Home > Cover Story (Page 108)

ไฮเนเก้น ปักธงเซ็นทรัลเวิลด์ ทุ่ม Star Experience ขยายฐาน

“ไฮเนเก้น” ในฐานะผู้ผูกขาดกลุ่มเบียร์พรีเมียมเหมือนจะเจอศึกใหญ่อีกครั้ง แม้สงครามเบียร์มูลค่าเกือบ 170,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเซกเมนต์ตลาดพรีเมียมเพียง 5% ทิ้งห่างจากตลาดสแตนดาร์ดที่มีสัดส่วนสูงถึง 94% แต่กลุ่มเบียร์พรีเมียมมีอัตราเติบโตมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ขยับเพิ่มแค่ 5% และ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ “สิงห์-ช้าง” ต่างต้องทุ่มงบเปิดศึกห้ำหั่นแย่งชิงยอดขายอย่างรุนแรงทำให้มาร์จินหดตัวตามต้นทุนการแข่งขันที่พุ่งสูง จนหันมาเร่งปรับพอร์ตขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวเบียร์ “สโนวี่ ไวเซ่น บาย เอส สามสาม” และนำเข้าเบียร์พรีเมียมจากฝรั่งเศส “โครเนนเบิร์ก” ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ หรือความพยายามปรับโฉมเบียร์ช้าง ทั้งบรรจุภัณฑ์สีเขียวและรสชาติอ่อนนุ่มของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แน่นอนว่า ไฮเนเก้น ซึ่งกินส่วนแบ่งมากกว่า 80% มาอย่างยาวนานในตลาดเบียร์พรีเมียม จำเป็นต้องเร่งเปิดเกมรุกมากขึ้นในทุกรูปแบบ เพื่อรักษาเม็ดเงินและเร่งสร้างฐานลูกค้า โดยใช้ความได้เปรียบในแง่ความแข็งแกร่งของแบรนด์ ความแข็งแกร่งของฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและไลฟ์สไตล์เป็นเอกลักษณ์แตกต่างอย่างชัดเจน ภัททภาณี เอกะหิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้น ในกลุ่มบริษัททีเอพี ยอมรับว่า ตลาดเบียร์พรีเมียมมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนของผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแบรนด์ไฮเนเก้นพุ่งเป้าสร้างความโดดเด่นและแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยเฉพาะช่วงปลายปีนี้ ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่นและเทศกาลเฉลิมฉลอง บริษัทดึงเอากลยุทธ์ Seasonal Marketing หรือ

Read More

อนาคตของสื่อไทย หมดเวลาของนักวิชาชีพ??

