Home > AEC (Page 2)

นครแห่งการศึกษา โอกาสหรือมหันตภัยทางปัญญาในภูฏาน

 เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ข่าวเรื่องแป๊ะเจี๊ยะได้เขย่าวงการศึกษาไทยอย่างหนัก แม้เราจะทราบว่าปัญหาดังกล่าวได้กัดกินการศึกษาไทยมานานแล้วก็ตาม ในขณะที่การศึกษาไทยก็ยังเดินต่อไปส่วนจะดีจะร้ายอย่างไรเราก็ต้องสู้กันต่อไป ส่วนจะสู้กับใคร ค่อยมาว่ากันทีหลัง ในฉบับนี้ผมขอพูดถึงประเทศภูฏานกับการศึกษาที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ช่วงที่ผมไปเยือนประเทศภูฏาน ผม และทีมงานของมหาวิทยาลัยรังสิตมีโอกาสได้เข้าพบบริษัท Druk Holding ซึ่งเป็นบริษัท ของรัฐบาลภูฏานที่ได้รับ Royal Charter ให้ เป็นบริษัทในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าจิกมี ผู้บริหารของ Druk Holding ได้สนทนา กับผู้บริหารของ Druk Holding เกี่ยวกับเมกกะโปรเจ็กต์ชื่อ Education City กล่าวคือบริษัทดรุกจะทำการปรับภูเขาระหว่างกรุงทิมพูและเมืองพาโรเพื่อสร้างเมืองการศึกษาโดยเชิญชวนให้มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม บริษัทห้างร้านมาเช่า และร่วมกันสร้างเมืองเพื่อนักเรียน โดยทำสัญญาเช่าระยะยาวราวๆ 50 ปี ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยงหลายประการด้วยกัน บริษัทดรุกหวังว่าการสร้างนครแห่งการศึกษาจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและอนาคตของประเทศภูฏาน รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคทางตอนเหนือของเอเชียใต้ การฟังโปรเจ็กต์ดังกล่าวทำให้ผมเดินทางไปเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาหลายแห่งในภูฏานและพบปัญหาที่ประเทศของเขากำลังประสบอยู่การศึกษาในระดับประถมและมัธยม ศึกษาโดยรวมในเมืองใหญ่อย่างพาโรหรือทิมพู ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่างจากโรงเรียนในประเทศอื่นๆ นัก แม้ว่าอาจจะไม่มีอุปกรณ์มากเท่าที่ควร แต่ในชนบทของประเทศภูฏาน ปรากฏว่าคนจำนวนมากไม่มีการศึกษา โดยประชากรที่มีการศึกษาของภูฏานนั้นต่ำอย่างน่าตกใจ เพราะอยู่ที่ 47% และผู้หญิงเพียง 34% มีการศึกษา ในขณะที่เราด่าการศึกษาบ้านเรา ประเทศไทยมีประชากรถึง 92.6% ที่มีการศึกษาและอัตราส่วนระหว่างชายหญิงต่างกันราวๆ 2-4% แม้ไม่ได้สูงถึง 99% อย่างประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยก็ไม่ขี้เหร่ นัก

