว่าด้วยสถิติจำนวนผู้ประสบภัยหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะเป็นข่าวสารที่ตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัวของถนนหลวงเมืองไทยได้ดีไม่น้อย และทำให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยกันเป็นระยะประหนึ่งเป็นสิ่งที่ควบคู่กันในทุกช่วงเทศกาลเลยทีเดียว นอกเหนือจากปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการสัญจรเดินทางในช่วงเทศกาลนี้แล้ว ดูเหมือนว่าประเด็นว่าด้วยความสะอาด ที่มีปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูลตกค้างจำนวนมากจากเทศกาลต่างๆ ที่ทั้งรอคอยการจัดเก็บและจัดการจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่เพียงแต่จะเป็นปัญหาในระดับจิตสำนึกทั่วไป หากยังเป็นประเด็นที่ต้องการการถกแถลงในระดับชาติว่าจะดำเนินการหรือมีนโยบายอย่างไรด้วย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มาตรวัดว่าด้วยเรื่องขยะในแต่ละท้องที่ดูจะมีนัยความหมายที่แตกต่างกันออกไปไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นในเขตพื้นที่ถนนข้าวสารที่ถือเป็นไฮไลต์ในการเล่นสงกรานต์ของ กทม. ที่มีปริมาณขยะลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณขยะมากถึง 73.5 ตันเหลือเพียง 34 ตัน ขณะที่ถนนสีลมมีปริมาณขยะลดลง 40.06 ตัน จากที่ปีที่ผ่านมามีขยะรวม 73.19 ตันเหลือเพียง 33.13 ตันในปีนี้ หากประเมินจากเพียงสองจุดที่ว่านี้ อาจให้ภาพที่ดูประหนึ่งสมือนว่าสถานการณ์ขยะในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีแนวโน้มดีขึ้น แต่หากประเมินจากมิติของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงหรือบรรยากาศโดยรวมที่ค่อนข้างซบเซาจากปีก่อน ปริมาณขยะที่ว่านี้อาจสะท้อนภาพมุมกลับของภาวะเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเป็นดัชนีชี้วัดจิตสำนึกหรือความสามารถในการบริหารจัดการขยะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เพราะในขณะที่ข้าวสารและสีลมมีปริมาณขยะลดลง ข้อเท็จจริงอีกด้านกลับพบว่าปริมาณขยะที่ย่าน RCA ได้พุ่งทะยานขึ้นจากที่มีขยะ 34.1 ตันในปีที่ผ่านมา มาเป็น 120 ตันในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 85.9 ตัน ส่วนที่สยามสแควร์ ก็มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น 3.6 ตันจาก 4.8 ตันในปีที่ผ่านมา เป็น 8.4 ตันในปีนี้ ตัวเลขปริมาณขยะโดยรวมจึงไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด หากแต่ในความเป็นจริงกลับมีปริมาณและตัวเลขเพิ่มขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบริหารจัดการอีกด้วย อย่างไรก็ดี กรณีของขยะไม่เพียงแต่จะเป็นประเด็นปัญหาให้สังคมไทยบริหารจัดการเท่านั้น

Read More

ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ: มากกว่าเจรจาการค้า แต่คือการแสวงหาอนาคตร่วมกัน

การเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศ ซึ่งประกอบส่วนด้วย Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ Taro Aso รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ในฐานะหัวหน้าคณะในการเจรจา ดำเนินไปท่ามกลางความคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถหาบทสรุปลงตัวร่วมกัน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือ 12 ชาติใน Trans-Pacific Partnership: TPP ขณะที่ความตึงเครียดครั้งใหม่บนคาบสมุทรเกาหลีทวีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของภูมิภาคอีกด้วย ท่าทีของ Mike Pence ที่ระบุว่า TPP เป็นเรื่องราวในอดีตและสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการที่จะรอคอยความสำเร็จจากการเจรจาครั้งใหม่นี้อย่างเนิ่นนานและหวังที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกันในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับสำทับว่า เมื่อประธานาธิบดี Donald Trump ตกลงที่จะเริ่มการเจรจาทวิภาคีนี้ วิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ก็คือการสร้างกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือและความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเขาปรารถนาที่จะเห็นความสำเร็จอย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่ Taro Aso ก็ย้ำให้เห็นว่าอุปสรรคทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมถอยตลอดช่วงทศวรรษ 1980-1990 เป็นเพียงภาพอดีตที่ห่างไกลออกไปจากข้อเท็จจริงในวันนี้ ที่ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่า ในลักษณะที่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบงการหรือออกคำสั่งให้อีกฝ่ายดำเนินการ หากแต่เป็นการถกแถลงเพื่อหาบทสรุปที่นำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมและมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ท่วงทำนองของทั้ง Mike Pence และTaro Aso ก่อนและหลังการเจรจา สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกันของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