ข่าวการปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการรุกคืบเข้ามาของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อถือครองหุ้นและลงทุนในธุรกิจสื่อได้ก่อให้เกิดคำถามถึงทิศทางของสื่อสารมวลชนไม่จำกัดเฉพาะในมิติของสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น หากแต่หมายรวมครอบคลุมไปสู่สื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างรอบด้านด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์หลายแห่งจำเป็นต้องยุติการพิมพ์ในด้านหลักมักดำเนินไปภายใต้คำอธิบายที่ยึดโยงกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่รายได้จากค่าโฆษณาที่ทยอยปรับตัวลงตามแนวโน้มดังกล่าว ขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่ได้ปรับตัวลดลง มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ความไม่สมดุลที่ว่านี้ได้กลายเป็นกับดักให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนไม่น้อยเริ่มขาดทุนสะสมและกลายเป็นภาระหนี้ ที่นำไปสู่การล่มสลายและปิดตัวลงไปในที่สุด กระนั้นก็ดี ประเด็นที่มีความแหลมคมยิ่งไปกว่านั้นก็คือการปรับเปลี่ยนประพฤติกรรมของผู้บริโภค และการมาถึงของสื่อดิจิทัล ออนไลน์ ที่ดูจะตอบสนองและสอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คนร่วมสมัย ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการหลายรายจะพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการปรับเนื้อหา รวมถึงช่องทางในการเข้าถึงไปสู่การนำเสนอในรูปแบบของ e-magazine e-contents อย่างขะมักเขม้น หากแต่พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เลื่อนไหลอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งมิติของเงินทุนและกรอบเวลาใหม่ของการนำเสนอ ขณะที่กลไกการแสวงหารายได้จากสื่อที่ว่านี้วิ่งตามไปไม่ทันและบ่อยครั้งดำเนินไปด้วยความเฉื่อยจากความคุ้นชินของทีมงานฝ่ายขายที่ยังจ่อมจมอยู่กับภาพความรุ่งเรืองในอดีตของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่า มูลค่าเงินโฆษณาที่กระจายเข้าสู่สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะในกลุ่มนิตยสารมีอยู่ในระดับประมาณ 6 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งการปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่าหากสามารถรักษาตัวรอดต่อไปได้ก็ยังมีโอกาสในทางธุรกิจอยู่บ้างจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนหัวหนังสือที่จะมาแย่งชิงส่วนแบ่งเงินค่าโฆษณานี้มีลดลง แม้ว่าในอีกด้านหนึ่งเม็ดเงินโฆษณาในตลาดอาจลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความพยายามของผู้ประกอบการสื่อหลายแห่ง ที่พยายามต่อยอดและมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการพัฒนาของโทรทัศน์ดิจิทัล ด้วยหวังว่าเนื้อหาสาระและคลังข้อมูลที่มีอยู่จะสามารถนำไปปรับใช้ และเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อชนิดใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อรักษาสถานภาพของการเป็นสื่อควบคู่กับการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ กรณีดังกล่าวได้กลายเป็นทั้งความพยายามและความเสี่ยงที่ทำให้สภาพและสถานการณ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละแห่งดำเนินไปอย่างไร้ทางออกยิ่งขึ้นอีก ปรากฏการณ์แห่งการล่มสลายของผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของสังคมไทยแต่โดยลำพังหากแต่เป็นกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ Time Inc. บริษัทสื่อที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี และเป็นเจ้าของนิตยสาร Time และสื่อแบรนด์ดังในเครือทั้ง Sport Illustrated, People, Moneyและ Fortune ที่ประกาศปิดดีลขายกิจการให้กับ Meredith Corporation ยักษ์ใหญ่วงการสื่อของสหรัฐอเมริกาด้วยมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ครม. ใหม่ ส่งท้ายปีระกา บนความคาดหวังแห่งปีจอ

การปรับคณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในนาม “ประยุทธ์ 5” แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรวมมากถึง 18 ตำแหน่ง หากแต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้สะท้อนภาพความแตกต่างในเชิงนโยบายหรือมาตรการในการนำพาประเทศไปสู่หนทางใหม่ และดูจะเป็นเพียงการปรับเพื่อผลัดเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเท่านั้น ขณะเดียวกันการปรับ ครม. ครั้งล่าสุดยังได้รับการประเมินว่าเป็นความพยายามของประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะกอบกู้ศรัทธาและความเชื่อมั่นของรัฐบาลที่กำลังทรุดตัวตกต่ำต่อเนื่อง รวมถึงความพยายามที่จะปูทางไปสู่การสานต่อเพื่อการดำรงอยู่ในอำนาจภายหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 อีกด้วย คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่พยายามลดทอนจำนวนขุนทหารและเติมเต็มเข้ามาด้วยบุคลากรภาคพลเรือนและนักวิชาการ อาจช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดูดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า หากแต่ในความเป็นจริง กรณีดังกล่าวกลับสะท้อนภาพความล้มเหลวและปัญหาในการบริหารจัดการที่ดำเนินมากว่า 3 ปีของ คสช. ไปในคราวเดียวกัน กระนั้นก็ดี การฝากความหวังไว้กับทีมเศรษฐกิจที่มีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวเรือใหญ่ และยังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามกรอบโครงนโยบายและความคิดเดิม ทำให้เกิดคำถามว่า ประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้รับการประเมินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างไร และจะดำเนินไปสู่หนไหน แม้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดจะเป็นประจักษ์พยานว่าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังคงมีบทบาทนำ และ คสช. สมัครใจที่จะเชื่อฝีมือของขุนพลทางเศรษฐกิจรายนี้อย่างมากก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล คสช. พยายามฉายภาพรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกอบส่วนไปด้วยมูลค่าการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นผลงานเชิดหน้าชูตารัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดกลับมีการปรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้พ้นจากตำแหน่ง คำถามที่ติดตามมาจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่ถูกปรับออกนี้ มีประเด็นว่าด้วยความฉ้อฉลไม่โปร่งใส หรือเป็นการยอมรับไปโดยปริยายของรัฐบาลว่า ตัวเลขและผลงานที่พยายามเอ่ยอ้างมาโดยตลอดนั้นเป็นเพียงการปรับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวก็สดใสจากเทรนด์ของโลก ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง อยู่ที่มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่รัฐบาลพยายามโหมประโคมและมอบสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