Read More

รูปีครันช์ที่ภูฏาน ปัญหาการเงินในเมืองสวรรค์

ฉบับก่อนผมพูดถึงประเทศภูฏาน จากภาพรวม เราอาจเรียกตามนิยายว่าแชงกรีลา ดินแดนลึกลับทางตะวันตกของคุนลุ้น เป็นสวรรค์บนดิน อย่างไรก็ตามบนโลกของความจริงอันโหดร้าย สวรรค์บนดินหรือแชงกรีลาก็ไม่ได้แตกต่างจากเมืองอื่นๆ บนโลก ผมไปภูฏานในเวลาไม่นานแต่อาจจะตอบคำถามได้ในระดับหนึ่งเพราะผมเป็นคนชอบศึกษา ชอบอ่านหนังสือจึงทราบว่าภูฏานกำลังเผชิญปัญหา เศรษฐกิจ เมื่อบอกกับคนที่เคยไปหรือเคยอ่าน เกี่ยวกับภูฏานต่างพบว่าหลายคนออกจะตกใจ ว่าประเทศเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะมีลักษณะแบบพอเพียงกันจนนักวิชาการอิสระหลายคนออกมายกว่าควรเป็นโมเดลของไทยกลับเจอมรสุมเศรษฐกิจ ในสายตาผมไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ประชาชนประหยัดกันเพียงใด ถ้าเจอปัญหาเศรษฐกิจ อย่างไรก็หนีไม่พ้น ขนาดนิวซีแลนด์ ที่ประชาชนแสนจะขี้เหนียวก็ยังเคยลอยค่าเงิน ดอลลาร์มาแล้ว ก่อนที่ผมจะเล่าโครงสร้างเศรษฐกิจของภูฏาน ผมขอพูดถึงแนวคิดทางเศรษฐกิจในอดีตของภูฏานก่อน ภูฏานเป็นประเทศที่มีแนวทางปฏิบัติที่ค่อนข้างอนุรักษนิยม เศรษฐกิจ ของภูฏานในอดีตขึ้นอยู่กับปศุสัตว์และกสิกรรม โดยพื้นฐานภูฏานจะไม่ขายเนื้อสัตว์ เพราะการ ฆ่าสัตว์หรือการค้าสัตว์ให้เขาเอาไปฆ่าถือว่าเป็นการผิดศีลทั้งปาณาติบาตและอาชีวตะมะกะศีล ทำให้เศรษฐกิจของประเทศภูฏาน ไม่มีสินค้าในตลาดนอกจากสิ่งทอพื้นฐาน ในอดีตบ้านเมืองของภูฏานจะไม่มีชุมชนเมือง เนื่องจากมีลักษณะเป็นสังคมชนบท มืองที่เห็นเช่น ทิมพู หรือพาโรต่างเป็นเมืองใหม่ที่ก่อสร้างได้ไม่นาน ในขณะที่เมืองหลวงเก่าอย่างภูนาคา กลับมีลักษณะเป็น ป้อมปราการและปราสาท ดังนั้นโครง สร้างพื้นฐานเศรษฐกิจของภูฏานจะขาดความพร้อมอย่างมาก แม้แต่ในระดับ ประเทศ เงินตราภูฏานที่เรียกว่า นูทรัมหรืองูทรัม เริ่มใช้เมื่อปี 2517 โดยรัฐบาล ภูฏานผูกค่าเงินนูทรัมไว้กับเงินรูปีของอินเดีย ทำให้เศรษฐกิจของสองประเทศนั้นผูกกันโดยปริยาย

Read More

Mekong Stream กรกฎาคม 2555

จีน “สนามบินฉังสุ่ย” นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนัน เปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อปลายเดือนมิถุนายน สนามบินฉังสุ่ยถือเป็นสนามบินฮับอันดับ 4 ของประเทศ รองจากสนามบินปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว แผ่ขยายไปยัง 14 เมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน 18 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 38 ล้านคน จำนวนไปรษณีย์ขนส่งสิ่งของได้กว่า 950,000 ตัน เครื่องบินขึ้นลงกว่า 303,000 เที่ยว ในระยะยาวคาดว่าจะรับนักท่องเที่ยวได้กว่า 65 ล้านคน จำนวนขนส่งสินค้า 2,300,000 ตัน และเครื่องบินขึ้นลง 456,000 เที่ยว พม่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เสนอชื่อเดเร็ค มิตเชลล์ ให้ดำรงตำแหน่งทูตสหรัฐฯ ประจำพม่า ถือเป็นการแต่งตั้งทูตไปประจำพม่าคนแรกในรอบ 2 ทศวรรษ หลังจากพม่าได้มีการปฏิรูป วุฒิสภาของสหรัฐฯ ต่างสนับสนุนการแต่งตั้งมิตเชลล์ ขณะเดียวกัน บรรดาวุฒิสมาชิกกำลังกดดันฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโอบามาให้พิจารณาอนุญาตให้บริษัทด้านพลังงานของสหรัฐฯ