Read More

“เฟรเซอร์ส” ลุยแผนสร้างเมือง จาก “เซ็นทรัลปาร์ค” สู่ “วัน แบงค็อก”

หลังยุทธการยึดครองบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” และเดินหน้าแผนรุกธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร เจาะตลาดอาเซียนและลุยโรดแม็พสยายปีกสู่ทุกตลาดทั่วโลกกว่า 5 ปี ในช่วงจังหวะเดียวกัน เจริญ สิริวัฒนภักดี เร่งปูพรมสร้างอาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ “ทีซีซี” อย่างเข้มข้น โดยใช้เครือข่ายของ “เอฟแอนด์เอ็น” ที่มีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในพอร์ตมูลค่ามหาศาล และความแข็งแกร่งทุกด้าน ทั้งด้านเงินทุน ความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร และโนว์ฮาว ในฐานะผู้ประกอบกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศแบบครบวงจร ปัจจุบันกิจการอสังหาริมทรัพย์ของเอฟแอนด์เอ็นภายใต้บริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด (Frasers Centrepoint Limited หรือ FCL) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ครอบครองสินทรัพย์ มูลค่ามากกว่า 17,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 605,000 ล้านบาท มีธุรกิจหลักในการพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม ธุรกิจหลักของ FCL อยู่ในประเทศสิงคโปร์

Read More

ทีซีซีระเบิดศึกแลนด์มาร์ค เขย่า “ซีพี-เซ็นทรัล”

“วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างสรรค์สถานที่ที่ผู้คนจะตกหลุมรักและอยากมาใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ที่ทำให้ทุกคนในกรุงเทพฯ รู้สึกว่าที่นี่คือส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของกรุงเทพฯ และเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะกลายเป็นแลนด์มาร์คระดับโลกที่ยกระดับภาพลักษณ์ที่ดีงามของกรุงเทพฯ และประเทศไทยให้โดดเด่นเป็นสง่าบนเวทีโลก” เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท ทีซีซี และบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด (FCL) ประกาศเป้าหมายการทุ่มทุนกว่าแสนล้านบาท ผุดโครงการ ‘One Bangkok’ (วัน แบงค็อก) บนที่ดินกว่า 104 ไร่ โดยเฉพาะการสร้าง “เมือง” เป็นประตูเชื่อมโลกกับเอเชีย ที่สำคัญ เจริญจัดวางแผนทั้งหมด เพื่อปลุกย่านถนนพระราม 4 เป็นทำเลทองเกรด A ไม่ต่างจากเส้นสุขุมวิทอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่เปิด “เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI CENTER)” บริเวณหัวมุมถนนพระราม 4-รัชดาภิเษก เนื้อที่ 9 ไร่ แบ่งเป็นอาคารสำนักงานเช่าสูง 12 ชั้น 2 อาคาร และโรงแรมโมเดน่า บาย

Read More

ปณต สิริวัฒนภักดี ได้เวลาลุยโปรเจ็กต์แสนล้าน

“ประเมินอย่างเดียว คือ คุณเจริญมีความเชื่อมั่นผมหรือเปล่า!!” ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ย้ำกับสื่อที่รุมยิงคำถามความมั่นอกมั่นใจในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “One Bangkok (วัน แบงค็อก)” ซึ่งทำลายสถิติเงินลงทุนสูงสุดมากกว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยประกาศเป้าหมายสร้างแลนด์มาร์คระดับโลกแห่งใหม่ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ที่สำคัญ วัน แบงค็อก เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยโปรเจ็กต์แรกที่เครือทีซีซีกรุ๊ปผนึกกำลังกับกลุ่มเฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ในเครือเอฟแอนด์เอ็น หลังเจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มเม็ดเงินกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 แสนล้านบาท ซื้อกิจการ “เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ” หรือ เอฟแอนด์เอ็น

Read More