Read More

ปิดท้ายศักราช ตลาดยานยนต์กับจุดเปลี่ยนในอนาคต

บรรยากาศช่วงท้ายของปีที่เต็มไปด้วยงานเทศกาลแห่งความสุขสดชื่น อาจจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงสถานการณ์โดยรวมของตลาดยานยนต์ ไตรมาสสุดท้ายเสมือนช่วงเวลาที่มากไปด้วยความคาดหวัง ทั้งในเรื่องของยอดจอง ยอดจำหน่าย เพราะตัวเลขดังกล่าวจะกลายเป็นเครื่องชี้วัดสภาพเศรษฐกิจไทยและความมั่นใจของผู้บริโภค โดยก่อนหน้านี้ที่ “นิด้าโพล” ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ออกมาเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนร้อยละ 1.76 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยดีขึ้นมาก ขณะที่ร้อยละ 24.96 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยค่อนข้างดีขึ้น ร้อยละ 19.36 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยดีขึ้น ร้อยละ 28.49 เห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลย ร้อยละ 19.68 มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยแย่กว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.32 มีความเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเหมือนเดิมไม่แตกต่างจากปีที่แล้ว และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลยมีมากถึง 28.40 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวน่าจะส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ด้วยเหตุนี้อาจจะทำให้ความคึกคักในช่วงสุดท้ายปลายปีของงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 อาจจะเงียบเหงากว่าที่ควรจะเป็น ด้านขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 ให้ความเห็นว่า “จากแนวโน้มเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวน่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมของยอดขายรถในช่วงไตรมาส

Read More

ฟุตบอลฟีเวอร์ “บูม” ไม่หยุด “สาธิต-อินเตอร์” ผุดคอมเพล็กซ์

ภาพการแข่งขัน “ศึกฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28” ของ 4 โรงเรียนดัง สวนกุหลาบ กรุงเทพคริสเตียน อัสสัมชัญ และเทพศิรินทร์ ที่เหล่ากองเชียร์แห่เข้าชมล้นอัฒจันทร์สนามศุภชลาศัย สะท้อนกระแสฟุตบอลฟีเวอร์ที่ยังร้อนแรงไม่หยุดในกลุ่มเด็กวัยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี รวมถึงเหล่าแข้งจิ๋วตั้งแต่อายุ 6 ขวบที่บรรดาผู้ปกครองต่างพุ่งเป้าปลุกปั้นลูก เพื่อหวังเป็นซูเปอร์สตาร์ในอนาคต เมื่อ “นักฟุตบอล” กลายเป็นกีฬาอาชีพที่สามารถสร้างรายได้สูงถึงหลักแสนบาทต่อเดือน ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจน จากเดิมมีเพียงโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาชื่อดังที่เปิดโควตานักกีฬาฟุตบอล คัดเลือกเด็กจบประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเด็กที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับทุนเรียนฟรีและอยู่ประจำ “กิน-นอน” ไม่ต่างจากอะคาเดมีระดับประเทศ ปัจจุบันพบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาแทบทุกแห่งหันมาเปิดโควตานักกีฬาฟุตบอล เพื่อสร้างทีมนักเตะตั้งแต่อายุ 12-18 ปี ไม่เว้นแม้กระทั่งโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติชื่อดัง เป็นจุดขายดึงดูดผู้ปกครอง นอกเหนือจากความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน จิรวรรณ ชัยรุ่งเรือง รองผู้จัดการโรงเรียนสาธิตกรุงเทพธนบุรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ขยายการเรียนการสอนเปิดโรงเรียนสาธิตกรุงเทพธนบุรีเมื่อเดือนเมษายน 2560 เพื่อเป็นต้นแบบของโรงเรียนยุคใหม่ ภายใต้หลักสูตรสาธิตตามแบบกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มเติมภาษาที่สองและสาม คือ ภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล (อายุ 2