Read More

เศรษฐกิจท้องทะเลเวียดนามต้องการสันติ

เวียดนามวางยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเอาไว้ โดยมีเป้าหมายให้มีสัดส่วนถึง 55% ของ GDP ในอีก 8 ปีข้างหน้า แต่ตัวแปรที่จะทำให้เป็นไปตามเป้าหมายได้คือ “สันติ” เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาประเทศเวียดนามมีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “เศรษฐกิจทะเลเวียดนาม” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2555 ขึ้นที่จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ในกรอบงานสัปดาห์ทะเลและเกาะเวียดนาม สะท้อนวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน และวันมหาสมุทรโลก 8 มิถุนายน 2555 บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมงานเสวนา ได้นำเสนอภาพกว้างๆ เกี่ยวกับลักษณะพิเศษ กิจกรรมเศรษฐกิจทะเลของเวียดนาม และศักยภาพ รวมถึงจุดแข็งการพัฒนาเศรษฐกิจทะเล ตามยุทธศาสตร์ทะเลเวียดนามถึงปี 2563 บนเวทีเสวนามีการให้ความเห็นว่าเวียดนามต้องพัฒนาฐานเทคโนโลยีทางทะเลที่ทันสมัยและสามารถสัมฤทธิผล มีความสามารถบูรณาการสากล มีวิธีการจัดการทะเลโดยรวมตามช่วงเวลา และเครื่องมือวางผังทางทะเล ผู้แทนบางคนเสนอว่า เวียดนามต้องกำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจทะเล ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละเขต ผู้แทนกระทรวงแผนและการลงทุนได้กล่าวว่า ปีต่อๆ ไป เวียดนามยังคงต้อง ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะต้องการเงินทุนมากที่สุด คาดว่าประมาณหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่แหล่งเงินลงทุนต่างประเทศ ซึ่งจดทะเบียนประกอบการในท้องถิ่นที่ติดกับทะเลในช่วงเวลาที่ผ่านมามีเพียงประมาณเกือบ 30,000

Read More

ภูวเรศ กองวัฒนาสุภา มืออาชีพที่ไม่เคยมีเจ้านายเป็นคนไทย

ปี 2000 (พ.ศ.2543) ที่สุกสะหมอน สีหะเทพ ได้ก่อตั้งบริษัทมะนียม ออโต กรุ๊ปขึ้นมานั้น เป็นปีที่ภูวเรศ กองวัฒนาสุภา เพิ่งเรียนจบบัญชีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภูวเรศเป็นชาวจังหวัดแพร่ที่เข้ามาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ 4 ปีแรก หลังเรียนจบจากรามคำแหง เขาได้เข้าไปทำงานอยู่ในฝ่ายบัญชีของบริษัทหลายแห่ง แต่ทุกแห่งไม่ใช่บริษัทของคนไทย ล่าสุดก่อนย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทำงาน อยู่ใน สปป.ลาว ภูวเรศมีตำแหน่งเป็น CFO ให้กับออกซแฟม สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ในสังกัด มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เขาทำงานกับออกซแฟมอยู่ประมาณ 10 เดือน ทางบริษัท RMA Group ได้ติดต่อมาพร้อมเสนอตำแหน่งงานใน สปป.ลาวให้กับเขา (รายละเอียดของ RMA Group สามารถหาอ่านได้จากเรื่อง “RMA Laos สำหรับฟอร์ด ขอแค่ที่ 2” นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับเดือนพฤษภาคม 2554 หรือใน

Read More

ธุรกิจที่เริ่มต้นจากมินิมาร์ท

ตามความเชื่อของนักธุรกิจชาวลาวส่วนหนึ่งนิยมนำชื่อของ ภรรยามาใช้เป็นชื่อของกิจการ เพราะเขาเหล่านั้นเชื่อว่าหากทำเช่นนี้แล้วกิจการที่ตั้งขึ้น จะเจริญรุ่งเรือง สุกสะหมอน สีหะเทพ ก็เช่นกัน ชื่อ “มะนียม” ที่เขานำมาใช้เป็นชื่อกิจการในธุรกิจรถยนต์ ของเขาก็มาจากชื่อของภรรยาเขาเอง สุกสะหมอนเป็นคนปากเซ เมืองหลักของแขวงจัมปาสัก ทางภาคใต้ของ สปป.ลาว จบการศึกษามาจากเวียดนาม ช่วงที่ สปป.ลาวเริ่มเปิดประเทศ ตามวิสัยทัศน์ “จินตนาการใหม่” ของท่านไกสอน พมวิหาร ในช่วงทศวรรษ 1990 นั้น สุกสะหมอนได้เริ่มต้นธุรกิจของตัวเองด้วยการเปิดร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดในลักษณะคล้ายมินิมาร์ท แต่ด้วยความที่มีใจชอบรถยนต์เป็นการส่วนตัว เขาหารายได้ เสริมด้วยการซื้อรถใช้แล้วในลาวขณะนั้นมาจอดขายหน้าร้านมินิมาร์ท “ตอนนั้นก็ซื้อรถมาทีละคันสองคัน มาจอดโชว์ที่หน้าร้าน พอทำแล้วก็เห็นว่าไปได้ดี ก็คิดว่าน่าจะถูกกับอาชีพนี้ ก็เลยแยกออก มาทำเป็นร้านซื้อขายแลกเปลี่ยนรถ”สุกสะหมอนเคยให้สัมภาษณ์ผู้จัดการ 360 ํ เอาไว้เมื่อปลายปี 2010 (พ.ศ.2553) ปี 1995 (พ.ศ.2538) สุกสะหมอนได้ตั้งบริษัทมะนียม ออโต้ เซอร์วิสขึ้นเพื่อทำธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถ นอกจากรถมือสอง แล้วยังขายรถใหม่ด้วยการเป็นซับดีลเลอร์ให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยี่ห้อต่างๆ ที่มีอยู่ในลาวขณะนั้น “สมัยก่อนร้านขายรถในเวียงจันทน์มีอยู่

Read More

“มะนียม กรุ๊ป” เมื่อตัดสินใจก้าวขึ้นเวทีระดับภูมิภาค

ต่อไปชื่อ “มะนียม” จะยิ่งสะดุดหูคนฟังที่กำลังสนใจตลาดรถยนต์ในลาวมากขึ้นในฐานะบริษัทที่เป็นเจ้าของโชว์รูม Chevrolet ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ในเวียงจันทน์ จากเจ้าของมินิมาร์ทเล็กๆ ที่ใจรักเรื่องรถยนต์ เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ด้วยการซื้อรถเก่า มาจอดหน้ามินิมาร์ทเพื่อขายต่อ ครั้งละคันสองคันเมื่อ 17 ปีก่อน 2 ปีมานี้ มะนียม ออโต กรุ๊ปได้เข้ามาสู่ช่วงของการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ประมาณมูลค่าเม็ดเงินที่สุกสะหมอน สีหะเทพ ประธานบริษัทมะนียม ออโต กรุ๊ปได้ควักกระเป๋าลงทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) และยังมีโครงการต่อเนื่องที่ยังต้องใช้เงินลงทุนอีกจำนวนมาก มะนียม ออโต กรุ๊ป เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2000 (พ.ศ.2543) ประกอบธุรกิจเป็นผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ โดยสั่งรถจากแหล่งผลิตทั่วโลกเข้ามาจำหน่ายใน สปป.ลาว (รายละเอียดอ่าน “ธุรกิจที่เริ่มต้นจากมินิมาร์ท” ประกอบ) ด้วยสภาพตลาดรถยนต์ในลาวที่เริ่ม ขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2005 (พ.ศ.2548) ส่งผลให้กิจการของมะนียมขยายตัวสูงขึ้นตามสภาพตลาด ก่อนปี 2010 (พ.ศ.2553) ชื่อมะนียม

Read More

การเข้าถึงตลาดพม่าของสินค้าเวียดนาม

นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ เวียดนามกำลังวิเคราะห์อย่างจริงจังถึงการส่งสินค้าเพื่อเข้าไปตีตลาดอันกว้างใหญ่ในพม่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อุตสาหกรรมการค้า (เวียดนาม) รายงานว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงทุกวันนี้ ข่าวการปฏิรูปในพม่า ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนจากทุกประเทศทั่วโลกมากที่สุด บวกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรของออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา จึงเหมือนการเพิ่ม พลังดึงดูดให้แก่ตลาดนี้ นักลงทุนหลายราย กำลังรอคอยคว้าโอกาส “กระโดด” เข้าพม่า นักธุรกิจเวียดนามไม่ยอมหลุดจากแนวโน้มนี้ สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ตามสถิติของสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำพม่า 2-3 ปีมานี้ แต่ละปี มีคณะธุรกิจเวียดนามไปพม่ากว่า 200 คณะ ซึ่งเป็นบรรดาคณะทางการอาศัยการสนับ สนุนช่วยเหลือของสถานเอกอัครราชทูตได้แนะนำคู่ค้า แต่ยังไม่รวมถึงคณะปลีกย่อยที่เดินทางไปด้วยตนเอง ดังนั้นเฉลี่ย 2-3 วัน จึงมีหนึ่งคณะที่เดินทางไปเพื่อพบปะติดต่อ การค้า ฝ่าม ถิ โห่ง ทาญ รองอธิบดีกรมเอเชีย-แปซิฟิก กระทรวงอุตสาหกรรมการค้าเวียดนามเปิดเผยว่าตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ ระเบิดที่งานนิทรรศการนานาชาติแห่งหนึ่งเมื่อปี 2548 ประเทศนี้ก็ไม่อนุญาตให้องค์กรต่างประเทศจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในพม่า ตั้งแต่ปี 2553-2555 ทุกปี เวียดนามจะได้รับอนุญาตให้เปิดงานแนะนำสินค้าในพม่า ยิ่งกว่านั้น สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับจากคนพม่าอย่างอบอุ่น