Read More

ชาลี โสภณพนิช แผน “ซิตี้แคมปัส” รุกโปรเจกต์มิกซ์ยูส

การทุ่มเม็ดเงิน 2,600 ล้านบาท ขยายโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ แคมปัสแห่งใหม่ เนื้อที่ 15 ไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนพระราม 9 ของนักลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่าง “ชาลี โสภณพนิช” เป้าหมายไม่ใช่แค่การสานอุดมการณ์การสร้างโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจสร้างโปรเจกต์มิกซ์ยูสในเนื้อที่อีกหลายสิบไร่ หลังประสบความสำเร็จกับการบุกเบิกโรงเรียนโชรส์เบอรี ริเวอร์ไซด์ แห่งแรกเมื่อ 15 ปีก่อน จนกลายเป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญของโครงการต่างๆ ในย่านเจริญกรุง ชาลี ในฐานะผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซิตี้เรียลตี้ จำกัด ยืนยันว่า เขาไม่ได้คาดหวังรายได้และกำไรจากตัวโรงเรียน โดยประเมินจะถึงจุดคุ้มทุนภายใน 5-10 ปี จากจำนวนนักเรียนประมาณ 640 คน อัตราค่าเล่าเรียนเริ่มต้น 640,000 บาทต่อปี แต่โชรส์เบอรีจะเป็นหมุดสำคัญที่ดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามาหมุนเวียนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ภายใต้แผนก่อสร้างโครงการ “มิกซ์ยูส” เนื้อที่อีก 30 ไร่ ตามแผนเบื้องต้น บริษัทเตรียมเงินลงทุนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท

Read More

ทุนใหญ่แห่ยึด รร.นานาชาติ “โสภณพนิช” ดัน “โชรส์เบอรี” บุกจีน

บรรดาทุนใหญ่ เศรษฐีตระกูลดัง แห่กระโดดเข้าสู่สมรภูมิธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีนักเรียน 30,000-40,000 คน และมีแนวโน้มเติบโตไม่หยุดจากจำนวนใบจองที่นั่ง “Waiting List” ในโรงเรียนอินเตอร์ชื่อดังอีกนับร้อยรายชื่อในแต่ละแห่ง แม้ค่าเล่าเรียนจะสูงกว่า 500,000-600,000 บาทต่อปี บางแห่งสูงเฉียดล้านบาทต่อปีก็ตาม ประมาณกันอีกว่า แม้ก่อนหน้านี้ โรงเรียนนานาชาติหลายแห่งยอมถอดใจ เลิกกิจการ เพราะไม่สามารถแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในกลุ่มโรงเรียนชั้นนำจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่ล่าสุดยังมีโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมากถึง 200 โรง และเชื่อว่าจะเปิดเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กไทยรุ่นใหม่ที่ผู้ปกครองต้องการเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของโรงเรียนทั่วไป ชาลี โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ กล่าวว่า ตลาดโรงเรียนนานาชาติยังมีการเติบโต แม้มีผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ปกครองเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะเห็นชัดเจน เมื่อมีโรงเรียนนานาชาติระดับกลางหลายแห่งเลิกลงทุน เพราะปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณภาพการเรียนการสอน หลักสูตร ครูอาจารย์ และชื่อเสียงของโรงเรียนแม่จากต่างประเทศ ชาลีเปรียบเทียบกับ “โชรส์เบอรี” ซึ่งกลุ่มโสภณพนิช ตัดสินใจร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี ประเทศอังกฤษ ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000

Read More

หอการค้าเปิดแผนหนุนภาครัฐ ท่องเที่ยวคือกุญแจสำคัญ

ดูเหมือนว่า “ไตรมาสสุดท้ายของปี” จะเป็นตัวเร่งเร้าสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายต้องระดมสรรพสมองเพื่อขบคิดและสรรหานโยบายรังสรรค์แผนการสำหรับการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และ “การท่องเที่ยว” กลายเป็นเครื่องจักรตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อมีการคาดการณ์รายได้รวมจากการท่องเที่ยวปี 2560 อยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท โดยประมาณ ตัวเลขรายได้ของการท่องเที่ยว ที่แม้จะเป็นเพียงประมาณการรายได้ทั้งปี หากแต่ด้วยตัวเลขที่สูงเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายภาคส่วนยังมุ่งเน้นที่จะสร้างสรรค์แคมเปญที่มีความเกี่ยวโยงกับการท่องเที่ยวอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ประเดิมแคมเปญใหม่ในช่วงสิ้นปีภายใต้กรอบโครงความคิดที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก เมื่อการมุ่งเน้นที่จะขายวัฒนธรรมท้องถิ่นดูจะเป็นจุดขายหลักที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยการเปิดปีท่องเที่ยววิถีไทยอย่างเป็นทางการในชื่องาน “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 1 มกราคม 2562 นอกจากนี้ฟากฝั่งของหอการค้าไทยเอง ที่มีการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศในช่วงวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 นั้น ประเด็นสำคัญของการสัมมนาในครั้งนี้ดูจะมุ่งเน้นไปให้ถึงผลลัพธ์ของการเติบโตของตัวเลขจีดีพีโดยรวมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Executing Trade & Service 4.0: เติบโตทั่วถึง แบบไทยเท่”

Read More

AEC 2025 ก้าวย่างที่ท้าทายของอาเซียน

การประชุมหารือของคณะรัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 15 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นการหารือครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เมื่อปี 2015 กำลังเป็นภาพสะท้อนความคืบหน้าและจังหวะก้าวของ ASEAN ที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะการหารือดังกล่าวในด้านหนึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025) ซึ่งที่ประชุม AEC Council ได้รับรองแผนงานรายสาขา (Sectoral Work Plans) จนครบถ้วนทั้ง 23 แผนงาน โดย 3 แผนงานสุดท้ายที่ได้รับรองอยู่ที่แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าลงร้อยละ 10 ภายในปี 2020 และเพิ่มมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่า ภายในปี

Read More

สายการบินเร่งปรับตัว รับสมรภูมิเดือดบนฟากฟ้า

ธุรกิจการบินของไทย ดูจะเป็นธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเป็นที่น่าจับตามองมากกลุ่มหนึ่งในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุเพราะการปรับเปลี่ยนและการรุกคืบของกลุ่มทุนใหม่ๆ เข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่มีความเข้มข้นนี้กำลังส่งผลต่อภูมิทัศน์และกรอบการดำเนินธุรกิจให้มีความวูบไหวอย่างมีนัยสำคัญ เพราะในขณะที่การบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรระยะที่ 3 ภายใต้แนวคิด “การเติบโตอย่างยั่งยืน” ยังคงบันทึกผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2/2560 ในระดับขาดทุนสุทธิ 5,208 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส 3/2560 ยังบันทึกผลขาดทุนสุทธิอีกกว่า 1,800 ล้านบาท ความพยายามของการบินไทยในการพลิกฟื้นสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะประสบความสำเร็จพอสมควร เมื่อปรากฏว่าอัตราการใช้ประโยชน์เครื่องบินต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระดับ 11.6 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ในไตรมาส 3 ของปี 2559 มาสู่ระดับ 12.1 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK: Available Seat Kilometer) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 78.2 สูงกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 73.5 โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.99-6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แม้ว่าผลการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อยในไตรมาส 3/2560

Read More