Read More

สัญญาณจากดอย “ไตแลง”

กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรยากาศการตั้งโต๊ะเจรจาสันติภาพระดับสหภาพ ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุม บก.ภาคสามเหลี่ยม เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ระหว่างสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of Chan State: RCSS) และกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ (Shan State ARMY: SSA) ซึ่งมี พล.ท.เจ้ายอดศึกในฐานะประธาน RCSS เป็นหัวหน้าคณะกับตัวแทนรัฐบาลพม่า มี พล.อ.โซวิน รอง ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. และรองประธานคณะทำงานฝ่ายรัฐบาลพม่าคนที่ 1 เป็นหัวหน้าคณะ ก่อนที่ผู้นำ RCSS/SSA จะเดินทางต่อจากเชียงตุงไปตามเส้นทาง R3b เข้า หารือร่วมกับเจ้าจายลืน หรือจายเริญ ผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 4 (เมืองลา) บริเวณพรมแดนพม่า-เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐ ประชาชนจีนที่มีข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาล พม่ามาแล้ว 23 ปี

Read More

ภูฏาน เมื่อเข็มนาฬิกากลับมาหมุนในดินแดนที่เวลาหยุดนิ่ง

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยรังสิต ให้เดินทางไปราชอาณาจักรภูฏานเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้รับหนังสือเชิญจากสภาหอการค้าภูฏานให้ไปร่วมงานการศึกษาของภูฏาน นอกจากนี้ทางมหา วิทยาลัยยังได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยในประเทศภูฏานและหน่วยราชการต่างๆให้เข้าพบ หลังจากที่ผมได้รับเลือก ยอมรับว่ากังวลพอสมควร แม้จะเคยใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศมานานแต่ก็อดเครียดไม่ได้ เพราะผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับราชอาณาจักร ภูฏานมากไปกว่าที่เคยอ่านในหนังสือไม่กี่เล่ม และจากนักศึกษาภูฏานที่ผมสอนอยู่ เนื่องจากไปทำงานไม่ใช่ไปเที่ยว จึงต้องเตรียมพร้อมเป็นพิเศษ เริ่มจากให้นักศึกษาภูฏานสอนผมว่าขนบธรรมเนียมตั้งแต่การทักทาย การเจรจา การรับประทานอาหารเป็นอย่างไร จนกระทั่งไปพบท่านรองอธิการบดี รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ ซึ่งผมนับถือเพื่อขอคำแนะนำเพราะท่านเคยไปภูฏาน มาก่อน ท่านอาจารย์เมตตามากขนาดเอา คู่มือเกี่ยวกับประเทศภูฏานมาให้ผมท่อง จึงมีสภาพเหมือนเด็กเตรียมเอ็นทรานซ์อีกครั้ง หลังจากเตรียมตัวพร้อมบ้างไม่พร้อมบ้าง ผมก็เดินทางไปภูฏานโดยมีกำหนดเดินทาง 6 วัน จับพลัดจับผลูกลาย เป็น 7 วัน แต่เป็น 7 วันที่ผมได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมายจนขอเอามาเล่าเป็น 5 ตอนด้วยกัน การเดินทางไปภูฏานประสบปัญหา ตั้งแต่เริ่มออกตัว เนื่องจากเครื่องบินต้องออกตอน 7 โมงเช้า แต่ได้รับโทรศัพท์จาก สายการบินดรุกแอร์ว่าเครื่องบินจะดีเลย์ เนื่องจากพายุฝนและหมอกที่ตกหนักในเมืองพาโร ผมไม่ได้คิดอะไรมาก เนื่องจากดีเลย์ก็ดีผมจะได้ตื่นสาย แต่กว่าคณะของ ผมจะได้ออกเดินทางคือ

Read More